แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรื่องจากภาพ
ชั้นประถมศึกษาปรที่ 6
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
๑.ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพต่างๆ ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียนแล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม ตัวอย่างคำถาม
- จากภาพนี้นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง
- นักเรียนเห็นอะไรบ้างในภาพนี้
- เห็นคุณธรรมความดีอะไรบ้างในภาพนี้
- มีอะไรที่ไม่ถูกต้องในภาพนี้หรือไม่
๒.ครูสังเกตนักเรียนว่านักเรียนสามารถตอบคำถามได้หรือไม่
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๓.ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเรื่อง การเขียนเรื่องจากภาพ การเขียนเรื่องจากภาพ หมายถึง เป็นการบอกเล่าเรื่องราวเพื่อถ่ายทอด
ความคิดจากภาพโดยใช้ประสบการณ์และ จินตนาการของผู้เขียน
องค์ประกอบของการเขียนเรื่องจากภาพ
- มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
- มีแนวคิดสำคัญตรงกับภาพ
- มีตัวละครและการเคลื่อนไหวของตัวละคร
- มีการเชื่อมโยงความคิด
แนวทางการเขียนเรื่องจากภาพใช้ ๕W๑H
๑.ใคร (Who) ตัวละครประกอบด้วยใครบ้าง
๒.ทำอะไร (What) ตัวละครทำอะไรบ้าง
๓.ที่ไหน (Where) เหตุการณ์เกิดที่ไหน
๔.เมื่อไหร่ (When) เหตุการณ์เกิดขึ้นเวลาใด
๕.อย่างไร (How) เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
ข้อเสนอแนะในการเขียนเรื่องจากภาพ
๑.สังเกตภาพอย่างถี่ถ้วน
๒.หาคำสำคัญจากภาพ นำมาแต่งประโยคเรียบเรียง
๓.นำข้อความที่ได้มาเรียบเรียงใหม่
๔.ตรวจสอบการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
๔.ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างการเขียนเรื่องจากภาพพร้อมตั้งคำถามดังนี้
- จากภาพนี้นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง
- นักเรียนเห็นอะไร เขาทำอะไร เกิดที่ไหน เมื่อไร อย่างไร บ้างในภาพนี้
- เห็นคุณธรรมความดีอะไรบ้างในภาพนี้
- มีอะไรที่ไม่ถูกต้องในภาพนี้หรือไม่
๕.ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนและแจกบัตรภาพให้นักเรียนได้ช่วยกันเขียนเรื่องจากภาพที่ได้
บัตรภาพ
พร้อมคิดต่อว่ารูปภาพที่กลุ่มได้มีคุณธรรมความดีอะไรบ้างในภาพ เสร็จแล้วออกมานำเสนอหน้าห้อง
ตัวอย่างใบงานกลุ่ม
๖.ครูให้นักเรียนที่เหลือช่วยกันคิดว่า เรื่องที่เพื่อนๆนำเสนอ นักเรียนคิดเห็นอย่างไรบ้าง อยากเพิ่มเติม ในส่วนไหนบ้าง เพื่อให้สมบูรณ์ นักเรียนเห็นคุณธรรมความดีอะไรบ้างที่นอกเหนือจากที่เพื่อนๆนำเสนอ
ขั้นสรุป
๗.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ดังนี้ การเขียนเรื่องจากภาพ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวเพื่อถ่ายทอด ความคิดจากภาพโดยใช้ประสบการณ์และจินตนาการของผู้เขียน โดยมีการสอดแทรกคุณธรรมความดีในภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนกวาดขยะ ช่วยเพื่อนทำเวรประจำวัน ช่วยครูถือของ ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน และอื่นๆ ล่วงแล้วเป็นคุณธรรมความดี การมีจิตสาธารณะทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเป็นคุณะรรมความดีเรื่องความสามัคคี ความกตัญญูกตเวที การเป็นคนดี ที่มีอยู่ในตัวเด็กๆอยู่แล้ว
ขั้นนำไปใช้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
- บัตรภาพ ต่างๆ
- หนังสือเรียน ภาษาไทย : หลักภาษาและการใช้ภาษา ป.๖
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
- ตรวจใบงาน/ใบงาน
- สังเกตความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ จิตอาสา และความสามัคคี
เครื่องมือวัดและประเมินผล
- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
- แบบประเมินใบงาน
- แบบประเมินการมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ จิตอาสา และความสามัคคี
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
- คุณภาพอยู่ในระดับดี ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
- ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!