inskru
gift-close

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในรายวิชาภาษาไทย

5
3
ภาพประกอบไอเดีย การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในรายวิชาภาษาไทย
แก่นแท้ของ "โครงงาน รายงาน" คืออะไรกันแน่?

ตัวชี้วัดวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 : เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน


คุณครูคงต้องมานั่งคิดต่อว่าจะพานักเรียนไปถึงจุดไหน?

คิดหัวข้อให้นักเรียนเลย หัวข้อที่นักเรียนทำจะได้น่าสนใจ

รู้จักกระบวนการทำรูปเล่มที่สวยงาม ส่วนจะคัดลอกมาจากไหนเอาไว้ก่อน สอนไม่ทัน

หรือสอนนำเสนองานได้อย่างให้คล่องแคล่ว เพราะเป็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด ผู้บริหารเห็นจะได้ชื่นชม


คงต้องพาคุณครูคิดต่อ แล้ว เอ๊ะ! หัวใจของการเรียนรายงานโครงงานคืออะไร

ถ้าเทอมนี้นักเรียนได้เพียงกระบวนการแสวงหาความจริงโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพียงพอแล้วหรือยัง

เริ่มจากคุณครูใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ให้นักเรียนค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วคิดหานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา

1. Empathize – เข้าใจปัญหา โดยใช้เทคนิค Why Why Diagram เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำความเข้าใจปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้ากลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไขนี้เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุดให้ได้ การเข้าใจคำถามอาจเริ่มตั้งด้วยการตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาให้ถ้วนถี่ เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนให้ได้ การเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้งถูกต้องนั้นจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

2. Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฎิบัติการต่อไป รวมถึงมีแก่นยึดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง

3.Ideate – ระดมความคิด คือการนำเสนอแนวความคิดตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไม่มีกรอบจำกัด ควรระดมความคิดในหลากหลายมุมมอง หลากหลายวิธีการ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการที่เราจะนำไปประเมินผลเพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากความคิดเดียว หรือเลือกความคิดเดียว แต่เป็นการผสมผสานหลากหลายความคิดให้ออกมาเป็นแนวทางสุดท้ายที่ชัดเจนก็ได้ การระดมความคิดนี้ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างรอบด้านและละเอียดขึ้นด้วย รวมถึงหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบได้ด้วยเช่นกัน โดยในขั้นนี้สามารถโยนเทคนิคการตั้งคำถามแบบ Scamper เพื่อเสริมเสร้างนวัตกรรมได้

4. Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมขั้น Prototype นี้ก็คือการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนำไปผลิตจริง สำหรับในด้านอื่น ขั้นนี้คือการลงมือปฎิบัติหรือทดลองทำจริงตามแนวทางที่ได้เลือกแล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของปฎิบัติการที่เราต้องการจะนำไปใช้จริง

5. Test – ทดสอบ ทดลองนำต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล เสร็จแล้วก็นำเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง ซึ่งในขั้นนี้คุณครูยังพานักเรียนไปไม่ถึง เนื่องจากความเหมาะสมของช่วงวัยนักเรียนและวลาในการจัดประสบการณ์เรียนรู้อันจำกัด ครูจึงให้นักเรียนได้เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนไอเดีย เพื่อให้นักเรียนได้เห็นมุมมองของความคิดที่หลาหลาย


ท้ายที่สุดคุณครูจึงได้ตระหนักรู้ว่าโครงงาน รายงานไม่ใช่เรื่องราวของวิทยาศาสตร์ แต่เป็นกระบวนการแสวงหาความจริงโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คุณครูสอยวิชาใด ๆ ก็สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ในห้องเรียนได้ และสิ่งที่ทำคัญในการเรียนโครงงาน รายงาน คงไม่ใช่ผลลัพธ์อันสวยหรู ไม่น่าจะเป็น ชื่อโครงงาน รูปเล่มโครงงาน หรือนวัตกรรมที่ดูล้ำ ๆ หากแต่เป็นกระบวนการคิดที่ชวนนักเรียนให้มองเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล นวัตกรรมเป็นเรื่องของ "ความแตกต่าง ผู้สร้างต้องหลงใหล และนำไปใช้ได้จริง"

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    5
    ได้แรงบันดาลใจ
    3
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insThitsanu Jaroensook

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ