ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ : ครูวาดภาพ “ทวน” บนกระดาน ให้นักเรียนทายว่าสิ่งนี้คืออะไร ใช้ในสถานการณ์ใด เชื่อมโยงว่าทวนอยู่ในวรรณคดีที่เราจะเรียนกันต่อไปนี่ชื่อว่าวรรณดคีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
ขั้นสอน
1.นักเรียนแบ่งกลุ่มตั้งชื่อหมู่บ้าน แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน
2.นักเรียนอ่านใบความรู้เรื่องสมิงพระรามอาสา 7 นาที โดยผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่แบ่งหัวข้อให้ทุกคนในหมู่บ้านอ่านและทำความเข้าใจหัวข้อที่ตัวเองได้รับ
3.กติกามีอยู่ว่าทุกหมู่บ้านจะต้องส่งตัวแทนมาเขียนคำตอบบนกระดาน หมู่บ้านใดส่งตัวแทนมาจับปากกาได้เขียนก่อน กลุ่มไหนตอบก่อนได้1คะแนน มีสิทธิ์ตอบ1 ครั้งต่อหนึ่งคำถาม
4.เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมรวมคะแนน
5.มอบหมายการบ้าน : นักเรียนทุกคนสรุปองค์ความรู้จากเรื่องสมิงพระราม โดยทำเป็นMindmaping ลงสมุด
ตามประเด็นดังนี่ -จุดประสงค์ -เรื่องย่อ -ข้อคิด -นิสัยตัวละคร -ความรู้สึกตอนทำกิจกรรม -เกิดการเรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรม
ชั่วโมงที่ 2
1.นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ4คน ส่งตัวแทนมาจับสลากหมายเลขฉากที่จะแสดงบทบาทสมมติ
2.นักเรียนอ่านทำความเข้าใจเหตุการณ์หรือฉากในเรื่องราชาธิราชในตอนที่ตัวเองได้รับและซ้อมการแสดง10 นาที(คำแนะนำครูเตรียมรับมือกับความวุ่นวายจากการซ้อมการแสดงของเด็ก เพราะเสียงจะตีกันทั่วท้อง)
3.นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติสั้นๆในฉากที่ตนได้รับกลุ่มละ2-3นาที
4. ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทุกคนอ่านวรรณคดีเรื่องราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสาจากหนังสือแบบเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม ม.1
ชั่วโมงที่ 3
1.นักเรียนทบทวนเนื้อเรื่องจากการรับชมการแสดงของเพื่อนในคาบที่แล้ว
2.อ่านเรียนอ่านเนื้อเรื่องราชาธิราชจากใบความรู้ตั้งแต่ต้นจนจบอีกครั้ง
3.นักเรียนเขียนคุณค่าของเรื่องราชาธิราช ด้านภาษาและวรรณศิลป์ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และข้อคิดที่นำไปใช้
4.สะท้อนผลการทำกิจกรรม รู้สึกอย่างไรกับการซ้อมและการแสดง เกิดการเรียนรู้อุปสรรคหรือเห็นความสามารถอะไรในตนเองบ้าง จุดที่ควรพัฒนาต่อ
ชั่วโมงที่ 4
ขั้นนำ นักเรียนเรียงลำดับการ์ดเหตุการณ์จากเรื่องราชาธิราชเพื่อทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายว่าองค์ประกอบที่ใช้ในการวิเคราะห์วรรณคดีมีดังนี้คือ 1)เนื้อหา 2)ตัวละคร 3)โครงเรื่อง 4)ภาษาและวรรณศิลป์ 5) บริบทสังคมและวัฒนธรรม 6)อารมณ์และความรู้สึก
2.นักเรียนวิเคราะห์แง่มุมหรือเหตุการณ์ในเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา และแสดงความคิดเห็นโดยการเขียนตอบลงในใบงาน ตามประเด็นดังนี้
1)เหตุใดสมิงพระรามจึงอาสาสู้รบกับกามะนี
2)ถ้านักเรียนเป็นสมิงพระราม จะอาสาสู้รบกับกามะนี หรือไม่ เพราะเหตุใด
3) สมิงพระรามเลือกม้าที่มีลักษณะอย่างไร
4) นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดสมัยก่อนจึงมักมีสงคราม
5)ถ้านักเรียนเป็นสมิงพระราม จะเขียนจดหมายสั่งลาว่าอย่างไร
6) นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ ที่พระเจ้ากรุงจีนชอบเห็นทหารต่อสู้กัน
7)สมัยก่อนทหารที่รบเก่งจึงจะดี นักเรียนคิดว่าสมัยนี้ทหารควรเป็นอย่างไร
8)นักเรียนคิดว่าบ้านเมืองที่เจริญแล้วควรเป็นอย่างไร
3.ครูถามคำถามทีละข้อและสุ่มนักเรียนพูดสิ่งที่ตัวเองเขียนแสดงความคิดเห็น
ขั้นสรุป สะท้อนผลการเรียนรู้ เกิดมุมมองใหม่อะไรบ้างจากการวิเคราะห์สถานการณ์ในเรื่อง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!