inskru
gift-close

ห้องเรียนแสนดี (Classroom Harmony)

4
5
ภาพประกอบไอเดีย ห้องเรียนแสนดี (Classroom Harmony)

นวัตกรรมประเภทบอร์ดเกม “ห้องเรียนแสนดี (Classroom Harmony)”

1. Concept

การออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมมารยาทในห้องเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1–ป.3) ผ่านสถานการณ์สมมติ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและตระหนักถึงมารยาทที่เหมาะสมในห้องเรียน

สภาพปัญหาที่เป็นที่มา ครูมักใช้วิธีแจ้งกฎหรือว่ากล่าวเมื่อนักเรียนประพฤติไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความเข้าใจและไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

จุดเน้นการพัฒนา สร้างเกมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง มีระบบโต้แย้งเชิงสร้างสรรค์ (Challenge) การลงคะแนน การสวมบทบาทและผลลัพธ์เชิงพฤติกรรม

แรงบันดาลใจ บอร์ดเกมเชิงการศึกษาที่ใช้การตัดสินใจทางศีลธรรมและการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ เช่น "The Voting Game" และ "Social Scenario Cards" โดยปรับให้เหมาะกับบริบทนักเรียนไทย

2. Design

รูปแบบ ชุดกิจกรรม

ผู้ใช้ ครูใช้ในห้องเรียนได้ในทุกกลุ่มสาระ

อุปกรณ์

  1. กระดานเกม
  2. การ์ดสถานการณ์
  3. การ์ดผลลัพธ์
  4. การ์ดตัวเลือก (A, B, C)
  5. การ์ด Challenge
  6. การ์ดโหวต (เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย)
  7. กระดานคะแนน
  8. เหรียญคะแนน
  9. การ์ดสถานการณ์ไม่มีตัวเลือก
  10. คู่มือการใช้งาน

แนวทางการใช้งาน ใช้ในกิจกรรมกลุ่มหรือเดี่ยว สามารถปรับจำนวนผู้เล่นได้ไม่เกิน 15 คน

3. Function

  • Self-directed learning ผ่านการคิดและเลือกแนวทางด้วยตนเอง
  • Experiential learning ผ่านสถานการณ์จำลอง
  • Positive reinforcement ด้วยเหรียญรางวัล

4. Strength

จุดเด่น นักเรียนเรียนรู้เรื่องมารยาทในห้องเรียนจากสถานการณ์ใกล้ตัว

ความใหม่ การที่นักเรียนได้เสนอการแก้ปัญหาของตนเองอย่างอิสระ

5. Result

จากการที่ได้ทดลองใช้นวัตกรรมที่โรงเรียนวัดสนามจันทร์ กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 13 คน พบว่านักเรียนกล้าแสดงออก คิดเป็น ให้เหตุผลได้ และเข้าใจการอยู่ร่วมกันมากขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะชีวิตอย่างยั่งยืน

รายละเอียดของรายวิชา

ผลงานนวัตกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2718333 นวัตกรรมการสอนในระดับ

ประถมศึกษา ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2567

คณะผู้จัดทำ

1. น.ส.พรรณพร พระฉาย

2. นายณัฐชัย สิทธิขำ

3. น.ส.ณัฐิดา ถารัตน์

4. น.ส.แสงอรุณ แก้วทอง

5. น.ส.ปทิตตา นิลประภา

นิสิตคณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาประถมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณ ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนโรงเรียนวัดสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

*ลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้ามดัดแปลง ทำซ้ำ เผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาต*

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

4
ได้แรงบันดาลใจ
5
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Sunday

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ