ไม่มีเนื้อหาไหนของชีววิทยาที่เหมาะกับการดวลวาทะกันเท่ากับเรื่อง “ชีวจริยธรรม” อีกแล้ว
เพราะเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า “เรื่องนี้ เถียงสนุก”
เราซุ่มอ่านไอเดียแนวนี้ของคุณครูหลาย ๆ ท่านมานานแรมปี ไม่กล้าหยิบมาใช้สักที เพราะใจนึงกลัวเด็ก ๆ ที่พึ่งขึ้น ม.4 จะทำไม่ถึงกึ๋น เพราะยังเหนียมอายกับการพูด แถมเนื้อหานี้ก็อยู่ต้น ๆ เทอมซะด้วย
แต่เหมือนฟ้าจะเข้าข้างเพราะวิเคราะห์ผู้เรียนดูแล้ว เด็ก ม.4 ปีนี้เหมาะกับกิจกรรมอะไรแบบนี้ที่สุด ช่างพูดช่างเจรจาและมีวาทศิลป์เต็มล้าน (ดูจากการต่อรองเพื่อเลื่อนส่งงานอะนะ555) ไอเดียนี้ที่เคยได้เห็นก็ผุดขึ้นมาในหัว เลยจัดดูสักหน่อย
เลยเกิดเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ (แน่นะวิ) ที่ชื่อว่า “Bioebate: ชีวะวาทะเดือด” ขึ้น (Bioebate มาจากคำว่า Bio+Debate)
1. เริ่มต้นเราอธิบายกติกาโต้วาทีคร่าว ๆ ว่าฝ่ายไหนมีหน้าที่อะไร ช่วงเวลาแต่ละช่วงเป็นยังไง ใครควรพูดแนวไหนบ้าง เรื่องกติกาเรายืดหยุ่นพอสมควร เพราะถ้าเอาตามหลักการโต้วาทีจริง ๆ รายละเอียดค่อนข้างเยอะ (เช่น เราตัดช่วงการค้านระหว่างที่อีกฝ่ายกำลังพูดออกไปเพราะน่าจะมีปัญหาเรื่องการจับเวลา)
2. กำหนดคู่โต้วาที โดยเรามีกลุ่มของเด็ก ๆ 6 กลุ่มอยู่แล้วเลยจุดออกเป็น 3 คู่
3. เรากำหนดญัตติที่ประเมินแล้วคิดว่าน่าจะสนุก และครอบคลุมเนื้อหา “ชีวจริธรรม” มากที่สุด คิด ๆ + ได้แรงบันดาลใจออกมาไฟนอล 3 ญัตติคือ
-การทดลองด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรไมตรีกว่าการทดลองในสัตว์ (G1-G4)
-พืชธรรมชาตินั้นแสนโก้ดีกว่าพืช GMOตั้งเยอะ (G2-G5)
-ตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อมทำแท้งดีกว่าปล่อยให้ท้องป่อง (G3-G6)
4. ให้แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันคือ ผู้พูด 3 คน ,พิธีกร 1 คน ,คนจับเวลา 1 คน และคนจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โดยในกิจกรรมนี้เราให้นักเรียนดำเนินการเองตั้งแต่ต้นจนจบเอง เพื่อฝึกการวางแผนและให้เวลาในการจัดเตรียมเนื้อหา 1 สัปดาห์
โดยผลงานการออกแบบโปสเตอร์ของนักเรียนก็จะเป็นในแนว ๆ นี้
โดยกิจกรรมนี้เราได้เชิญคุณครูภาษาไทยเพื่อมาให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการพูด และเพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจกรรม รวมถึงให้นักเรียนได้ทำอย่างเต็มที่เพราะมีการใช้คะแนนบูรณาการกับรายวิชาภาษาไทยอีกด้วย
ผลได้ที่คือ
-นักเรียนสนุกกับการได้แสดงความคิดเห็นอาจมีบางคนที่ตื่นเต้นไปบ้างจนรน แต่ก็ถือว่าได้พัฒนาทักษะการพูดต่อหน้าสาธารณะ
-ได้รู้จักนักเรียนมากขึ้นก็คงเป็นข้อดีของการจัดกิจกรรมนี้ต้นเทอม เพราะเราเองก็ได้เห็นแววของนักเรียนแต่ละกลุ่มผ่านกิจกรรมที่เขาได้แสดงออก
ข้อเสนอแนะหลังการใช้
-มีนักเรียนบางส่วนที่นำข้อมูลการพูดมาจาก Ai ซึ่งในฐานะครูผู้สอน เห็นชุดเจนมาก ๆ จากการที่ยกประเด็นมาได้ครบถ้วน แต่ขาดความเข้าใจในประเด็นนั้น ๆ หากจะใช้ครั้งต่อไปอาจมีการเพิ่มเกณฑ์การให้คะแนนจากการสอบถามของผู้ฟัง (ครูและเพื่อนกลุ่ม)หลังการโต้วาที เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ + ให้ผู้พูดได้ขยายความในสิ่งที่ผู้ฟังสงสัย
ปล.เราไม่ได้ห้ามนักเรียนใช้ Aiในการสร้างสรรค์บทพูด แต่ควรให้นำหัวข้อมาไกด์ไลน์และสร้างเป็นคำพูดของตนเองมากกว่า เพื่ออรรถรสและจิกกัดได้ตรงบริบท (เพราะ Chat GPT ไม่น่ารู้จักฝ่ายตรงข้ามดีเท่าเราเองนะ :P)
ขอบคุณไอเดียจาก @bio after meals : https://inskru.com/idea/-O-1GGfOaweRQf395IVo และ @Kattalee : https://inskru.com/idea/-N5oshTFeRLRZ2nwpoWO
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!