1. AI Hacks for Teachers: Work Less, Impact More เคล็ดลับใช้ AI สำหรับคุณครู ลดงาน เพิ่มพลังการสอน
ส่วนนี้เป็นเหมือนการเปิดจักรวาล AI เยอะมาก ๆ รู้สึกว่าที่รู้อยู่แล้วคือน้อยไปเลย 5555555 ต้องลองกลับไปศึกษาเยอะ ๆ และลองใช้ดู มีหลายตัวที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเราและนักเรียนด้วย เสียดายที่เวลาน้อยเลยไม่ค่อยได้ทดลองเล่นในช่วงกิจกรรม ต้องกลับมาลองเล่นเองที่บ้าน
2. InYouniversal เปิดจักรวาลภายใน เพื่อเชื่อมโยงกับนักเรียนได้มากขึ้น
เป็นกิจกรรมที่ได้กลับมาอยู่กับตัวเองจริง ๆ ได้ย้อนกลับไปคิดถึงสมัยที่ยังเป็นเด็กมัธยมผ่านการคิดทบทวนเรื่องราวที่ยังจำได้ดี 3 เรื่องราวเด่น ๆ ได้เขียนมันออกมาผ่านกระดาษ Post-it 3 แผ่น และเรารู้สึก/คิด/ทำอะไรในเหตุการณ์นั้นลงในกระดาษ Post-it อีก 3 แผ่น จากนั้นจับกลุ่มผลัดกันเล่าเหตุการณ์ให้เพื่อนในวงฟังจนครบวง หลังจากนั้นเราก็มอบคำพูดที่จะเป็นของขวัญให้กับเรื่องราวเหล่านั้นให้ทุกคนในวงผ่านกระดาษ Post-it และเล่านิดนึงว่าทำไมถึงมอบคำพูดแบบนั้น สุดท้ายเราก็กลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้งด้วยการเลือกหินที่ดึงดูดเราและวาดสัญลักษณ์ประจำตัวของเราลงในกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ระบายสีตกแต่งออกมาสไตล์เรา อ้อ ตอนช่วงเริ่มกิจกรรมเราจะได้เลือกดอกไม้ที่เป็นตัวแทนความรู้สึกของเรา ณ ช่วงเวลานั้น แล้วได้จับกลุ่มผลัดกันเล่ากับเพื่อนด้วยนะคิดว่าน่าจะสามารถนำไปออกแบบกิจกรรมเพื่อทำความรู้จักกับนักเรียนได้
3. วิชาเรียนรู้การเงินฉบับพกพาด้วยบอร์ดเกม “Wishlist จัดสรรการเงินเติมความฝัน”
ได้ลองเล่นบอร์ดเกม Wishlist จัดสรรการเงินเติมความฝัน เสียดายที่เวลาน้อยไปนิดนึง อยากเล่นให้จบ เพราะมันคาใจ 5555555 แต่ในวงนี่เล่นได้ที่ 2 เลยนะ อวดนิดนึง 555555 แต่สิ่งสำคัญที่ได้ตระหนักเลยคือบอร์ดเกมนี้ (รวมถึงบอร์ดเกมอื่น ๆ) เป็นสิ่งที่จำลองประสบการณ์ของจริงมาให้นักเรียนได้สัมผัส ผิดพลาดในเกมได้ เพื่ออย่างน้อยเราหวังว่านักเรียนจะไม่ผิดพลาดในชีวิตจริง ที่สำคัญคือเราต้องมีกระบวนการให้นักเรียนได้สะท้อนความรู้สึกและความคิดออกมาผ่านการตั้งคำถามของครู เช่น เล่นแล้วรู้สึกอย่างไร ทำไมถึงรู้สึกแบบนั้น เราได้ทำอะไรในเกมบ้าง ทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น ถ้ากลับไปเล่นได้อีกรอบ จะแก้ไขอะไรเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเล่น ถ้าเราต้องหยิบสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในเกมไปใช้ในชีวิตจริง เราจะหยิบเอาอะไรไปใช้บ้าง คำถามท้าย ๆ นี้จะเห็นว่ามันเริ่มต้องคิดวิเคราะห์มากขึ้นเป็นคำถามที่ตอบยากมาก ถ้าไม่ได้สะท้อนผ่านคำถามก่อนหน้านี้ ต้องค่อย ๆ ไล่ทีละขั้น อีกอย่างนึงที่ได้คือเราไม่ต้องคาดหวังว่าเราจะเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนได้อย่างยิ่งใหญ่ภายในไม่กี่คาบเรียนหรือภายใน 1 เทอม การเปลี่ยนแค่เล็ก ๆ ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนใหญ่ ๆ ในระยะยาวได้ บอร์ดเกมนี้เหมาะเอาไปใช้ในห้องเรียนการเงินมาก ๆ
4. PLC : ครูช่างเชื่อม เป็นยังไงเมื่อนำสถานการณ์ปัจจุบันมา xกับบทเรียน
เป็นกิจกรรมที่ชอบที่สุดในบรรดากิจกรรมทั้งหมดแล้วทำให้เราเปิดมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวว่าประเด็นหรือกระแสที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเราหรือรอบตัวนักเรียนสามารถหยิบจับมาเชื่อมโยงกับบทเรียนได้หลากหลายจริง ๆ ผ่านการเรียนรู้ในฐานกิจกรรม 5 ฐาน ซึ่งมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการดึงสถานการณ์หรือกระแสมาใช้ในบทเรียน ได้เห็นตัวอย่างที่หลากหลาย แล้วก็ได้ถ่ายรูปกับครูนัทที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรากล้าที่จะคิดบอร์ดเกมและสิ่งต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับการสอนนักเรียน ต่อไปนี้จะพิมพ์สิ่งที่คิดได้ตอนทำกิจกรรมช่วงนั้น ซึ่งน่าจะได้หยิบจับไปใช้ในการออกแบบบทเรียน
5. Demo Class : ห้องเรียนสนุกคิด เด็กปล่อยของ (รอบมัธยม)
เป็นห้องที่ทำให้เราได้เห็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองของนักเรียนหรือ Constructivism ในมุมมองที่หลากหลายผ่านการเป็นนักเรียนในห้องเรียนเคมีและภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญคือคำถามประกอบที่จะนำพาให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์จนสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้และกระบวนการสะท้อนคิดในชั้นเรียนที่จะทำให้ทุกคนได้สรุปองค์ความรู้ร่วมกัน แต่ยอมรับว่าการจะทำแบบนี้ได้ ครูต้องใช้เวลาในการเตรียมเยอะมาก ๆ ด้วยภาระงานนอกเหนือจากการสอนที่มีมากมาย อย่างน้อยในความคิดเห็นส่วนตัวลองทำกระบวนการนี้ให้เกิดขึ้นได้เทอมละครั้งหรือเดือนละครั้งก็ยังดี
6. PLC : ครูเกลาใจ โฮมรูมยังไงให้ใจฟู ทั้งครูและนักเรียน
นี่ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้เราได้เปิดมุมมองและได้เทคนิคใหม่ ๆ ที่หลายอันก็ไม่ได้คิดมาก่อนเลยว่ามันทำง่ายมาก ๆ แทบไม่ต้องเตรียมอะไรเลยสิ่งที่ได้เรียนรู้และอยากจะลองหยิบไปใช้
7. Growth Mindset & Fixed Mindset
เป็นกิจกรรมเกมการ์ดที่จะได้รู้จักกับแนวคิดของกรอบความคิดแบบเติบโตและกรอบความคิดแบบตายตัวผ่านการแลกเปลี่ยนภายในวงสนทนา มีการ์ด 3 แบบ ได้แก่ การ์ดความรู้ที่จะได้ไปคนละใบไม่เหมือนกัน เมื่ออ่านจบก็สะท้อนความคิดว่ากรอบความคิดแต่ละแบบเป็นยังไง การ์ดทดสอบที่จะมีประเด็นคำถามให้เราตอบว่าใช่/จริงหรือไม่ใช่/เท็จ เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องกรอบแนวคิดทั้ง 2 แบบ รวมถึงสะท้อนออกมาด้วยว่าทำไมถึงคิดแบบนั้น และการ์ดสถานการณ์ที่จะให้คนในวงจำลองว่าตัวเองที่มี Fixed Mindset จะพูดหรือโต้ตอบในสถานการณ์นี้อย่างไร และฝั่งที่เป็น Growth Mindset จะพูดหรือโต้ตอบในสถานการณ์นี้อย่างไร เหมาะนำไปใช้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับนักเรียนมาก ๆ เช่น ในคาบโฮมรูม พอ Workshop เสร็จก็ได้การ์ดมา 1 Set
8. การ์ด Kru Fill
กติกาง่าย ๆ คือแท็กเพื่อนใน Comment แล้วพาเพื่อนมางานให้ได้ (แต่พาเพื่อนมางานได้นี่ถือว่ายากนะ แม้กติกาจะดูง่าย 55555) ก็ได้รับของขวัญเป็นการ์ด Kru Fill ที่ใช้ในกรเปิดบทสนทนาในวงครู พูดคุยแบบ Deep Talk มีหลายใบมาก ๆ คำถามดีมาก ๆ เช่น “การได้มาเป็นครูทำให้ค้นพบเรื่องดี ๆ อะไรในตัวเองบ้าง” หากมีโอกาสจะลองเอาไปใช้คุยกับเพื่อน ๆ ดู
9. การพบเพื่อน/รุ่นน้อง/รุ่นพี่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย
เหมือนเป็นงานรวมรุ่นยังไงก็ไม่รู้ 555555 มีความสุขมาก ๆ ได้เม้า ได้คุยกัน ได้กินข้าว ได้ทำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน
สุดท้ายทุกกิจกรรม ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในงานล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เรามีพลังใจก่อนจะเปิดเทอมได้มาก ๆ เลย
ขอให้เราได้ Keep ครู Stay ครูกันนะครับ😊
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!