การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) และวิธีการแบบเปิด(Open Approach) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์โดยจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบเปิดครูใช้โจทย์หรือสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยออกแบบสถานการณ์ปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนเรียนรู้และทำความเข้าใจสถานการณ์ที่มีอยู่จริงเพื่อหาแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด
- วางแผนออกแบบและกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
- กำหนดประชุมคณะครูเพื่อเสนอ ปัญหา และร่วมกันวางแผนในกระบวนการ plc
- วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุงพุทธศักราช2560) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
- สำรวจสภาพข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อการจัดการ เรียนรู้ให้เต็มตามศักยภาพ
- จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกไว้
-นำแผนการจัดการเรียนรู้เสนอต่อต่อคณะครูในกลุ่มสาระเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้คำแนะนำเพิ่มเติมในกระบวนการ plc
-ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้
-ปฏิบัติกิจกรรมและจัดการเรียนรู้ตามที่วางแผนและออกแบบไว้
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ ประเมินผล และวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรม
- สรุปและรายงานการจัดการเรียนรู้
- นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ ร่วมกันเพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูล ในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ต่อไป
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดเกิดความคิดสร้างสรรค์และการสร้างแนวคิดใหม่รวมไปถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกจุดประสงค์สูงกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไปที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงแนวคิดทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการการคิด การแก้ปัญหาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้สถานการณ์อื่นๆ ได้ ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบแนวคิด วิธีการการแก้ปัญหาของตนเอง กับของผู้อื่นว่าแนวคิด วิธีการการแก้ปัญหาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ผู้เรียนกล้าแสดงออกแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดการแก้ปัญหาด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด(Open Approach)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแบบเปิด(Open Approach) ผู้สอนจะเป็นผู้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาให้กับผู้เรียน และเปิดโอกาศให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้แลกเปลี่ยนความคิด อภิปรายและเปรียบเทียบกับเพื่อนและผู้สอน และสามารถช่วยกันสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดที่เกิดขึ้นของนักเรียน การสอนแบบเปิด(Open Approach) ทำให้นักเรียน ที่มีความสามารถสูงกว่าก็สามารถที่จะใช้วิธีการทาคณิตศาสตร์อย่างหลากหลายและนักเรียนที่มีความสามารถด้อยกว่าก็ยังคงสนุกสนานกับกับกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามความสามารถของตนเมื่อผู้เรียนเกิดความสนุกก็จะมีความพร้อมทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมา สามารถนำความรู้ที่ได้จากการแก้ปัญหาด้วยตนเองไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ เนื้อหาอื่น ๆ หรือในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยมีผู้สอนทำหน้าที่ให้คำชี้แนะอย่างใกล้ชิด ซึ่งนักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ถ้าครูจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและออกแบบกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียนแสดงศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ อีกทั้งการส่งเสริมการคิดต้องอาศัยการฝึกฝนดังนั้น การเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการคิด ครูต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับความรู้และบริบทของนักเรียนซึ่งสะเต็มศึกษาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงให้เกิดขึ้นกับนักเรียนอีกทั้งยังช่วยให้นักเรียนบูรณาการความรู้มาใช้แก้ปัญหา และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ รวมไปถึงความสำเร็จในการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแบบเปิด(Open Approach) เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียนผู้ปกครอง และชุมชน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!