inskru
gift-close
insKru Selected

มาหาลายนิ้วมือแฝงในทองแดงกันเถอะ

3
3
ภาพประกอบไอเดีย มาหาลายนิ้วมือแฝงในทองแดงกันเถอะ

ลายนิ้วมือ (Fingerprint)

เปรียบเสมือนสิ่งที่ระบุตัวตนของเราได้ดีที่สุด นับเป็นความมหัศจรรย์ที่ว่า 8,000 ล้านคนทั่วโลก แม้บางคนจะหน้าคล้ายคลึงกัน นิสัยเหมือนกัน หรืออาจจะเป็นฝาแฝดกัน

แต่สิ่งเดียวที่ไม่มีใครเหมือนกันเลยสักคนบนโลกนี้ นั่นคือ "ลายนิ้วมือ"


ด้วยเหตุนี้ ลายนิ้วมือจึงถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งในด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เช่น การสแกนลายนิ้วมือผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ หรืออาจนำลายนิ้วมือไปใช้เพื่อประโยชน์ด้านอาชญวิทยา เช่น การหาลายนิ้วมือของอาชญากร ซึ่งลายนิ้วมือนั้นก็จะมีทั้งลายนิ้วมือที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และลายนิ้วมือแฝง (ลายนิ้วมือที่ไม่สามารถมองเห็นได้) โดยการหาลายนิ้วมือแฝงนั้นมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่น การใช้ฝุ่นผงเคมี, การใช้กระดาษปะรอยแฝงลายนิ้วมือ, การใช้กาว เป็นต้น ด้วยความที่ครูเรียนเคมีมา แน่นอนว่าจะได้เรียนวิชา forensic chemistry ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเคมีเพื่อการวิเคราะห์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ และมันสนุกมากกกกกกกก เลยคิดว่าสักวันต้องมีโอกาสได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา เอามาประยุกต์กับการสอนในห้องเรียน


พอได้มาสอนจริง เอาล่ะ... จะเอาเรื่องนิติวิทยาศาสตร์มายัดใส่ในหน่วยการเรียนรู้ไหนในรายวิชาเคมีดี T_T ช่วงปิดเทอมได้ไปนั่งเตรียมการสอนของเคมี ม.5 เทอม 2 ซึ่งมี 2 หน่วยการเรียนรู้คือ กรด-เบส และไฟฟ้าเคมี ก็เลยเกิดปึ๊งไอเดียตอนเตรียมการทดลอง เรื่อง การชุบโลหะโดยใช้เซลล์อิเล็กโทรไลต์ ว่า เห้ย! ทำการทดลองชุบโลหะมันธรรมดาไปป่าว ก็เลยไปคิดถึงการวิเคราะห์หาลายนิ้วมือแฝง จึงเกิดเป็นการทดลองนี้ขึ้นมา เย้!!!!!



การวิเคราะห์หาลายนิ้วมือบนแผ่นโลหะโดยใช้เซลล์อิเล็กโทรไลต์


อุปกรณ์

  1. แผ่นทองแดง (พิมพ์ลายนิ้วมือลงบนแผ่นทองแดง)
  2. แผ่นสังกะสี
  3. สารละลายซิงค์ซัลเฟต (ZnSO4)
  4. ถ่านไฟฉายขนาด 9 V 1 ก้อน


วิธีการทดลอง

  1. นำแผ่นทองแดงที่มีลายนิ้วมือต่อเข้ากับขั้วแคโทด และต่อแผ่นสังกะสีเข้ากับขั้วแอโนดของเซลล์ไฟฟ้าเคมีโดยใช้สารละลายซิงค์ซัลเฟตเป็นอิเล็กโทรไลต์
  2. จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปภายในเซลล์โดยการต่อวงจรไฟฟ้า จากนั้นรอการเกิดปฏิกิริยา สังเกตและบันทึกผลการทดลอง


(ขออนุญาตลูก ๆ นักเรียน ที่ใช้ภาพหลุด ๆ มาแปะนะคะ 5555)


หลังจากทำการทดลองเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า แผ่นทองแดงจะมีสังกะสีมาเกาะบริเวณที่ไม่มีลายนิ้วมือ จึงทำให้เห็นลายนิ้วมือแฝงบนแผ่นโลหะทองแดง ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์หาเจ้าของลายนิ้วมือต่อไปได้



จากการทดลองนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หาลายนิ้วมือในแผ่นโลหะอื่น ๆ ได้ โดยใช้ประโยชน์จากเซลล์อิเล็กโทรไลต์ นอกจากได้ความรู้เรื่องเซลล์อิเล็กโทรไลต์แล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การหาลายนิ้วมือแฝง ได้อีกด้วย นักเรียนสนุก ครูก็แฮปปี้ =D


Ps. หวังว่าจะมีประโยชน์กับครูทุกคนนะคะ

เคมีมัธยมปลายเกมและกิจกรรมการจัดการชั้นเรียน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

3
ได้แรงบันดาลใจ
3
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
ครูเบ้น nkwit

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ