inskru
gift-close

เรียนวรรณคดีไทยอย่างสร้างสรรค์ "ตัวละครลับฉบับเทพนนท์"

2
3
ภาพประกอบไอเดีย เรียนวรรณคดีไทยอย่างสร้างสรรค์ "ตัวละครลับฉบับเทพนนท์"
สวัสดีค่ะ วันนี้ครูส้มอารมณ์ดี มาแนะนำการการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps เรียนวรรณคดีไทยอย่างสร้างสรรค์ โดยมอบหมายให้เด็ก ๆ ทำชิ้นงาน"ตัวละครฉบับฉบับเทพนนท์" มีขั้นตอนตามนี้ค่ะ 1. ขั้นการสังเกตรวบรวมข้อมูล (Gathering : G) ทบทวนความรู้เดิม 1.1 ครูทักทายนักเรียน และร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา เพื่อ ทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน 1.2 สอบถามนักเรียนว่า “ตัวละครใดในเรื่องน่าสงสารที่สุดเพราะเหตุใด” เพื่อกระตุ้นความสนใจ แนวคำตอบ วันทอง เพราะถูกตัดสินโทษประหารชีวิต 1.3 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้นักเรียนทราบ เรื่อง การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดี วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้นได้ เพิ่มเติมความรู้ใหม่ 1.4 นักเรียนทุกคนศึกษาและทบทวนบทนำเรื่อง เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกาในหนังสือ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณดคีและวรรณกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วร่วมกันตอบคำถามดังนี้ 1. ใครคือผู้แต่งเรื่อง เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา แนวคำตอบ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 2. ตัวละครสำคัญในเรื่องมีใครบ้าง แนวคำตอบ วันทอง ขุนช้าง ขุนแผน พระพันวษา จมื่นไวย หรือพลายงาม 3. เหตุใดจมื่นไวยจึงไม่ชอบขุนช้าง แนวคำตอบ ในวัยเด็กจมื่นไวย หรือพลายงาม เคยถูกขุนช้างลวงไปฆ่า 4. เพราะเหตุใดจมื่นไวยจึงต้องการมารับนางวันทองไป แนวคำตอบ คิดถึงแม่ อยากมีครอบครัวที่สมบูรณ์มีพ่อแม่อยู่ด้วยกัน 5. เพราะเหตุใดขุนช้างจึงต้องถวายฎีกา แนวคำตอบ จหมื่นไวยลูกชายของขุนแผนและนางวันทอง บุกเรือนขุนช้างชิงตัวนางวันทองผู้เป็นมารดากลับมา เมื่อขุนช้างรู้ ทำให้โกรธแค้นมากจึงต้องถวายฎีกา 2 ขั้นการจัดข้อมูลให้เป็นระบบ (Processing : P) วิเคราะห์ความเข้าใจ 2.1 นักเรียนและครูสนทนาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และวิจารณ์ ครูอธิบายเพิ่มเติม โดยใช้สื่อแอปพลิเคชัน Canva เรื่อง การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดี ได้หลักคิดวิธีปฏิบัติ 2.2 นักเรียนสรุปความรู้ลงในสมุด 2.3 นักเรียนจับกลุ่ม 4-5 คนตามความสมัครใจ ตั้งชื่อกลุ่มและแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำกลุ่ม ผู้บันทึก ผู้ชี้แนะ ผู้ตรวจสอบและผู้นำเสนอ กลุ่มไหนเสร็จแล้วให้ส่งตัวแทนมาเขียนชื่อกลุ่มบนกระดาน ครูให้คะแนนกลุ่มตามลำดับ และเขียนคะแนนบนกระดาน 2.4 ครูแจกใบกิจกรรม เรื่อง “นางวันทองสิ้นชีวิต ใครกันแน่ที่ผิด” กําหนดเวลาให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์และวิจารณ์ร่วมกันประมาณ 5 นาที 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge : A1) พัฒนาความเข้าใจได้ปฏิบัติ 3.1 ให้แต่ละกลุ่มอภิปรายกิจกรรม “นางวันทองสิ้นชีวิต ใครกันแน่ที่ผิด” ตามหลักการและขั้นตอนการ วิเคราะห์และวิจารณ์โดยมีผู้นำกลุ่มเป็นประธานในการอภิปราย หากสมาชิกในกลุ่มมีความความเห็นแตกต่างกันให้ใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ 3.2 ผู้บันทึกจดบันทึก สรุปประเด็นลงในใบกิจกรรมตามมติของกลุ่มด้วยภาษาที่สละสลวย 4 ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill : A2) ฝึกฝนซ้ำสร้างทักษะ 4.1 เมื่อเสร็จแล้วให้ผู้นำกลุ่ม ผู้บันทึก และผู้นำเสนอ แต่ละกลุ่มอยู่ที่เดิมเพื่อนำเสนอ ส่วนผู้ตรวจสอบและ ผู้ชี้แนะสลับกลุ่มเพื่อฟังการนำเสนอของเพื่อนจากกลุ่มอื่น ประมาณ 3 รอบในเวลาที่กำหนด 4.2 ในระหว่างฟังการนำเสนอ ผู้ตรวจสอบ จะต้องประเมินผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ของเพื่อนจากกลุ่มอื่น หากเพื่อนมีข้อสงสัย ให้ผู้ชี้แนะ แนะนำเพิ่มเติม โดยผู้บันทึก บันทึกข้อมูลที่ได้รับ 4.3 เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้แต่ละกลุ่มนำข้อชี้แนะและข้อมูลที่ได้รับไปปรับปรุงการแก้ปัญหาให้สมบูรณ์ขึ้นตามหลักวิชาการ 4.4 ครูแจกใบกิจกรรม “ตัวละครลับฉบับเทพนนท์” โดยมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ไปร่วมกันสร้างตัวละครลับที่มีความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ในการช่วยเหลือวันทองให้พ้นจากโทษประหาร ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ตและเขียนเป็นโปสเตอร์ให้สมบูรณ์สวยงาม โดยใช้แอปพลิเคชัน Canva หรือวิธีการอื่นๆ ซึ่งสามารถบูรณาการความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์จากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ อย่างอิสระ และเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นตาม พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ความหมายคือ “ไม่ควรเป็นคนรกโลก” ตามรายละเอียดดังนี้ 1. ชื่อตัวละคร 2. ลักษณะตัวละคร 3. ความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นในเรื่อง 4. ความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์ 5. ฉากและเหตุการณ์โดยย่อ 5 ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self - regulating) ประเมินผลความรู้ 5.1 ให้นักเรียนต่อยอดผลงาน โดยการอัดคลิปนำเสนอผลงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ลงในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน TikTok และติดแฮชแท็ก “ตัวละครลับฉบับเทพนนท์” ศึกษาวิธีการตัดต่อคลิปจากโทรศัพท์มือถือ ให้น่าสนใจ เหมาะสม เป็นการบูรณาการและพัฒนาตนเองตาม พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ความหมายคือ “ไม่ควรเป็นคนรกโลก” เพราะไม่นิ่งเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ใช้ทรัพยากรที่นักเรียนที่อยู่ในชีวิตประจำวัน บันทึกวีดีโอหรือสร้างเป็น Qr Code ส่งใน Google drive หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกาของครูจิดาภา อุ่นสุดคลอง ผสมผสานให้เหมาะเฉพาะตน 5.3 กำหนดให้นักเรียนทุกคนเข้าไปวิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานของกลุ่มอื่น ๆในแอปพลิเคชัน TikTok ตามแฮชแท็ก “ตัวละครลับฉบับเทพนนท์” 6. สื่อการเรียนรู้ 6.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณดคีและวรรณกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 6.2 สื่อแอปพลิเคชัน Canva เรื่อง การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดี 6.3 ใบกิจกรรม เรื่อง “นางวันทองสิ้นชีวิต ใครกันแน่ที่ผิด” 6.4 ใบสั่งชิ้นงาน “ตัวละครลับฉบับเทพนนท์” ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ ลองนำไปปรับใช้กับการสอนวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้ค่ะ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    มัธยมปลาย

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    3
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูส้มอารมณ์ดี

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ