inskru
insKru Selected

ศัพท์น่ารู้ลิลิตตะเลงพ่าย

7
5
ภาพประกอบไอเดีย ศัพท์น่ารู้ลิลิตตะเลงพ่าย

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

ในการสอนวรรณคดีและวรรณกรรม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในสิ่งที่ต้องสอน คือบทอาขยานบทหลักจากเรื่อง ซึ่งความยากของงานเขียนประเภทร้อยกรองคือการถอดคำประพันธ์และความยากยิ่งกว่าของการถอดคำประพันธ์ในวรรณคดีไทยคือคำศัพท์ยากที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะคุ้นหูคุ้นตากันสักเท่าไหร่ แล้วจะสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์ยากได้อย่างไรโดยที่ครูอย่างเราไม่ต้องขึ้นสไลด์คำศัพท์ยากพร้อมความหมายบนหน้าจอทีวีแล้วพาเรียนแบบท่องจำ?

เกมจับคู่คำศัพท์น่ารู้จากลิลิตตะเลงพ่ายมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

1.   นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ยากจากวรรณคดีโดยการศึกษาด้วยตนเอง

2.   นักเรียนได้ทบทวนความรู้โดยใช้สิ่งที่ตนเองเคยศึกษามาแบ่งปันกับเพื่อนผ่านการเล่นเกมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

ป.ล. ไอเดียนี้คิดค้นขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่านักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีหากเป็นสิ่งที่เขาสนใจและลงมือค้นหาคำตอบเอง ^^

ขั้นตอน

ขั้นเตรียมอุปกรณ์

  1. ครูพรินต์ชุดเกมออกมาโดยใช้กระดาษแข็ง (แนะนำเป็นกระดาษการ์ดความหนา 120 - 150 แกรม)
  2. ตัดชิ้นส่วนคำศัพท์และความหมายแยกออกจากกันพร้อมทั้งสลับลำดับให้เรียบร้อยแล้วใช้คลิปหนีบแยกเป็นชุด ๆ 1 ชุดเหมาะกับนักเรียนจำนวน 4 - 6 คน

ขั้นสอน (2 คาบ)

คาบเรียนที่ 1

  1. ครูให้นักเรียนดูบทอาขยานบทหลักของเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายจากหนังสือเรียน พร้อมทั้งพาอ่าน 1 รอบ
  2. สุ่มถามคำศัพท์สามคำแล้วให้นักเรียนในห้องช่วยกันเดาคำตอบจากบริบท
  3. ครูพูดถึงความสำคัญเพราะเหตุใดเราจึงควรเรียนรู้คำศัพท์ยากจาก (เพื่อให้เข้าใจความหมายคำศัพท์และง่ายต่อการถอดคำประพันธ์)
  4. มอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนเลือกคำศัพท์ยากจากตัวบทที่คิดว่าตนเองไม่รู้และไม่สามารถแปลได้ คนละ 15 คำ เขียนลงสมุดพร้อมทั้งหาความหมายโดยการสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
  5. 10 นาทีก่อนหมดคาบเรียน ครูถอดคำประพันธ์ให้นักเรียนฟัง
  6. แจ้งนักเรียนว่าคาบหน้าจะพาเล่นเกมทบทวนความรู้เรื่องความหมายของคำศัพท์


คาบเรียนที่ 2

  1. ครูแจ้งกติกาการเล่นเกม (นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-6 คน เขียนชื่อสมาชิกในกลุ่มลงในกระดาษเปล่าให้เรียบร้อย, นักเรียนในกลุ่มช่วยกันจับคู่คำศัพท์-ความหมายให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด 10 นาทีโดยประมาณหรือตามความเหมาะสม, จับคู่โดยการวางเรียงบนโต๊ะ, ห้ามแอบดูกลุ่มตรงข้าง ๆ , กลุ่มไหนได้คะแนนสูงสุดของห้องจะมีคะแนนพิเศษให้)
  2. เริ่มเกมโดยครูให้สัญญาณ (ส่วนตัวใช้วิธีเปิดเพลง ตำนานช้าง ost.ก้านกล้วย https://www.youtube.com/watch?v=2VrpfCX2SCM จาก youtube 5 รอบ ดาวโหลแบบออฟไลน์ไว้ใช้) ระหว่างเกมดำเนินไปครูเดินดูและให้กำลังใจนักเรียนแต่ละกลุ่มได้
  3. เมื่อหมดเวลา ครูเดินถ่ายรูปผลงานนักเรียนแต่ละกลุ่มไว้เพื่อตรวจและแจ้งผลคะแนนในภายหลัง (เอาเข้าไปตรวจในแอป Goodnotes) จากนั้นให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์เกมให้เรียบร้อย
  4. ครูเฉลยตอบ

ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

จากที่สังเกตจะเห็นว่านักเรียนกระตือรือร้นในการหาศัพท์ที่ตนเองไม่รู้ความหมาย อีกทั้งยังได้ฝึกใช้เทคโนโลยีสืบค้นข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ และในตอนเล่นเกมนักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี นักเรียนได้มีส่วนร่วมทุกคน ฝึกการมีปฏิสัมพันธ์การแบ่งปันความรู้ และการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

  1. ปรับใช้กับการสอนคำศัพท์ยากจากวรรณคดีได้ทุกเรื่อง
  2. หากมีเวลา สามารถทำบัตรคำศัพท์-ความหมายให้สวยงามน่าสนได้มากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มรูป
  3. หากมีทรัพยากรเพียงพอ เพื่อความเเข็งแรงทนทานของชุดเกมสามารถเคลือบเพื่อให้ใช้งานได้หลายห้องเเละเก็บไว้ใช้ในปีถัด ๆ ไปได้

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยประถมมัธยมต้นมัธยมปลายเกมและกิจกรรมตัวช่วยครูทบทวนบทเรียนสื่อทำมือและอุปกรณ์ทักษะการร่วมมือทักษะการสื่อสารวรรณคดีและวรรณกรรม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    7
    ได้แรงบันดาลใจ
    5
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูมะลิ

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ