inskru
gift-close

insKruChallenge_สื่อสารกับนักเรียนด้วย Constructive Feedback

2
0
ภาพประกอบไอเดีย insKruChallenge_สื่อสารกับนักเรียนด้วย Constructive Feedback

เวลานักเรียนส่งการบ้าน นำเสนอหน้าชั้นเรียน หรือส่งงานอะไรสักอย่าง เราจะ feedback นักเรียนอย่างไรดี โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดการพัฒนาจาก feedback ของเรา

insKru Challenge นี้ขอชวนคุณครูมาลองฝึกฝนการใช้ Constructive Feedback หรือ ฝึกการให้ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ ลบเลี่ยงหรือลดการสื่อสารที่เนื้อหาเป็นเพียงแค่คำวิจารณ์ แต่มุ่งเป้าไปที่ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนพัฒนากันดีกว่า!


สมัยตอนคุณครูเป็นนักเรียน เคยได้ยินคำพูดเหล่านี้บ้างรึเปล่า?

😶 : นี่ลายมือหรือไก่เขี่ยเนี่ย

😶 : งานนี้ไม่ผ่าน ไปทำมาใหม่

😶 : ห้องนี้เงียบมาก ไม่มีใครสนใจเรียนเลย

ลองอ่านดูก็รู้สึกเหมือนกันใช่มั้ย ว่าผู้รับสารไม่ได้อะไรต่อจากคำพูดเหล่านั้น นอกจากความรู้สึกไม่ดี เพราะไม่รู้เลยว่าจะต้องทำยังไงนะถึงจะดีขึ้น

การใช้ Constructive Feedback จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนและมีแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น รวมถึงจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้พัฒนาตนเองมากขึ้น เพราะการ feedback ไม่ใช่การตำหนิ แต่เป็นการทำให้คนที่ได้รับ พัฒนาจากข้อมูลที่เราสะท้อนกลับไป

การให้ Constructive Feedback ต้องทำยังไง?

  1. หลีกเลี่ยงอารมณ์ส่วนตัวและการสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อนักเรียน เช่น ความไม่พอใจเป็นทุนเดิม ความรู้สึกหงุดหงิด ความไม่ได้ดั่งใจ ให้เหลือแค่เป้าหมายที่ต้องการจะสื่อสาร
  2. ตั้งเป้าการให้ feedback ว่าสิ่งที่สะท้อนกลับไปจะเป็นประโยชน์นำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาได้จริง

แค่ยึดมั่น 2 ข้อนี้ไว้ การใช้สื่อสารให้ feedback ก็จะทำได้ง่ายขึ้นเยอะเลย เช่น

❌ เล่าได้น่าเบื่อมากกกกกก ตัวหนังสือเป็นพรืดเลย ทำไมไม่ใช้ภาพล่ะ

✅ ครูคิดว่าถ้ากระชับในส่วนของเนื้อหา และใช้ภาพเคลื่อนไหวช่วยน่าจะทำให้งานนี้น่าสนใจขึ้นนะ


เทคนิคการใช้ Constructive Feedback

  1. เฉพาะเจาะจงสิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างชัดเจน
  2. หลีกเลี่ยงคำพูดเหมารวมอย่าง "งานนี้ไม่ดี" แต่ให้ระบุเจาะจงว่าหมายถึงส่วนไหนของงานนั้นที่ควรพัฒนาต่อ เช่น ในหน้าที่ 3 ส่วนท้ายของบทความที่เขียนมา
  3. อย่าลืมหลีกเลี่ยง negative feedback ที่บั่นทอนกำลังใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น "งานนี้ไม่ดี" ควรบอกได้ว่าไม่ดีที่หมายถึงนั้นคืออะไร เช่น ข้อมูลที่เขียนมายังไม่ชัดเจน ข้อมูลที่ใส่มายังขาด....
  4. แสดงความเข้าใจและสนับสนุนความพยายามของนักเรียน
  5. ใช้โทนเสียงที่เป็นมิตรและสนับสนุนหลีกเลี่ยงการใช้โทนเสียงที่วิจารณ์หรือตำหนิ และแสดงให้เห็นถึงความพยายาม เช่น "พยายามได้ดีมาก เขียนมาครบตามที่มอบหมาย แต่ข้อมูลที่เขียนมายังไม่ชัดเจนในส่วน ..."
  6. แนะนำวิธีการปรับปรุง
  7. เช่น "ถ้าลองแบ่งเป็น 1 2 3 อาจจะช่วยทำให้เธอรู้ว่าเธอลืมเติมส่วนไหนไป หรือทำ checklist ก่อนเขียนก็ได้นะ ลองดู"
  8. มองที่พฤติกรรมไม่ใช่ตัวบุคคล
  9. การให้ข้อมูลสะท้อนกลับไป ควรเน้นที่การกระทำว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร แทนการพูดถึงตัวบุคคล เช่น "ไม่เก่ง" "ไม่ดี" เพราะคำพูดเชิงตัดสินจะยิ่งทำให้นักเรียนรู้สึกแย่และอาจจะคิดไปว่าตัวเองไม่สามารถแก้ไขอะไรได้


ลองให้ Constructive Feedback แบบเทคนิคแซนวิซ

  1. เริ่มต้นด้วย Positive feedback (ฟีดแบคเชิงบวก)
  2. ให้คำชื่นชม สร้างกำลังใจ ชี้ให้เห็นในสิ่งที่ทำได้ดี(เฉพาะเจาะจง) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกครั้ง
  3. ตัวอย่าง ”น้ำเสียงในการนำเสนอของเธอทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนอยากตั้งใจฟัง” , "ย่อหน้าที่ 3 ของบทความดูตั้งใจหาข้อมูลมากมากๆ เลย"
  4. สอดไส้ด้วย Corrective feedback (ฟีดแบคเชิงแก้ไข)
  5. ชี้ให้เห็นถึงจุดที่ต้องพัฒนาต่อไป กระตุ้นให้ผู้ฟังลดพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ
  6. เสนอแนะแนวทางที่อยากให้พัฒนาต่อ
  7. ตัวอย่าง “แต่การเรียบเรียงเนื้อหาอาจจะยังไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร อาจจะต้องเขียนลำดับเนื้อหาลงในกระดาษเพื่อให้เห็นภาพรวม”
  8. จบท้ายด้วย Positive feedback (ฟีดแบคเชิงบวก)
  9. ตัวอย่าง “อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วเป็นการนำเสนอที่ทำให้ทุกคนประทับใจมากเลย” "แต่พยายามได้ดีมาก ครั้งหน้าต้องดีขึ้นแน่ๆ เลย ครูมั่นใจ"

การเรียงลำดับการให้ฟีดแบคเช่นนี้ จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีที่ได้รับฟัง และยังมองเห็นจุดที่ตนเองควรจะพัฒนาต่อไปอีกด้วย


ตัวอย่างคำพูดที่ ใช่/ไม่ใช่ Constructive Feedback

สถานการณ์ : การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนน้อย

❌ ครูสอนวิญญาณอยู่หรอ ทำไมเงียบขนาดนี้

✅ ครูสังเกตว่าวันนี้ทุกคนดูเงียบๆ ไม่ค่อยโต้ตอบเท่าไหร่ ถ้ายังไม่มั่นใจที่จะตอบ ลองถามกลับครูหรือแสดงความคิดเห็นสั้นๆ ก็ได้นะ

สถานการณ์ : นักเรียนเขียนคำตอบมาแต่อ่านไม่ออกเลย

❌ เขียนอะไรมาเนี่ย ลายมือคนหรือเปล่า เขียนไม่เป็นหรอ

✅ เธอเขียนมาครบเลย แต่ครูอ่านที่เขียนมาไม่ค่อยออกเท่าไหร่ ติดปัญหาตอนเขียนรึเปล่า เขียนส่งมาใหม่ได้ไหม หรืออธิบายให้ครูฟังก็ได้ว่าเธอเขียนอะไรมาบ้าง


💪💬 ซ้อมมือผ่านการส่งคอมเม้นหน่อย

ลองดูสถานการณ์ตัวอย่าง เลือกสักสถานการณ์แล้วลองพิมพ์ส่งมาบอกใต้ไอเดียหน่อย ว่าคุณครูน่าจะสื่อสารนักเรียนกลับไปแบบไหน

สถานการณ์ 1 : นักเรียนกลุ่มหนึ่งนำเสนอได้สนุกมาก เพื่อนๆ ในห้องต่างพากันส่งเสียงหัวเราะชอบใจ แต่เนื้อหาที่นำเสนอน้อยไปนิดและไม่ครบตามที่ครูคาดหวัง

สถานการณ์ 2 : นักเรียนส่งผลงานวาดรูปเสมือนมา วาดเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วน แต่มันแทบไม่เหมือนกับรูปที่ให้วาดเลยต่างจากนักเรียนบางกลุ่มที่ฝีมือดีมากๆ

สถานการณ์ 3 : นักเรียนทำแบบฝึกหัดมาส่ง แต่ผิดเกือบหมดทุกข้อ


🤩 อย่าลืมลองนำไปใช้ดูนะ เราแจก wallpaper ให้ไปเปลี่ยนหน้าจอเพื่อไม่ให้ลืมความท้าทายนี้ด้วย ขอให้สนุกและพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการลองทำ Challenge นี้!

ติดตามอ่าน Challenge อื่นๆ ได้ ผ่านการกดติดตาม insKru หรือใน 👉 แท็ก insKruChallenge หรือกดผ่านแท็ก insKruChallenge สีฟ้าด้านล่างได้เลย

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ทักษะการสื่อสารการสื่อสารเชิงบวกfeedbackinsKruChallengeChallengeเทคนิคการสอน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insinsKru
    insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ