ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 5 ขั้นตอน "ท้องถิ่นนี้มีที่มา" ชั้นป.5
ในคาบเรียนประวัติศาสตร์ ในส่วนการเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนี้ผู้สอนได้นำกระบวนการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มาเป็นส่วนหนึ่งของการสอนโดยกำหนดการศึกษาไว้ 4 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นกำหนดหัวข้อ ที่จะศึกษา
ชั่วโมงที่ 1 (ในขั้นนี้ครูอาจมีการแบ่งกลุ่ม กรณีมีจำนวนนักเรียนมาก/กรณีห้องเรียนมีจำนวนนักเรียนขนาดเล็กให้เป็นกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน เป็น 1 ชิ้นงานของห้องเรียน)
ขั้นกำหนดหัวข้อ ครูร่วมพูดคุยกับนักเรียนและร่วมกันคิดหัวข้อว่าในบริบทชุมชนเรามีสิ่งใด น่าจะศึกษาหรือบุคคลอื่นยังไม่รู้ และยังไม่ทราบบ้าง โดยครูจะเป็นผู้เขียนประเด็นที่น่าสนใจแล้วร่วมกันคัดเลือกประเด็นหัวข้อ ที่จะทำการเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นครูให้ผู้เรียนศึกษาบริบทของชุมชนจากภาพของดาวเทียม ผ่าน Google Earth เพื่อในชั่วโมงที่ 2 นักเรียนจะได้ร่วมกันลงพื้นที่นอกสถานที่ เมื่อนักเรียนร่วมกันศึกษาบริบทของชุมชนตนเองแล้ว ครูให้สรุปเป็นผังความคิดรายบุคคล ในการแยกประเด็นเกี่ยวกับบริบทชุมชน เช่น วิถีชีวิต การตั้งถิ่าฐานและการประกอบอาชีพซึ่งจะสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนดในการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่นตนเอง
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นสืบค้นและรวบรวมหลักฐาน ครูนำนักเรียนในห้อง ร่วมกันออกไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานที่นอกโรงเรียน เพื่อรวบรวมหลักฐานและฝึกการคัดแยกหลักฐาน ว่าหลักฐานในชุมชนใด เป็น หลักฐานชั้นต้น/หลักฐานชั้นรอง พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนลงในใบงานคัดแยกประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากนั้นครูได้เรียนเชิญวิทยาท้องถิ่นที่เป็นผู้มีความรู้ ได้มามีส่วนร่วมในการให้นักเรียนได้ซักถามและรับฟังเรื่องราวในอดีตของชุมชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการศึกษาข้อมูลในหัวข้อที่กำหนด
ศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นนอกห้องเรียน
วิทยากรท้องถิ่นจากภายนอก
ชั่วโมงที่ 3
ขั้นวิเคราะห์หลักฐาน ครูตั้งคำถามกับนักเรียนต่อจากคาบที่แล้วสู่การเชื่อมโยงเนื้อหาในคาบนี้ เพื่อให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไรเกี่ยวกับหลักฐานที่ได้ออกไปเรียนรู้ เช่น จากที่เราได้รับฟังบุคคลท้องถิ่นเรารับรู้อะไรบ้าง / นักเรียนคิดว่าจากเรื่องราวที่บุคคลท้องถิ่นได้เล่าให้เราฟังนั้นสอดคล้องกับหลักฐานใดบ้างจากที่เราเคยรวบรวมหลักฐานกัน ต่อจากนั้นครูนำบทความวิจัยที่มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่น ที่นักเรียนอาศัยอยู่นำมาให้นักเรียนได้ศึกษาและร่วมอ่านร่วมกัน พร้อมให้นร่วมกันวิเคราะห์ว่า จากบทความที่อ่านตรงจุดไหนที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ฟังจากวิทยากรที่มีความรู้บ้าง หรือตรงกับหลักฐานชิ้นใดบ้าง นำไปสู่การสรุปผลการศึกษาร่วมกัน
ขั้นสรุปข้อเท็จจริง นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ถึงที่มาของท้องถิ่นร่วมถึงวิถีชีวิตของชุมชนด้วยการวาดออกมาเป็นแผนที่/แผนผัง โดยให้นักเรียนในห้องเรียนร่วมกันแบ่งบทบาทหน้าที่กัน เช่น หน้าที่วาดภาพ หน้าที่สรุปข้อมูล หน้าที่ระบายสี หน้าที่นำเสนอข้อมูลจากการศึกษา
ชั้วโมงที่ 4
ขั้นการนำเสนอข้อมูล ครูให้นักเรียนตัวแทนซักซ้อมสรุปข้อมูลในการเตรียมตัวออกมานำเสนอข้อมูลประกอบกับแผนที่ชุมชนที่นักเรียนได้ร่วมกันวาดขึ้น ก่อนออกมานำเสนอในห้องเรียนให้ครูรับฟัง
จากนั้นนักเรียนส่งตัวแทนห้องออกมานำเสนอข้อมูลให้ครูฟัง ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหลังนักเรียนนำเสนอจบ พร้อมทั้งได้มีการสรุปข้อมูลความรู้ที่ได้ศึกษาเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการให้ผู้เรียนได้ออกไปนำเสนอข้อมูลหน้าแถว ช่วงเข้าแถวพักกลางวันเพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่นักเรียนคนอื่นนอกห้องเรียนให้ได้เรียนรู้ร่วมกันด้วย
นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วงเข้าแถวพักกลางวัน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!