inskru

ครูเอทีฟ Challenge_ท้าทายเด็ก ๆ ให้ใช้ AI ในการทำการบ้าน

2
1
ภาพประกอบไอเดีย ครูเอทีฟ Challenge_ท้าทายเด็ก ๆ ให้ใช้ AI ในการทำการบ้าน

“เดี๋ยวนี้เด็ก ๆ ใช้ AI ทำการบ้านมาส่ง เราจะห้ามยังไงดี”


ชวนสะท้อนคิด 💭

คุณครูอาจเป็นกังวลเรื่องเด็ก ๆ ทำการบ้านโดยใช้ AI หาคำตอบ 🤖

ทีนี้ก็กังวลแล้วสิว่าเด็กจะได้เรียนรู้จากการบ้านที่เราให้เขาไปทำหรือเปล่า

นี่อาจะเป็น Challenge จริง ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

แล้วเราป้องกันwได้ยากเลยอยากชวนครูมาเป็น ครูเอทีฟ ชาเลนจ์ โดย…


ชวนครูท้าทาย

Challenge เดือนนี้ : ท้าให้ครูชวนเด็กใช้ AI ทำการบ้าน! 

ครูอย่าเพิ่งตกใจนะเรามีวิธีแก้เกมมาชวนครูทำ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการที่เขาทำการบ้านด้วย AI

ตัวอย่างการทำกิจกรรมให้ครูลองไปทำตาม


ประมาณการณ์เวลาทดลอง Challenge

แค่ 1 คาบเรียน (แต่ใครจะทำมากกว่านั้นก็ได้นะ)


ตัวอย่างการทำกิจกรรม

ในคาบเรียนปกติเราลองให้การบ้านเด็ก ๆ แล้วบอกเขาว่า “การบ้านนี้ห้ามคิดเอง แต่ให้ทุกคนไปใช้ AI หาคำตอบ” เด็ก ๆ ก็จะฮือฮาขึ้นมานิดหน่อย (แต่ก็ให้พื้นที่ให้เขาตกใจก่อน แล้วค่อยอธิบายกติกาต่อไปหลังจากที่เขาใช้ AI ช่วยทำการบ้านนะ)

ทีนี้ในคาบต่อไปให้เด็ก ๆ ส่งการบ้านในคาบ โดยใช้การบ้านนี้แหละเป็นขั้นนำ (หรือขั้นสอนก็ได้) เข้าสู่บทเรียน

  • เริ่มด้วยให้เด็ก ๆ จับคู่กันเพื่อแลกเปลี่ยนคำตอบของการบ้านที่เขาไปหามาด้วย AI เพื่อให้เด็ก ๆ เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกัน
  • จากนั้นให้แต่ละคู่รวมกลุ่มไม่เกิน 8 คน และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาอีกครั้ง
  • แต่ละกลุ่มสรุปความเหมือน-ต่าง ของข้อมูลที่ได้มาและลงความเห็นว่าเพราะเหตุใดข้อมูลของแต่ละคนถึงแตกต่างหรือเหมือนกัน รวมถึงให้เด็ก ๆ ลองสรุปว่าคำตอบของใครกันแน่ที่ถูกต้องที่สุด จากนั้นลองเอามานำเสนอ
  • (ถ้ามีเวลา) ให้ทั้งห้องสรุปข้อมูลของคำตอบที่คิดว่าน่าจะถูกต้อง
  • คุณครูค่อยปิดท้ายสรุปข้อมูลที่ครูจะสอนให้กับเด็ก ๆ ได้เรียนรู้


แต่การบ้านที่ครูให้เด็ก ๆ ต้องโน้มน้าวให้เด็กได้ครุ่นคิดมากกว่าท่องจำถึงจะดีนะ


ตัวอย่างการบ้านที่ให้กับเด็ก ๆ

  • วิชาสังคม:  สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต ม.3 สาระการเรียนรู้ ระบบการปกครองแบบต่าง ๆ 
  • การบ้าน - ให้เด็ก ๆ ค้นหาและสรุปข้อมูลว่าระบบการปกครองแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง และอธิบายความแตกต่างของระบบการปกครองแต่ละแบบ
  • วิชาภาษาไทย:  สาระ การอ่าน ม.4-6 สาระการอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ
  • การบ้าน - ครูให้ข่าวในสื่อโซเชียลมีเดีย 1 ชิ้นที่เป็นกระแส ให้กับเด็ก ๆ และให้เด็กสรุปใจความสำคัญของข่าวนั้นภายใน 1 ประโยค (แต่ถ้าเด็ก ๆ ยังเรียนเพียงแค่เบื้องต้น ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น 1 ประโยคก็ได้นะ)
  • วิชาคณิตศาสตร์:  สาระสถิติและความน่าจะเป็น ม.6 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ 
  • การบ้าน - ครูเตรียมชุดข้อมูลรูปแบบ excel sheet โดยมีจำนวนข้อมูลมากกว่า 50 ตัวอย่าง และให้เด็ก ๆ ไปลองสรุปข้อมูลเหล่านี้ จากนั้นออกแบบวิธีนำเสนอให้เพื่อนคนอื่นเข้าใจมากที่สุด (วิธีนี้แนะนำว่าให้การบ้านแบบกลุ่ม)

Tips เพิ่มเติม

  • ไม่ควรให้การบ้านเด็ก ๆ ในรูปแบบที่เขาได้เรียนรู้แค่ท่องจำ หรือเติมคำในช่องว่าง เพราะจะเริ่มบทสนทนาในห้องเรียนได้ยาก
  • ครูต้องเปิดใจรับฟังสิ่งที่เด็ก ๆ ค้นหามา อย่ารีบตัดสินผิด-ถูกขณะที่เขานำเสนอ (ฮึบไว้นะ ฟังพวกเขาก่อนเราได้สอนแน่ ๆ ตอนสรุปคาบเรียน)
  • ให้เด็ก ๆ ลองจด prompt ที่ตัวเองใช้ไว้ด้วยก็ได้หากต้องการสอนเรื่อง AI literacy เพิ่มเติม


ข้อแนะนำในการใช้คำถามให้เด็ก ๆ ได้คิดมากขึ้น (สิ่งนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ครูจะเลือกใช้หรือไ่ม่ใช้ก็ได้นะ)

  • เพราะอะไรคำตอบของแต่ละคนถึงออกมาไม่เหมือนกัน (วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็ก ๆ คิดต่อเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลจาก AI หรือสอนเรื่อง AI literacy การเขียน prompt และการเลือกใช้ AI model ก็ได้)
  • ถ้าอยากให้ AI ให้คำตอบที่ถูกต้องกับเรา เราต้องเขียน prompt อย่างไร (วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กเข้าใจการเขียน prompt มากขึ้น note: ครูสามารถเรียนรู้การเขียน prompt ได้ผ่าน link https://blog.skooldio.com/ai-prompt-technique/ หรือ source สอนใช้งาน AI อื่น ๆ จ้า)
  • เราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าขัอมูลไหนของ AI ที่เป็นของจริง
  • ถ้าเราถามคำถามเดิมกับ AI อีกครั้ง คิดว่า AI จะตอบคำตอบเดิมกลับมาหรือเปล่า เพราะอะไร


เราจะต่อยอดจากคาบเรียนนี้ได้อย่างไรบ้าง

  • ต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ภาษา อาจลองท้าทายเด็ก ๆ ว่าให้เขียน prompt เดียวกันแต่ใช้เป็นภาษาอังกฤษแล้วลองดูว่าคำตอบของ AI จะเหมือนหรือต่างกัน หรือลองให้เด็ก ๆ เรียบเรียง prompt เป็นภาษาเขียน เพื่อเรียนรู้คำศัพท์ที่เป็นทางการมากขึ้น
  • ต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ลองท้าทายให้เด็ก ๆ ตั้งสมมติฐานก่อนที่จะเขียน prompt ว่า AI จะตอบเด็ก ๆ ว่าอะไร > prompt แบบใดจะได้คำตอบตามที่ตั้งสมมติฐานไว้ > ให้เขาลองเขียน prompt พิสูจน์วิธีที่เขาคิด และมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนดู


ใครที่ทำ Challenge นี้แล้วอย่าลืมไปลองสังเกตห้องเรียนผ่าน https://forms.fillout.com/t/5c1KVgfEPKus ฟอร์มนี้ล่ะ เพื่อลุ้นรับของรางวัลจาก insKru และ B2S ในทุก ๆ เดือน


🤩 ขอให้สนุกและพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากการลองทำ Challenge นี้นะ!

Challenge นี้ เป็น Challenge ใหม่ที่ให้ครูได้ "กล้า" ลองออกนอกกรอบ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำในห้องเรียนที่เราเพื่อค้นพบวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ที่สนุกและให้นักเรียนได้ครุ่นคิดมากขึ้น หากใครต้องตามติดตาม Challenge ดี ๆ แบบนี้เจอกันได้เลยทุกเดือนใน Tag #ครูเอทีฟchallenge จ้า

มัธยมต้นมัธยมปลายอาชีวะอุดมศึกษากศน.การจัดการชั้นเรียนครูเอทีฟchallengeB2SAIในห้องเรียน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

2
ได้แรงบันดาลใจ
1
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ