นวัตกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) พร้อมด้วย 12 กิจกรรมการทดลองวงจรไฟฟ้า และใบงาน Interactive (ใบงานแบบโต้ตอบ) ที่ช่วยเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับนักเรียน สามารถเข้าใจหลักการวงจรไฟฟ้าได้อย่างง่าย ๆ และทำให้การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าท้าย ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงด้วยองค์ความรู้และการลองผิดลองถูก ทำให้การเรียนรู้วงจรไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป
"เมื่อต้องทำการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ม.3 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้ากระแส จึงเป็นที่มาของคำถามต่อว่า เราจะทำยังไงดีนะ ? ให้การเรียนรู้ เรื่องวงจรไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ นักเรียนทำได้ทุกคน พร้อมทำได้เลย และต้องมีความปลอดภัยด้วย แม้จะมีอุปกรณ์ทางไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนทุกคนก็ตาม จึงได้ศึกษาและค้นพบ นวัตกรรมการเรียนรู้ แอป IPST VE โมดูลวงจรไฟฟ้า โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นั่นเอง..."
"เพื่อต้องการให้นักเรียนมีความเข้าใจและอธิบายหลักการทำงานของวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ฝึกฝนและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การตั้งสมมุติฐาน การสังเกต การวิเคราะห์ การทดลอง การแก้ปัญหา เป็นต้น พร้อมส่งเสริมเจตคติและแรงจูงใจต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องท้าท้าย สนุกสนาน และไม่ยากเกินความสมารถของนักเรียน"
1. ครูให้ตัวแทนนักเรียนในห้อง 2-3 คน ทดลองปฏิบัติการทางวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีโจทย์ท้าท้ายความคิดนักเรียนว่า "ทำอย่างไรให้หลอดไฟฟ้าสว่าง" โดยครูต้องให้นักเรียนแสวงหาค้นพบความรู้ผ่านการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ส่วนครูมีหน้าที่สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้และใช้คำถามสำคัญเพื่อกระตุ้นการหาคำตอบร่วมกันในชั้นเรียน
ปฏิบัติการเสมือนชุดคิทสร้างวงจรไฟฟ้า: AC - ปฏิบัติการเสมือน https://phet.colorado.edu/sims/html/circuit-construction-kit-ac-virtual-lab/latest/circuit-construction-kit-ac-virtual-lab_all.html?locale=th
2. ครูสอนความรู้เบื้องต้น เรื่อง ไฟฟ้ากระแส จากนั้นแนะนำวิธีการใช้งาน แอป IPST VE โมดูลวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีการทดลองวงจรไฟฟ้า ทั้งหมด 12 กิจกรรม
3. นักเรียนเข้าสู่กิจกรรมที่ 1 เซลล์ไฟฟ้าต่อกันได้อย่างไร พร้อมอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
4. ต่อมาให้นักเรียนแตะที่ถ่านไฟฉาย แล้วลากไปตั้งไว้ที่ช่องตารางลักษณะการต่อถ่านไฟฉาย จากนั้นให้คาดคะเนพร้อมติกเลือกว่า การจัดวางถ่านไฟฉายทั้ง 3 รูปแบบ ทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างหรือไม่สว่าง
5. ก่อนจะเริ่มการทดลองทุกครั้ง ให้นักเรียนอ่านขั้นตอนการทำกิจกรรม บันทึกผลกิจกรรม และสรุปผลกิจกรรม จากนั้นครูจึงชี้แจงและอธิบายการทำงานอย่างละเอียด
6. ให้นักเรียนสำรวจอุปกรณ์ทั้งหมดว่ามีสิ่งใดบ้างที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้สำหรับกิจกรรมนั้น ๆ
7. ต่อมาให้ตรวจสอบการคาดคะเนผ่านการทดลอง โดยนำอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยจะต้องจัดเรียงถ่านไฟฉายให้เหมือนกันทั้ง 3 รูปแบบ โดยขั้นตอนนี้จะทำให้นักเรียนเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า การคาดคะเนก่อนหน้านี้จะถูกต้องหรือไม่อย่างไร
ตัวอย่าง การบันทึกผลและสรุปกิจกรรม ในรูปแบบใบงาน Interective ระบบจะมีการตรวจทานความถูกต้องให้ ช่วยให้การเรียนรู้เข้าใจง่าย ๆ เวลากระชับ สะดวกต่อการจัดการเรียนรู้และตรวจงานสำหรับคุณครูมาก ๆ เลย...
ใบงาน Interactive (ใบงานแบบโต้ตอบ) เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล ใบงานแบบนี้จะมีลักษณะพิเศษที่ทำให้นักเรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาได้โดยตรง เช่น การลากและวาง การเลือกคำตอบ การเติมข้อมูล การทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติ และอื่น ๆ
ไอเดียที่ 1 : สำรวจอุปกรณ์ทางไฟฟ้า
จุดประสงค์ : เข้าใจส่วนประกอบพื้นฐานและหน้าที่สำคัญของอุปกรณ์ทางไฟฟ้ากิจกรรม: นักเรียนเปิดแอป IPST VE และทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ สวิตช์ และสายไฟ โดยให้นักเรียนลองประกอบวงจรง่าย ๆ ตามคำแนะนำในแอป แล้วบอกหน้าที่ว่ามีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างไร
ไอเดียที่ 2 : การทดลองสร้างวงจรไฟฟ้าแบบต่างๆ
จุดประสงค์ : เรียนรู้ความแตกต่างของการทำงานของวงจรไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ กิจกรรม: แบ่งกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับภารกิจในการสร้างวงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ เช่น วงจรอนุกรม วงจรขนาน หรือวงจรผสม
ไอเดียที่ 3 : การวิเคราะห์ปัญหาในวงจรไฟฟ้า
จุดประสงค์ : ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของวงจรไฟฟ้า กิจกรรม: ครูให้ปัญหาวงจรไฟฟ้าที่มีข้อผิดพลาด แล้วให้นักเรียนใช้แอป IPST VE ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา เช่น วงจรที่หลอดไฟไม่ติด ให้นักเรียนหาสาเหตุและวิธีการแก้ไข
ไอเดียที่ 4 : ออกแบบร่างและประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
จุดประสงค์ : เข้าใจหลักการและประยุกต์ใช้วงจรไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน กิจกรรม: นักเรียนใช้แอป IPST VE เพื่อออกแบบร่าง แล้วนำแบบร่างสร้างวงจรไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น วงจรไฟฟ้าของโคมไฟ
ไอเดียที่ 5 : การวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าในวงจร
จุดประสงค์ : คำนวณพลังงานไฟฟ้า กิจกรรม: นักเรียนใช้แอป IPST VE เพื่อทดลองและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าในวงจรต่างๆ เช่น การวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าในวงจร
การใช้งานแอป IPST VE โมดูลวงจรไฟฟ้า สามารถสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งรวมถึง
โดยรวมแล้ว แอป IPST VE โมดูลวงจรไฟฟ้าช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!