inskru
insKru Selected

สอน มนุสสภูมิให้ Gen alpha ด้วยกิจกรรม "ปั้นดินให้เป็นคน"

2
3
ภาพประกอบไอเดีย สอน มนุสสภูมิให้ Gen alpha ด้วยกิจกรรม "ปั้นดินให้เป็นคน"

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

เมื่อครูต้องสอนเนื้อหาวรรณคดี เรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แล้วเด็กๆ รู้สึกว่า ไม่เห็นภาพ เหนือจินตนาการ ไม่ค่อยเกิดประโยชน์ ครูจะออกแบบการสอนที่นักเรียนจับต้องได้ จากนามธรรม สู่ รูปธรรม แบบกระบวนการกลุ่ม ขยำ ขยับ จับต้องได้ สามารถใส่ความคิดและจินตนาการของตนเองร่วมกับกรอบเนื้อหา "ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ" จึงป็นที่มาของกิจกรรม สอน มนุสสภูมิให้ Gen alpha ด้วยกิจกรรม "ปั้นดินให้เป็นคน"

ขั้นตอน

  1. ครูต้องสอน นักเรียนต้องเรียนเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ให้จบก่อน
  2. พอเรียนจบเกิดคำถามว่า (ตัวอย่างคำถามที่เจอจากลูกๆ ที่รักมากๆๆ) "หนูกำลังเรียนอะไรอยู่" "ทำไมมันเวอร์จัง" "ไม่เห็นสมจริงเลย อะไรก็ไม่รู้" และจบท้ายว่า "เรียนเพื่ออะไรก่อนครูครับ"
  3. พอเกิดคำถาม สมองครูแล่นมาก จะทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในการเรียนเรื่องนี้
  4. ออกแบบเป็นกิจกรรมสรุปการเรียน "ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ" ชื่อว่า สอน มนุสสภูมิให้ Gen alpha ด้วยกิจกรรม "ปั้นดินให้เป็นคน" โดยมีขั้นตอน ดังนี้

4.1 ขอความร่วมมือให้เด็กๆ นำดินน้ำมามาคนละ 1 ก้อน

4.2 แบ่งกลุ่ม (จะแบ่งตามทฤษฎีอะไรก็ได้ (เก่ง-กลาง-อ่อน/ตามสมัครใจ/ตามประสบการณ์/ตามเพศ/ตามความถนัด) แต่กิจกรรมนี้ ครูแบ่งเองครับ โดยให้แบ่งเลขคู่-เลขคี่ (ถ้านักเรียนมีมากเกินไปอาจจะแบ่งย่อยลงอีก)

4.3 แบ่งกลุ่มเสร็จ โยนโจทย์ไปว่า "นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันปั้นขั้นตอนการกำเนิดมนุษย์ตามหลักไตรภูมิที่ได้เรียนมา โดยยึดชื่อขั้นตอนเกิดตามหลักไตรภูมิ แต่นักเรียนสามารถจินตนาการเด็กในแต่ละขั้นได้เอง อาจจะอาศัยขั้นตอนการเกิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาเป็นแนวทางในการปั้นก็ได้" วันนี้จะปั้นตั้งแต่เกิดจนคลอดและอยู่รอดเป็นทารก

4.4 เมื่อปั้นเสร็จให้จัดทำคลิปนำเสนอ 1 คลิป นำเสนองานปั้นของแต่ละกลุ่ม พร้อมอธิบายประกอบ

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

  1. ความรู้ตามหลักการเกิดในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ได้ครบถ้วนโดยเฉพาะภาษาบาลีต่างๆ เช่น กลละ/เปสิ/เบญจสาขาหูด เป็นต้น
  2. ความสนุกสนาน เหมือนพวกเขาได้กลับไปสมัยประถมศึกษาอีกครั้ง
  3. รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ มีเป็นระยะ
  4. การทำงานเป็นทีม (บ่นกัน/ด่ากันัน/แกล้งกัน/ฟ้องครูบ้าง/โวยวายบ้าง) มีครบรส
  5. ความสุขจากการเรียนเรื่องนี้มีเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่นอน

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

  1. ครูต้องเปิดใจกว้างเพราะบางกลุ่มก็จะปั้นตั้งแต่ พ่อ-แม่ได้กันโดยสื่อออกมาแนวทะลึ่งหน่อย แต่ไม่ถือว่าหยาบคาย ปิดตา 1 ข้างก็ไปต่อเพื่อความสุข สนุกของเด็กๆ
  2. ครูต้องเดินกระตุ้น ให้กำลังใจ ชมเยอะๆ เพราะเด็กแต่ละกลุ่มฝีมือการปั้นไม่เหมือนกัน
  3. อย่าสรุปงานด้วยการเปรียบเทียบฝีมือ หรือความสามารถของเด็กๆ แต่ให้ชม/สรุปที่ความตั้งใจในการทำงาน

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยมัธยมปลายเกมและกิจกรรมวรรณคดีและวรรณกรรม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    3
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insDr.noinuay

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ