การจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Graffiti เรื่อง เสภา ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้ Graffiti นั้น จะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในเนื้อหาวรรณคดีและก่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง เสภา ขุนช้างขุนแผน
ตอนขุนช้างถวายฎีกา และได้ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ 1. ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 2.ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 3.ทักษะการคิดชั้นสูง ซึ่งพบว่านักเรียนให้ความสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรมเป็นอย่างมาก โดยเริ่มการจัดการเรียนรู้ดังนี้
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1.ครูอธิบายกิจกรรม Graffiti โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ3-4 คน ทั้งหมด 5 กลุ่ม
2.ผู้แทนนักเรียนสุ่มหมายเลขกลุ่ม และรับแผ่นกระดาษกลุ่มละ 1 ใบ แต่ละใบจะมีคำถามใบละ 1 ข้อที่ไม่ซ้ำกัน ดังนี้
1) หากนักเรียนเป็นพระพันวษาจะตัดสินโทษนางวันทองอย่างไรโดยละเว้นไม่ให้นางวันทองต้องโทษประหารชีวิต
2) หากนักเรียนเป็นขุนช้างนักเรียนคิดว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรเพื่อไม่ให้นางวันทองต้องโทษประหารชีวิต
3) หากนักเรียนเป็นนางวันทอง นักเรียนเลือกที่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ตนเองต้องโทษประหารชีวิต
4) หากนักเรียนเป็นจมื่นไวยวรนาถนักเรียนจะเลือกใช้วิธีใดในการนำแม่กลับไปอยู่ด้วยที่เรือน
5) จากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกานักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
3.ครูแจกปากกาสี กลุ่มละ 1 ด้าม โดยแต่ละกลุ่มจะได้ปากกาสีที่แตกต่างกันไป
4.นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านคำถามที่ตนเองได้รับให้เพื่อนฟังเมื่อนักเรียนทราบคำถามทั้งหมดครูเปิดโอกาสให้นักเรียนปรึกษากันภายในกลุ่มว่านอกจากคำถามที่ครูกำหนดให้แล้วหากเป็นนักเรียนจะตั้งคำถามว่าอะไรแล้วเขียนลงกระดาษและให้ครูเก็บไว้ก่อนจากนั้นให้แต่ละกลุ่มพิจารณาคำถามที่กลุ่มตนเองได้รับสืบค้นหาข้อมูลความรู้จากหนังสือ เอกสารประกอบการเรียนและปรึกษาสมาชิกในกลุ่มเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการเขียนคำตอบและเขียนคำตอบในกระดาษคำถามจากความคิดเห็นหรือองค์ความรู้ใหม่ที่คิดได้ภายในเวลาที่ครูกำหนดให้ครูจับเวลาที่ 3 นาที
6.เมื่อหมดเวลาในแต่ละข้อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกระดาษคำถามที่เขียนคำตอบแล้วกับกลุ่มอื่น ๆ ด้วยการส่งกระดาษคำถามให้กลุ่มที่อยู่ลำดับถัดไป
7.นักเรียนแต่ละกลุ่มพิจารณาคำถามเพื่อหาคำตอบและเขียนตอบลงในกระดาษคำถามที่ได้รับตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในกิจกรรมคอยพิจารณาการทำกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม
8.นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งกระดาษคำถามให้กลุ่มถัดไปตอบคำถาม โดยมีเงื่อนไขว่าคำตอบของนักเรียนจะต้องไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น ถ้าคล้ายกันก็ต้องมีการอธิบายขยายความหรือแสดงเหตุผล และเมื่อทุกกลุ่มได้ตอบคำถามครบทุกข้อแล้วกระดาษคำถามข้อแรก จะวนกลับมาอยู่ที่กลุ่มของตนเองตอนเริ่ม
9.แต่ละกลุ่มช่วยกันพิจารณาทบทวนคำตอบที่ทุกกลุ่มเขียนในกระดาษคำถามของกลุ่มตนแล้วเขียนสรุปตอบในกระดาษคำถามให้เป็นคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
10.นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งผู้แทนมานำเสนอคำตอบสรุปที่เขียนส่งครูโดยกลุ่มอื่นฟังการนำเสนอครูกล่าวชมเชย
ให้ข้อเสนอแนะนำผลงานนักเรียนแปะไว้บนกระดาน
11.ครูประเมินการสรุปคำตอบของนักเรียนร่วมอภิปรายเพิ่มเติมร่วมกับนักเรียนและเปิดโอกาสในนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและประเมินผลงานของเพื่อนโดยการเขียนความรู้สึก ข้อเสนอแนะ ลงในกระดาษโพสต์อิทแล้วนำไปแปะบนผลงานของเพื่อนที่ชื่นชอบโดยห้ามแปะที่กลุ่มตนเองซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้กระดาษโพสต์อิทสีไม่ซ้ำกัน
ขั้นสรุป
12.ครูนำคำถามที่นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามตามความสนใจของตนเองก่อนการทำกิจกรรมมาช่วยกันตอบคำถามจากนั้นครูกล่าวสรุปจุดมุ่งหมายของวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา
13.ครูทิ้งท้ายคำถามให้นักเรียนได้คิดต่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาต่อตนเองและปัญหาต่อสังคมให้นักเรียนได้คิดและพิจารณาพฤติกรรมของตนเองไม่ให้สร้างปัญหาแก่สังคมในเรื่องของการคิดและการตัดสินใจ
ผลคือ การใช้กิจกรรม Griffiti ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น
-นักเรียนยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างเพื่อนต่างกลุ่ม
-นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
-นักเรียนรู้จักการวางแผนและการทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อน ๆ
-นักเรียนได้รับความรู้และความสนุกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!