inskru

เทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์สำหรับครู

30
46
ภาพประกอบไอเดีย เทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์สำหรับครู

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

ที่มาจากวงสัมมนา เขียนวิทย์ให้ว้าวกับเหล่านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ สวทช. ซึ่งการเดรียนการสอนหรือการสื่อสารเนื้อหาสาระทางยวิทยาศาสตร์ หากใช้การเล่าตรงๆ ันจะไม่น่าสนใจ (กรเปรียบเทียบว่า มันแห้งเกินไป) จึงเป็นของเทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์สำหรับครูที่จะช่วยสร้างสรรค์ฺสื่อการเรียนรู้ให้ว้าวสำหรับนักเรียน นอกจากแค่ทำใบงานโล่งๆ หรือบอกให้นักเรียนไปถาม chatGPT มาตอบ

ขั้นตอน

  • เทคนิคที่ 1 Map หรือการใช้แผนที่ แผนผังเพื่อแสดงข้อมูลหรือสาระทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป ผู้รับสารจะเห็นภาพ และเกิดิดที่ถูกต้องกับสารที่เราต้องการจะสื่อ เช่น การจะสื่อสารถงภาวะวิกฤตป่าไม่ เราอาจใช้แผนทีป่าไม้ของป่ระเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป

ตัวอย่างรูปแผนที่ประเทศไทยแสดงพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลงในช่วง 20 ปี

  • เทคนิคที่ 2 Conversion of scale ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์อให้ผู้รับสารเห็นภาพสิ่งที่ีปริมาณมากเกินกว่าินตนาการได้ เช่น ระยะเวลางแต่กำเนิดเอกภพถึงปัจจุบัน อาจนำมาเสนอเป็นปฏิทิน 1 ปี เพื่อให้เห็นความยาวของเวลาหรือช่วงเวลาที่มนุษย์ได้กำเนิดมาั้นเพียงใดเมื่อเทียบกับอายุเอกภพ หรือ ระยะห่างระหว่างดาวในระบบสุริยะ กับขนาดของห้องเรียนว่าดาวแต่ละดวงอยู่ใกล้หรือไกลจากดวงอาทิตย์ขนาดไหน เป็นต้น

ตัวอย่างรูปเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะเทียบเคียงห้องเรียนขนาด 6x8 เมตร

  • เทคนิคที่ 3 Contrast เปรียบเทียบคู่ต่าง เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในยุฌดโรปสมัยเซอร์ ไอแซค นิวตัน กับปัจจุบัน เพื่อสื่อถึงวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตัวอย่างรูปการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนกับปัจจุบัน

  • เทคนิคที่ 4 Graph การใช้กราฟหรือแผนภูมิจะช่วยให้ผู้รับสารมองเห็นถึงแนวโน้มของเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ได้ชัดเจน ทั้งนี้การใช้เทคนิคนี้ทยาสาสสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางอย่าง จำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของผู้รับสารด้วย

ตัวอย่างรูปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรของอะไรบางอย่างในช่วง 5 ปี

  • เทคนิคที่ 5 Quotes จั่วหัวให้น่าสนใจ.โดยในการนำเสนอข่าวสารต่างๆ มักมีการจั่วหัวหรือใช้คำโปรยที่ทำให้ผู้รับสารสนใจ การจั่วหัวสำหรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์เราสามารถใช้การจั่วหัวจากคำถามที่ทรงพลัง หรือ คำกล่าวที่จุดประกายจากนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญก็ได้

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

หวังว่าคุณครูจะสามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอน การลำดับการนำเสนอ การปรับเทคนิคการสอนเพื่อให้เกิดการสื่อสารสาระความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อสำหรับนักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นครับ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    30
    ได้แรงบันดาลใจ
    46
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insครูปอนด์
    สอนฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และวิชาชีวิต

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ