inskru

ติดอาวุธการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือโต้แย้งเรื่องที่อ่าน

1
2
ภาพประกอบไอเดีย ติดอาวุธการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือโต้แย้งเรื่องที่อ่าน

ตัวชี้วัด: ม.2/7 เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์และแสดงความรู้ความคิดเห็น หรือโต้แย้งในเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล

📚 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คุยกับโลกอย่างรู้เท่าทัน

เมื่อภาษาไทยไม่ใช่แค่การเขียนความเรียง แต่คือการคิดอย่างมีเหตุผล

🪶 ไอเดียการสอน: วิชาภาษาไทย ม.2


✍️ ตัวชี้วัด ท 4.1 ม.2/7 เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความรู้ความคิดเห็น หรือโต้แย้งในเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล

การเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับเด็ก ม.2 ไม่ใช่เรื่องง่าย ครูจึงไม่wfhเริ่มจากการให้เขียนบทความวิเคราะห์ขนาดในทันที แต่ชวนให้เด็ก “ฝึกคิด ฝึกเถียง ฝึกตั้งคำถาม” ผ่านประเด็นใกล้ตัว เช่น

  1. พลังงานของฉันในวันนี้ยังเต็มร้อยอยู่
  2. แม้ว่าเลิกกันแล้ว แต่ยังเป็นเพื่อนกันได้
  3. เข้าแถวหน้าเสาธงช่วยเสริมสร้างระเบียบวินัย
  4. เด็กดื้อต้องได้รับการลงโทษ
  5. ลูกต้องตอบแทนบุญคุณพ่อแม่
  6. เด็ก Gen Z ความอดทนต่ำ
  7. กีฬาสีช่วยสร้างความสามัคคีในโรงเรียน
  8. รัฐประหารเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย


🌿 วิธีดำเนินกิจกรรมในห้องเรียนแบบ “ครูกระบวนกร”

  • Step 1: สำรวจทัศนะส่วนตัว
  • นักเรียนเลือก เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย กับแต่ละประเด็น (ยืนสองฝั่ง / ยกป้าย / ใส่ในกระดาษ)
  • Step 2: ตั้งคำถาม Socratic Questions (6 ประเภท)
  • แทนที่จะบอกว่า “ทำไมถึงคิดแบบนั้น” ครูชวนตั้งคำถามแบบเปิดที่ ไม่ต้องการคำตอบทันที แต่ต้องการ “การคิดต่อ” เช่น
  • คุณคิดว่าอะไรคือเหตุผลหลักที่คนจำนวนมากยังเชื่อว่า...
  • ถ้ามีหลักฐานตรงข้าม คุณยังจะเชื่อแบบนี้อยู่ไหม
  • สิ่งที่คุณพูดนี้ เป็นความเชื่อทั่วไป หรือเป็นประสบการณ์ส่วนตัว
  • โดยในขั้นนี้แบ่งทีมนักเรียนให้ได้แสดงความคิดเห็นผ่านรายการโหนกระแส
  • Step 3: แลกเปลี่ยน ฟังอย่างเคารพ
  • เด็กได้ “ฝึกฟัง” ความคิดต่าง โดยไม่ต้องรีบโต้แย้ง
  • และ “ฝึกอธิบาย” เหตุผลของตัวเองแบบไม่ใช่อารมณ์
  • Step 4: ต่อด้วยการเขียนแบบย่อ
  • ประเด็นที่ฉันเลือกเขียนให้ชัด
  • เช่น “ควรยกเลิกชุดนักเรียน”
  • ฉันพูดจากมุมไหน เช่น นักเรียนหญิง / ลูกคนกลาง / คนเคยโดนบูลลี่
  • จุดยืนของฉันคือ เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย
  • เหตุผลของฉันมีอะไรบ้าง เขียนในลักษณะ Bullet Point เตรียมเป็นโครงร่าง
  • ฉันอยากให้คนอ่านเข้าใจอะไร นั่นคือ วัตถุประสงค์ของการเขียน
  • นักเรียนนำรายละเอียดข้างต้นเรียบเรียงเป็นบทความที่มีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
  • ย่อหน้า 1: บทนำ ประกอบด้วย ประเด็น + บริบท + เนื้อเรื่องย่อ
  • ย่อหน้า 2 - 3: เนื้อหา ประเด็นใหม่ประกอบเหตุผล และชุดข้อมูล
  • ย่อหน้า 4:  สรุป


🎯 เป้าหมายที่แท้จริงของกิจกรรมนี้

  1. นักเรียนกล้า แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
  2. นักเรียนฝึก ตั้งคำถามที่นำไปสู่การคิดต่อ
  3. นักเรียนสามารถ เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และโต้แย้ง ด้วยท่าทีที่เคารพความคิดต่าง


💬 ครูสามารถสื่อสารกับนักเรียนแบบนี้ได้

“วันนี้เราไม่ได้หาคำตอบว่าใครถูก ใครผิด
แต่เรากำลังหาวิธีคิดที่ชัดเจน เห็นใจ และมีเหตุผลมากขึ้น
เพราะทุกการเขียน คือการประกาศว่าคุณคิดแบบไหน... และคิดอย่างไร”

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    1
    ได้แรงบันดาลใจ
    2
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insThitsanu Jaroensook

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ