inskru
gift-close

insKruChallenge_แบบฝึกหัดกระดาษเปล่า

3
0
ภาพประกอบไอเดีย insKruChallenge_แบบฝึกหัดกระดาษเปล่า

"สอนคาบเรียนนี้จบแล้วให้เด็กทำใบงานแบบไหนดี"

"ใบงานของเราจะทำให้เด็กได้ทบทวนความรู้ได้จริงไหมนะ แล้วเราจะประเมินเด็กจากใบงานได้รึเปล่า"

💭 ชวนสะท้อนคิด

การทำใบงานเพื่อทบทวนสิ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สามารถทำได้มากกว่าทบทวนการท่องจำได้ไหมนะ เอาล่ะ บางทีเราก็ทำได้ แต่เคยรู้สึกไหมว่าคำตอบของเด็ก ๆ แสดงให้เห็นว่าเขารู้คิดจากสิ่งที่ได้เรียนไปค่อนข้างน้อย แล้วเราจะทำอย่างไรให้เด็ก ๆ สามารถคิดไปได้ไกลกว่าสิ่งที่เราสอนผ่านใบงาน แถมเรายังสามารถประเมินการเรียนรู้และทักษะอื่น ๆ ของเด็กผ่านใบงานได้ด้วย

👍 insKru Challenge ครั้งนี้เลยอยากท้าทายคุณครู:

ใช้กระดาษเปล่า เป็นใบงาน :)

ตัวอย่างสถานการณ์

วิชาคณิตศาสตร์

คาบเรียนนี้เป็นคาบที่ 2 ของหน่วยการเรียนรู้เศษส่วน ครูอยากรู้ว่านักเรียนเข้าใจเรื่องเศษส่วนดีแค่ไหน ครูจึงให้กระดาษเปล่ากับนักเรียนออกไปสำรวจจำนวนพันธุ์ไม้บริเวณส่วนหย่อมในโรงเรียน และให้นักเรียนสรุปจำนวนพันธุ์ไม้ออกมาเป็นเศษส่วนลงในกระดาษเปล่า > ทีนี้เราก็จะมองเห็นทั้งระดับความเข้าใจเรื่องเศษส่วน การเลือกจัดกระทำข้อมูล รวมถึงการสรุปเพื่อบันทึกข้อมูลด้วย (แถมเด็ก ๆ ยังได้ใส่จินตนาการ เพราะบางครั้งเราก็จะเจอเด็ก ๆ วาดรูปประกอบมาให้ครู)

วิชาวิทยาศาสตร์

คาบเรียนนี้เป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้า บทวงจรไฟฟ้าและไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ซึ่งคาบก่อนหน้านักเรียนได้เรียนรู้เรื่องกระแสสลับและกระแสตรงไปแล้ว ครูจึงให้กระดาษเปล่ากับนักเรียนคนละ 1 แผ่น ไปสำรวจระบบไฟฟ้าในอาคารเรียนว่ามีระบบจ่ายไฟฟ้าอย่างไรจึงทำให้ห้องเรียนแต่ละห้องมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดวัน และให้นักเรียนลองวาดวงจรไฟฟ้าของอาคารเรียนตามที่นักเรียนเข้าใจ > ทีนี้เราก็จะมองเห็นระดับความเข้าใจเรื่องวงจรไฟฟ้าและไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน รวมถึงเพิ่มทักษะการสังเกต การจัดกระทำข้อมูล การจำแนก ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ให้กับนักเรียนได้จากกิจกรรมเดียวด้วย

สิ่งเล็กๆ ที่คุณครูเริ่มต้นได้ในห้องเรียน

  • อย่าลืมกำหนดเป้าหมายของการให้กระดาษเปล่ากับนักเรียนก่อนให้โจทย์ด้วยนะ
  • โจทย์ที่ครูให้กับนักเรียนคู่กับกระดาษเปล่า ไม่ควรเป็นโจทย์ปลายปิด ลองใช้โจทย์ปลายเปิดให้เด็ก ๆ ได้ใส่ความคิดเห็นของเขาลงไป
  • เปิดใจให้กว้างว่าการให้กระดาษเปล่าอาจจะได้คำตอบที่ไม่ตรงใจครู แต่ให้ลองคิดดูว่าเพราะเหตุใดเขาจึงคิดเช่นนั้น
  • อย่าลืมสรุปองค์ความรู้ให้เด็ก ๆ เข้าใจหลังจากที่เสร็จสิ้นกิจกรรมด้วยล่ะ หรือถ้าอยากท้าทายเด็ก ๆ มากกว่านี้ก็ให้เขาลองสรุป concept การเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้วมาแลกเปลี่ยนกันในห้อง
  • การให้กระดาษเปล่าอาจจะไม่เหมาะกับทุกเป้าหมาย ทุกวิชา ทุกหน่วยการเรียนรู้ คุณครูลองพิจารณาดูก่อนเลือกใช้
  • ระหว่างที่เด็ก ๆ ทำกิจกรรม ครูลองเดินดูสิ่งที่เด็ก ๆ ทำไปพร้อม ๆ กันเพื่อคอยสังเกตสิ่งที่เขาคิด สิ่งที่เขาสนใจ เราจะได้เข้าใจเด็ก ๆ ของเรามากขึ้น (แต่พยายามฮึบ! อย่าไปแก้สิ่งที่เขากำลังเรียนรู้เชียว เพราะจะขัดขวางกระบวนการคิดของเขาได้ แต่ใช้คำถามกระตุ้นให้เขาสังเกตข้อผิดพลาดได้นะ)


🤩 อย่าลืมลองนำไปใช้ดูนะ ขอให้สนุกและพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการลองทำ Challenge นี้!

ติดตามอ่าน Challenge อื่นๆ ได้ ผ่านการกดติดตาม insKru หรือใน 👉 แท็ก insKruChallenge หรือกดผ่านแท็ก insKruChallenge สีฟ้าด้านล่างได้เลย

insKruChallengeChallengeเทคนิคการสอนทบทวนบทเรียน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

3
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ