เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่ครูผู้สอนอย่างเราๆ จะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตระจำวันของนักเรียนเมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสได้เข้าฟังเรื่อง "ความฉลาดรู้ทางการเงิน" ผนวกกับสอนในเรื่องของอนุกรมเลขคณิตจึงเกิดไอเดียขึ้นมาว่า จะทำอย่างไรดีล่ะที่จะนำทั้งสองเรื่องที่เป็นโลกจริงมาเชื่อมโยงกับโลกคณิตศาสตร์
ด้วยหลักการที่ว่า การเงินเป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียนเป็นอย่างมากในปัจจุบัน “ความฉลาดรู้ทางการเงิน” จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการวางแผนและควบคุมรายได้-รายจ่าย การออม การลงทุน และการทำความเข้าใจความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาในการสร้างนวัตกรรม New Gen Financial Planning Achieving Together เพื่อให้นักเรียนได้วางแผน รวมถึงการตัดสินใจที่ดีในการใช้เงินและการออม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเอง
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการ Gpas 5 Steps ขอเล่าคร่าวๆเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ขั้น G (Gathering) การสังเกตและการเก็บรวบรวมข้อมูล : นำคลิปวิดีโอ Youtube เรื่อง “ก๊อต จิรายุ จากหนี้ท่วมสู่การเก็บ 6 บัญชีที่ยังมีให้ถลุง” มาให้นักเรียนรับชม จากนั้นครูกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับข้อคิดที่ได้จากการรับชมสื่อวิดีโอYoutube ยกตัวอย่างคำถาม เช่น เป้าหมายทางการเงินมีอะไรบ้าง? ทำไมต้องวางแผนทางการเงิน? เป็นต้น พร้อมทั้งให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับความฉลาดรู้ทางการเงินว่ามีความสำคัญอย่างมากกับนักเรียนในปัจจุบัน
ขั้น P (Processing) การวิเคราะห์และสรุปความรู้ : .นักเรียนแต่ละคนร่วม Share idea แบ่งปันวิธีการออมเงิน ผ่านสื่อ Mentimeter จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันวิพากษ์เกี่ยวกับแนวโน้มการแบ่งปันวิธีการออมเงินของนักเรียนร่วมกันทั้งชั้นเรียน
ขั้น A1 (Applying and Constructing the knowledge) การปฏิบัติและสรุปความรู้หลังปฏิบัติ : นักเรียนเข้ากลุ่ม 6 – 7 คน จากนั้นรับใบกิจกรรมเรื่อง New Gen Financial Planning Achieving Together พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงเป้าหมายทางการเงินระบุเป้าหมายการออมเงินให้สำเร็จ สร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อเลือกเป้าหมายเพียงเป้าหมายเดียวในการสร้างนวัตกรรมพร้อมระบุเหตุผลที่เลือก โดยใช้ความรู้เรื่องการนำความรู้อนุกรมเลขคณิตไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเขียนบันทึกข้อมูลตามประเด็นดังกล่าวลงในใบกิจกรรมรวมทั้งตกลงกันในการตั้งชื่อนวัตกรรมของกลุ่มตนเอง
ขั้น A2 (Applying the Communication Skill) ขั้นสื่อสารและการนำเสนอ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนกลุ่มละ 3 - 5 นาที เมื่อจบการนำเสนอให้นักเรียนกลุ่มอื่นได้อภิปรายเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมว่าตรงตามเป้าหมายที่เคยตั้งไว้หรือไม่ตรวจสอบการแสดงวิธีหาคำตอบ ครูให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเสนอนวัตกรรม ให้นักเรียนกลุ่มอื่น
ขั้น S (Self-Regulating) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ : นักเรียนรับใบกิจกรรม How did you work? เพื่อสะท้อนความคิดของตนเองรายบุคคลเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในบทเรียนนี้และการสร้างนวัตกรรม
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!