การใช้คำถามเป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้เพราะคำถามจะทำให้เราได้คำตอบ และคำตอบก็จะแสดงถึงความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้เรียน นอกจากจะได้คำตอบแล้วการใช้คำถามในขั้นก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการเรียนรู้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด คร่ำครวญถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านทฤษดี วิชาการ กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ตลอดจนการปรับประยุกต์การเรียนหรือการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น
แล้วเราจะถามอย่างไรหละ จึงจะตอบโจทย์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ของเรา ? วันนี้จึงขอนำเสนอการใช้คำถาม 10 ประเภท เพื่อให้เพื่อนครูนำไปปรับใช้ให้การสอนของเราทรงพลังมากขึ้น และทำให้การเรียนรู้มีความหมายกับผู้เรียนและหลักสูตรของเรา
1. คำถามปลายเปิด เป็นคำถามที่ถามเพื่อต้องการทราบถึงความคิดเห็น/ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง บทเรียนหนึ่ง ๆ หรือประเด็นการเรียนรู้หนึ่ง ๆ เหมาะสำหรับการขยายความรู้ ความคิดเห็น การประยุกต์การเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์หรือบริบทใหม่ ๆ โดยใช้คำสำคัญ เช่น
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
2. คำถามปลายปิด เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบง่าย ๆ เช่น ใช่หรือไม่ใช่ หรือคำตอบที่ตายตัว แน่นอน สำหรับการสอนแล้วนอกจากจะใช้ในการทดสอบแล้วครูสามารถใช้คำถามปลายปิดเพื่อประเมินความเข้าใจของผู้เรียน ตรวจสอบว่านักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ นักเรียนเข้าใจหรือไม่เข้าใจ
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
จะสังเกตได้ว่าการใช้คำถามปลายปิดนั้นห้องเรียนนั้นบางสถานการณ์อาจต้องให้นักเรียนขยายความคำตอบเพิ่มเติมด้วยเพื่อทำให้ครูทราบว่านักเรียนเข้าใจสิ่งนั้นอย่างแท้จริง เช่น นักเรียนคิดว่า....ถูกต้องหรือไม่ เพราะอะไร ? นักเรียนสามารถใช้สิทธิ์....ได้แล้วหรือยัง เพราะเหตุใค ? "กิน" เป็นคำประเภทใดในภาษาไทย เพราะอะไร ?
3. คำถามเชิงลึก เป็นคำถามที่ต้องการทราบคำตอบที่มีราลยะเอียดเฉพาะ เจาะจง ลึกซึ้ง ครูอาจเลือกใช้เทคนิคนี้หากต้องการการชี้แจงเป็นพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน เช่น เหตุผลที่เลือกเขียนสะท้อนเรื่องนี้ แรงบันดาลใจที่ทำชิ้นงานนี้ สาเหตุที่หลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างหรือสาเหตุที่แสดงออกพฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน/ ในการทำงาน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราได้ข้อมูลที่ถูกปกปิด ซ่อนเร้นไว้ทำให้ครูทราบข้อมูลที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
4. คำถามแบบกรวย ถ้าใครนึกไม่ออกให้นึกถึงกรวยไอศกรีมนะ คำถามแบบนี้จะเริ่มถามตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆ ไปแล้วค่อย ๆ เจาะจงคำถามเพิ่มขึ้น (ถามกว้าง ๆ แล้วค่อย ๆ จำกัดคำถามให้แคบลง เฉพาะลง เจาะจงลง) ตลอดการซักถามเพื่อลดความกังวล และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคู่สนทนาซึ่งจะช่วยให้ผู้ตอบคำถามค่อย ๆ เผยข้อมูลที่แท้จริงออกมา เช่น
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
5. คำถามที่มีการชี้นำก่อนถาม การใช้คำถามบางสถานการณ์อาจจำเป็นต้องชี้นำให้นักเรียนทราบถึงที่มาที่ไปของสิ่งที่เราจะถามก่อนเพื่อกระตุ้นนักเรียนไตร่ตรองข้อมูลสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจตอบคำถาม
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
6. คำถามที่มีการชี้แจงก่อนถาม เป็นคำถามที่ผู้ถามให้คำชี้แจง อธิยาย หรือขยายความประเด็นเกี่ยวกับคำถามก่อนที่จะถามเพื่อยืนยันรายละเอียดสำคัญ ครูอาจใช้คำถามประเภนี้เพื่อตรวจสอบการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานของนักเรียน กำหนดเวลาของการทำงาน ความเข้าใจลักษณะของภาระงาน
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
7. คำถามเชิงวาทศิลป์ หรือถามแต่ไม่ต้องการคำตอบ ส่วนมากเรามักใช้คำถามประเภทนี้เพื่อดึงดูดการสนทนาให้ผู้ร่วมสนทนารู้สึกว่าเรากำลังสนใจสิ่งที่พูดคุยและเพื่อทำให้ผู้พูดแน่ใจว่าคู่สนทนากำลังสนใจประเด็นที่กำลังพูดคุยอยู่ คำถามนี้ไม่เน้นการตอบคำถามแต่จะกระตุ้นให้ผู้ฟังทบทวนสิ่งที่กำลังพูดคุย
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
8. คำถามแบบเรียกคืนข้อมูล เป็นคำถามที่ผู้ถามต้องการความแน่ใจว่าผู้ตอบเข้าใจ จดจำประเด็นสำคัญ หรือข้อเท็จจริงจากสถานการณ์หนึ่ง ๆ ได้ เพื่อย้ำว่าผู้ตอบรับทรายข้อมูล เข้าใจ สามารถปฏิบัติตามได้ หรือสามารถระบุแนวทางการประยุกต์ใช้ได้จริง
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
9. คำถามที่ใช้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง คำถามนี้จะใช้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ครูอาจใช้คำถามนี้กับนักเรียนบางคน บางกลุ่มที่มีคุณสมบัติตรงกับประเด็นที่ต้องการสนทนา เช่น กลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถด้านการวาดภาพ กลุ่มนักเรียนที่ต้องเดินทางไปทัศนศึกษา กลุ่มนักเรียนที่เข้าเรียนสาย
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
10. คำถามเกี่ยวกับประบวนการ เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบใช้ความคิดและตอบคำถามอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับสถานการณ์หรือประเด็นที่กำหนด คำถามนี้มักไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดแต่จะช่วยให้ผู้ตอบได้อภิปรายความคิดของตนเอง
ตัวอย่างคำถามในห้องเรียน
สิ่งสำคัญในฐานะครูคือเราควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะฉะนั้นคำถามที่ครูใช้จึงควรเป็นคำถามที่มีความหมายสำหรับผู้เรียนและการเรียนรู้เสมอ
แหล่งอ้างอิง https://www.indeed.com/career-advice/career-development/questioning-techniques
สุรพงษ์ กล่ำบุตร : เขียน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!