ครูอามีลา มะลี สอนระดับชั้น ป.2 รายวิชาภาษาไทย
โรงเรียนสุคิริน สพป.นราธิวาส เขต 2
เมื่อครูอยากปลูกฝั่งให้นักเรียนมีในเรื่องมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึก
ในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
ท ๓.๑ ป.๒/๗ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
ดังนั้น ขั้นตอนที่ครูสอนมีดังนี้
ครูนำรูปภาพเหล่านี้ มาให้นักเรียนดู......................
แล้วถามนักเรียนมาดูกันเป็นกลุ่ม ๆ ว่าเห็นอะไรบ้างในรูปภาพ
จากนั้น เมื่อเด็กนักเรียน กลับไปนั่ง ครูถามนักเรียนต่อ เห็นอะไรบ้างในรูปภาพ ใน กระดาษ 1 แผ่น มีอยู่ 2 รูป แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร
นักเรียนต่างก็ตอบว่า
-หนูเห็นคนพูดในตอนฟังเขาเล่นกีตาร์
-หนูเห็นคนกำลังพูดในตอนที่กำลังฟังคนอื่นพูด
-หนูเห็นคนกำลังกินพิซซ่าในขณะที่กำลังฟังอยู่
:นักเรียนทุกคนก็จะแย่งกันตอบประมาณนี้
2.ครูอธิบายให้นักเรียนต่อว่า ภาพเหล่านั้น ก็คือผู้คนทั้งหมด ที่ไม่มีมารยาทในการฟัง ดู และพูด
3.ครูนำเนื้อหามารยาในการฟัง การดู การพูด มาให้นักเรียน พร้อมยกตัวอย่างตามข้อต่าง ๆ ให้นักเรียนฟัง
มารยาทการฟัง การดู และการพูด
การฟัง คือการรับสารจากการได้ยินทางหู
มารยาทการฟัง
- ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อยและตั้งใจฟัง
- การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด
- ไม่ทำอย่างอื่นขณะที่ฟัง เช่น อ่านหนังสือ หรือทานอาหาร เป็นต้น
- ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
- ไม่พูดแทรกขณะที่ฟัง
- ฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยพูดซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนขณะฟัง
- ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
การดู คือการรับสารผ่านทางสายตาหรือการมองเห็น
มารยาทในการดู
- ตั้งใจดูด้วยความตั้งใจ
- ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
- นั่งหรือยืนดูในท่าที่เรียบร้อย
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- เมื่อต้องเดินผ่านผู้ที่กำลังดู ควรเดินอย่างระมัดระวัง
- ไม่พูดหรือเล่าเรื่องราวแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังดูอยู่
- ไม่แอบดูของของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
- ปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่
การพูด คือ การสื่อความหมายโดยการใช้เสียง ท่าทาง ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความต้องการจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง
มารยาทการพูด
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะสม
- มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
- หากพูดแบบเป็นทางการ ควรเตรียมตัวให้พร้อม เช่น มีการเตรียมเรื่องที่ใช้พูด มีการซักซ้อมการพูด
- ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง เหมาะสม
- ใช้คำพูดที่สุภาพไม่หยาบคาย
- ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด
- ไม่พูดข่มขู่หรือโอ้อวดตน
- ไม่พูดแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่
- ไม่พูดยืดยาวนอกประเด็นหรือวกวน
- มีสติ คิดก่อนพูด
- ไม่โต้เถียง คัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล
- ขณะที่พูดควรมองหน้าสบตาผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องตั้งใจฟังคำพูดของผู้อื่น
กิจกรรมสุดท้าย ครูให้นักเรียนดูรูปภาพ และอ่่านให้นักเรียนฟัง
เมื่อนักเรียนฟังครูอ่านแล้ว ครูถามนักเรียนต่อว่า
นักเรียนคิดว่่าคำพูดไหน ที่น่าฟังระหว่างประโยคแรกกับประโยคที่สอง
นักเรียนก็ต่างตอบกันไป ว่าประโยคไหน
ทีนี้ นักเรียนก็จะเห็นความสำคัญว่า การที่เรามีมารยาทที่ดี จะส่งผลต่อคนรอบข้าง และเป็นนิสัยที่น่ารักตลอดไป
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!