ที่มาไอเดีย
รายวิชา 2720326 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิณดิษฐ์ ละออปกษิณ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องสามเหลี่ยมคล้ายมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสูงของสิ่งต่าง ๆ ได้ (K)
2) นักเรียนสามารถวัดความสูงของสิ่งต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นค่าประมาณผ่านการคำนวณของตนเองหรือใช้เครื่องช่วยคำนวณได้ (S)
3) นักเรียนมีความอดทน ไม่ยอมแพ้ ต่องานที่มีความท้าทายมาก (A) (Grit)
4) นักเรีนนทุกคนมีบทบาทในงานกลุ่มของตนเอง (A) (Collaboration)
สาระการเรียนรู้
ขั้นนำ (5 นาที)
1) ครูทบทวนการใช้สามเหลี่ยมคล้ายวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ผ่านสื่อรูปภาพ เน้นอธิบายกระบวนการ
- วัดโดยใช้ท่อนไม้ หรือ ไม้บรรทัด
- วัดโดยใช้กระจก
- วัดโดยไม่ใช้อุปกรณ์อื่น ๆ
2) ครูแจกใบงานวัดความสูงและอุปกรณ์ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม พร้อมชี้แจงอุปกรณ์และความรู้ที่ใช้
ทั้ง 3 วิธี (ท่อนไม้ กระจก ไม่มีอุปกรณ์) รวมทั้งเป้าหมายในการวัดทั้ง 3 อย่าง (โกล อาคาร 1 )
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (30 นาที)
1) นักเรียนเข้ากลุ่มและสำรวจความสูงของเป้าหมายที่ต้องการวัดที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
2) ครูเดินดูนักเรียนแต่ละกลุ่มพร้อมเดินดูให้ข้อสะท้อนย้อนกลับ เกี่ยวกับ แนวคิด วิธีการวัด และ
การคำนวณสมการของนักเรียนแต่ละกลุ่ม เรื่องทั้งค่าประมาณในการวัดในชีวิตจริง
ขั้นสรุป (15 นาที)
1) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแนวคิดพร้อมผลลัพธ์จากการวัด กลุ่มละ 2 นาที (12 นาที)
2) ครูสรุปสาระสำคัญที่เป็นข้อสังเกตจากการวัดของนักเรียน เรื่อง ความคาดเคลื่อนของความสูงใน
ชีวิตจริงจาก สายตา ค่าประมาณจากการวัด จากการคำนวณ พร้อมทั้งขายของบทเรียนต่อไปที่
ใช้ในการวัดความสูง แต่มีความละเอียดที่มากกว่า คือ อัตราส่วนตรีโกณมิติ (3 นาที)
1) นักเรีนนทุกคนมีบทบาทในงานกลุ่มของตนเอง
2) นักเรียนทำงานที่ยากด้วยความสนใจและสงสัย
3) นักเรียนได้ทบทวนการใช้สามเหลี่ยมคล้ายในบริบทชีวิตจริง
บริบท
1) นักเรียนต้องได้รับการเตรียมตัวเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ปัญหาสามเหลี่ยมคล้าย โจทย์ปัญหาสามเหลี่ยมคล้ายในชีวิตจริง (โจทย์จำลอง)
2) นักเรียนต้องได้รับการเตรียมตัวเนื้อหา เกี่ยวกับการวัดและฟิสิกส์เบื้องต้น เช่น ความรู้เรื่องความยาวของสิ่งของต่าง ๆ เช่น ความยาวของท่อนไม้ ไม้บรรทัด มือ แขน และ ความรู้ฟิสิกส์เบื้องต้นที่เกี่ยวกับการสะท้อน
3) นักเรียนควรได้รับการประเมินความเข้าใจในข้อ 1) และ 2)
ข้อเสนอแนะ
1) ใน 1 คาบ (50 นาที) ควรให้นักเรียนได้เลือก วิธี และอุปกรณ์ ในการวัด และสิ่งที่จะวัดความสูง ตามความสนใจ (ไม่เกิน 2 อย่าง)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!