inskru
gift-close

ฝึกหัดคำคล้องจอง

1
2
ภาพประกอบไอเดีย ฝึกหัดคำคล้องจอง

รายวิชา ท๑๔๑๐๑ ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

เรื่อง ฝึกหัดคำคล้องจอง

ผู้สอน นางสาวอัสมาห์ ตาเยะ

โรงเรียนบ้านธารน้ำใส

ห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

มาตรฐานการเรียนรู้

             มาตรฐาน  ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย

การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ

คุณธรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

๑. ความรับผิดชอบ

๒. ความสามัคคี           

ตัวชี้วัด ป.๔/๖ แต่งคําคล้องจองและคําขวัญ

พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกที่เกี่ยวข้อง มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย

สาระสำคัญ

      คําคล้องจอง คือ คําสัมผัสที่มีสระเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกดจะต้องสะกดด้วยมาตราตัวสะกดเดียวกัน แต่พยัญชนะต้นต่างกันอาจมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้คําคล้องจองแบ่งเป็นคําคล้องจอง ๒ พยางค์ และคําคล้องจอง ๓ พยางค์ การเรียนรู้เรื่องคําคล้องจองช่วยให้มีพื้นฐานที่ดีในการแต่งคําประพันธ์

สาระที่ควรเรียนรู้ผนวกคุณธรรมเป้าหมายและพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก

๑. ลักษณะของคำคล้องจอง

๒. เห็นคุณค่าของการเรียนรู้คำคล้องจอง

๓. ฝึกคุณธรรมเป้าหมายเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายและความสามัคคีในการทำกิจกรรม 

 กิจกรรมการเรียนรู้

  ๓.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

๑. ครูกล่าวทักทายและสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้ไม่น่าเบื่อด้วยการตบมือเป็นจังหวะ

๒.ครูเชื่อมโยงความรู้เรื่อง คําสัมผัสเข้าสู่เนื้อหาเรื่อง คําคล้องจอง

๓.ครูถามคําถามนักเรียน ดังนี้ ครู : นักเรียนรู้จักคําคล้องจองหรือไม่  คําคล้องจองคืออะไร

๓.๒ ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๑. ครูจัดกิจกรรม “ช่วยหนูด้วย” โดยมีกติกา ดังนี้

๑) ครูตัดบัตรคํารูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ บนกระดานจำนวน ๑๐ คํา โดยมีคํา ๒ พยางค์ และ คํา ๓ พยางค์

๒) แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ๓-๔ คน ให้นักเรียนช่วยเขียนคําคล้องจอง ต่อจากคําที่ครูติดไว้บนกระดาน

๓) นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันเขียนคําคล้องจองหากกลุ่มใด เขียนได้เร็วกว่าและถูกต้องจะได้ คะแนน และถือว่าเป็นการช่วยชีวิตสัตว์ได้ ๑ ตัว

๔) ร่วมกันนับคะแนนว่ากลุ่มใดช่วยชีวิตสัตว์ได้มากที่สุด

เป็นกลุ่มที่ชนะกิจกรรม และมอบรางวัลให้กับกลุ่มที่ชนะกิจกรรม

๕) ครูถามคําถามหลังจากนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จว่าบอกได้หรือไม่ว่าคําคล้องจองคืออะไรและคําคล้องจองที่นักเรียนเขียนมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

๖) ครูและนักเรียนสรุปความรู้ เกี่ยวกับคําคล้องจองจากกิจกรรม “ช่วยหนูด้วย”

๗) ครูมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในใบงาน เรื่อง รู้จักคํานํามาคล้องจอง 

๓.๓ ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนสรุปความรู้เรื่องคําคล้องจอง เช่น ช่วยให้มีพื้นฐานที่ดี ในการแต่งคําขวัญและ คําประพันธ์

๓.๔ ขั้นนำไปใช้

        มอบหมายให้นักเรียนกลับไปฝึกเขียนคำคล้องจองเพื่อที่จะมาแต่งคำขวัญในคาบหน้า 

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

๑) สื่อ PowerPoint เรื่อง คําคล้องจอง

๒) ใบความรู้ที่ ๔ เรื่อง คําคล้องจอง

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1 วิธีการวัดและประเมินผล

- สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

- สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม

- ตรวจใบงาน/ใบงาน

- สังเกตความมีความรับผิดชอบ และความสามัคคี          

2 เครื่องมือวัดและประเมินผล

- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

- สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม

- แบบประเมินใบงาน

- แบบประเมินการมีความรับผิดชอบ และความสามัคคี        

3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

คุณภาพอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

1
ได้แรงบันดาลใจ
2
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insครูอัชแมว

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ