inskru
insKru Selected

ความทรงจำกับสงครามโลก

3
1
ภาพประกอบไอเดีย ความทรงจำกับสงครามโลก

การออกแบบการเรียนรู้ในครั้งเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะตอบคำถามสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ว่า "เราจะสอนประวัติศาสตร์ให้มีความหมายกับชีวิตได้อย่างไรบ้าง"

ห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ม.3 ของเราใช้ "ความทรงจำ" ของบุคคลที่ผ่านเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 มาเป็นแก่นสาระสำคัญในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อที่เราจะได้ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดของผู้คนที่ร่วมยุคสมัยกับเหตุการณ์

ก่อนสิ้นเสียงสุดท้ายของประจักษ์พยานจากสงครามโลก ครั้งที่ 2

เราเริ่มต้นด้วยการโยนคำถามสำคัญให้กับเด็กๆ ช่วยกันคิค

"เมื่อสังคมเข้าสู่สงคราม พวกเราคิดว่าผู้คนจะมีความคิดหรือมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง"

เราได้คำตอบที่น่าสนใจมากมาย เช่น คนที่เป็นทหารน่าจะรู้สึกอึกเหิมเพราะจะได้ทำหน้าที่เพื่อชัยชนะของประเทศชาติ, ชาวบ้านน่าจะรู้สึกหวาดกลัวและคิดว่าจะเอาตัวรอดอย่างไรกันดี, ทหารบางคนอาจจะรู้สึกกลัวเพราะอาจจะถูกยิงตายก็ได้

จากนั้นเราชวนเด็กๆ ดูรูปชายชราคนหนึ่งและถามคำถามว่า "พวกเราคิดว่าชายชราคนนี้น่าจะเป็นใครในสงคราม" บ้างก็ตอบว่า เป็นทหาร บ้างก็ตอบว่าเป็นชาวบ้าน เราเพิ่มความซับซ้อนขึ้นอีกนิดโดยการขึ้นข้อความๆ หนึ่ง แล้วถามว่า "พวกเราคิดว่าประโยคนี้ใครน่าจะเป็นคนพูด และเขาน่าจะมีมุมมองต่อสงครามอย่างไร" เมื่อเด็กเริ่มสนใจรูปและข้อความมากพอแล้ว เราชวนพวกเขาไปดูให้มากกว่านั้น

รอบๆ ห้องเรียนเต็มไปด้วย"รูปภาพและข้อความคำพูด"ของประจักษ์พยานผู้เคยผ่านเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 มา โดยมีทั้งที่เป็นทหารของกองทัพเยอรมัน เป็นทหารญี่ปุ่น เป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตร รวมถึงคนที่เป็นพลเรือนทั่วไป

[เด็กๆ เดินอ่านข้อความของบุคคลที่เคยผ่านเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่ติดอยู่รอบๆ ห้องเรียน]

เมื่อเด็กๆ เดินอ่านข้อความจนครบ ทุกคนก็กลับมาที่โต๊ะของตัวเอง เพื่อบันทึกเรื่องราวของบุคคลที่ตัวเองสนใจลงในใบงาน และตอบคำถามสำคัญในใบงาน

"นักเรียนคิดว่า ความคิดและความรู้สึกของบุคคลเหล่านี้ สะท้อนความเป็นมนุษย์ภายในจิตใจของพวกเขาอย่างไรบ้าง"

[เด็กๆ บันทึกข้อมูลและเขียนตอบคำถามสำคัญลงในใบงานของตัวเอง]

ช่วงท้ายของการเรียน เราให้เด็กๆ ได้แชร์คำตอบของตัวเองให้เพื่อนๆ ฟังกัน เราพบว่าเป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากๆ เพราะมันเต็มไปด้วยความคิด ความรู้สึก และเกิดคำถามที่น่าสนใจขึ้นเยอะแยะมากมาย

"ต่อให้ต้องอยู่ในสงคราม คนส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครอยากตายหรืออยากฆ่าใครให้ตาย"

"แม้ว่าจะอยู่ในสงครามที่มีการต่อสู้และฆ่าฟัน แต่ลึกๆทุกคนก็รู้ว่าสงครามมันขัดแย้งกับความรู้สึกส่วนลึกของมนุษย์ ไม่มีใครอยากตายและอยากฆ่าคนอื่น"

"จิตใจของคนมีความรู้สึกสงสาร หวาดกลัว รักครอบครัว คิดถึงเพื่อน"

"มนุษย์ทุกคนน่าจะมีความอ่อนโยนภายในจิตใจ แต่อาจโดนความคิดหรืออุดมการณ์บางอย่างครอบงำ"

"รู้สึกหดหู่ เพราะมีแต่เรื่องราวที่เจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากสงคราม มีคนมากมายได้รับผลกระทรบจากสงคราม หลายๆ เรื่องเป็นเรื่องที่ผิดหลักมนุษยธรรม"

"ทหารที่ฆ่าคนอื่นเพื่อประเทศชาติ แท้จริงแล้วเป็นคนดีหรือคนไม่ดี?"

"คนที่ต้องฆ่าคนในสงคราม ต้องทำใจรับความรู้สึกอย่างไร?"

"เราจะสามารถพูดคุยกันให้รู้เรื่อง โดยที่ไม่เกิดสงครามได้หรือไม่?"

...........

[ข้อมูลบุคคลที่ผ่านเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 มาจากนิตยสาร National Geographic ฉบับเดือนมิถุนายน 2563 "75 ปี สงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนสิ้นเสียงสุดท้ายของผู้รอดชีวิต"]

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    สังคมศึกษามัธยมต้นมัธยมปลายเทคนิคการสอนประวัติศาสตร์พลเมือง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    3
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูแอร์

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ