inskru
gift-close

ใบงานความรู้ตามรอยศรัทธาสู่สถาปัตยกรรมแห่งสุโขทัย

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ใบงานความรู้ตามรอยศรัทธาสู่สถาปัตยกรรมแห่งสุโขทัย
มาย้อนรอยประวัติศาสตร์ไทยแบบพอสังเขป เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย ในหัวข้อภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรม กันนน 1. สถาปัตยกรรม เจดีย์แบบสุโขทัย เป็นเจดีย์แบบใหม่ซึ่งไม่มีที่ใดเหมือน เช่น เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ช่างสุโขทัยนำลักษณะบางประการมาจากปราสาทแบบขอม และบางลักษณะของเจดีย์แบบพม่าสมัยเมืองพุกาม นำมาปรับปรุงอย่างเหมาะสมพอดี จนเป็นเจดีย์แบบใหม่ เจดีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราสาทแบบขอมโดยตรงที่มีให้เห็น เช่น เจดีย์ทรงปราสาทประเภทเรือนชั้น หมายถึง ชั้นลดหลั่นเหนือเรือนธาตุ ชุดชั้นที่ลดหลั่นกันนี้เป็นชั้นสมมติโดยจำลองมาจากเรือนธาตุ ได้แก่ เจดีย์ประจำทิศตะวันออกของพระศรีมหาธาตุ วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ยังมี เจดีย์ทรงปราสาทยอด ที่ผนวกกับศิลปะล้านนา เจดีย์ได้รับอิทธิพลศิลปะลังกา มีฐานสี่เหลี่ยมยกสูง เช่น เจดีย์ช้างล้อม ที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่มาของชื่อ เจดีย์ช้างล้อม สำหรับอาคารที่รียกว่า มณฑป เป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลง หลังคาจะใช้ศิลาแลงเรียงซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุดที่ไปบรรจบกัน ทรงอาคารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีหลังคาเป็นชั้นแหลมลดหลั่นกันไปถึงยอดทำเป็นชั้นประมาณ 3 ชั้น มีทั้งแบบที่มีผนังและแบบมีโถง เข่น มณฑปวัดศรีชุม เป็นต้น วิหารทำเป็นกำแพงทึบแล้วเจาะหน้าต่างเป็นช่องเล็ก ๆ มีลูกกรงทำด้วยอิฐหรือดินเผาปั้นเป็นลูกแก้วกั้น เพื่อให้แสงลอดเข้าไป อุโบสถสมัยสุโขทัยแทบทุกหลังจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยโครงสร้างศิลาแลงฉาบปูน โครงสร้างหลังคานิยมเรียงด้วยก้อนศิลาเหลี่ยมซ้อนกันเป็นรูปกลับบัว หรือเรียงตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เป็นทรงยอดมณฑป นอกจากนี้ก็มีโบสถ์ที่มีโครงสร้างเป็นไม้แบบศาลาโถง มีหลังคาปีกนกคลุมต่ำ ไม่มีบานหน้าต่าง แต่เจาะผนังเป็นลูกกรงประดับด้วยปูนปั้น 2. ประติมากรรม พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยเป็นไปตามแบบแผนของชาวพุทธศาสนาเถรวาท ถ่ายทอดผ่านรูปทรงอันเกิดจากสัดส่วน เส้นนอก และปริมาตรซึ่งประสานกลมกลืนกันอย่างเรียบง่าย ส่วนศาสนาฮินดูมีด้วยแต่มีอยู่น้อยด้วยสุนทรียภาพไม่แตกต่างจากพระพุทธรูป พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยคือพระสี่อิริยาบถ พระพิมพ์ในสมัยสุโขทัยทำด้วยดินเผาและโลหะ ยังนิยมสร้างพระพุทธบาทด้วย มีทั้งทำด้วยศิลาและสัมฤทธิ์ ประติมากรรมสมัยสุโขทัย เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรี การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้ มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่ เรียกกันว่า แบบวัดตะกวน เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน มีพระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกาย และชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน ยุคที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูป จนก่อรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดใดก็ตาม จะปั้นด้วยปูน หรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่าง ๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอ และพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่ กว้าง พระถันโปน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาททำแบบธรรมชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย พระพักตร์พระพุทธชินราช (ซ้าย) เเละพระพุทธชินสีห์ (ขวา) ยุคที่ 3 มีความประณีต ดูเสมือนมีระเบียบ และกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว ตัวอย่างพระพุทธรูปยุคนี้เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี ด้านความเชื่อ ตุ๊กตาหลอกผีตามความเชื่อโบราณ หมายถึงตุ๊กตาที่ใส่กระทง กาบกล้วยพร้อมทั้งเครื่องเช่นผี อย่างดอกไม้ ธูป เทียน ของคาว หวาน แล้วนำไปวางไว้ที่ทางแยก ทางสามแพร่ง หรือนำไปลอยน้ำแล้วต่อยหัวตุ๊กตาออก ทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สร้างขึ้นจากดินเหนียวปั้น เป็นรูปผู้ชาย ผู้หญิงตัวเล็กๆ ในอิริยาบถต่างๆ ใช้เป็นตัวแทน เพื่อปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และอันตราย ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือญาติพี่น้อง ในประเทศไทยพิธีกรรมและความเชื่อเรื่อง ตุ๊กตาเสียกบาล ยังมีสืบทอดกันมาในหลายพื้นที่ เช่น งานทำบุญซึ่งจัดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ หรือในบางพื้นที่ ก็ยังคงมีพิธีกรรมเสียกบาล เป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยจะปั้นตุ๊กตาดินเหนียวเป็นรูปคนเท่ากับจำนวนคนในครอบครัวตามเพศของคนในครอบครัว รวมจนถึงสัตว์เลี้ยงที่มีด้วย ทำพิธีตรงทางสามแพร่ง เมื่อทำพิธีแล้ว ก็จะหักคอ หักแขน หักขาตุ๊กตานั้นเสีย หรือการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาแบบโบราณด้วยตุ๊กตาเสียกบาล ที่สืบทอดความเชื่อมาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมท้ายบทเรียน ใบงานความรู้สำหรับรายวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยศึกษาปีที่ 1 สามารถนำไปประยุกค์ใช้ในชั้นเรียน เน้นไปที่เรื่องสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และความเขื่อในสมัยสุโขทัย โดยมีรูปภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการคิด วิเคราะห์ ตามความเข้าใจ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    มัธยมต้นใบงานความรู็เติมความรู้ทบทวนบทเรียน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Kanjana Tantakanon

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ