inskru
gift-close

บอร์ดเกม "ทุกข์ของชาวนา"

3
1
ภาพประกอบไอเดีย บอร์ดเกม "ทุกข์ของชาวนา"

หลังจากที่ได้เรียนเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีไปแล้วว่าทุกข์ของชาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาเล่นบอร์ดเกมที่จะช่วยจำลองชีวิตของชาวนาให้เกิดความสนุกสนานและมีเสียง (ตะโกน) ลั่นห้องกัน

ทุกข์ของชาวนาในกวีเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งของชั้นม.4ที่มีเนื้อหาค่อนข้างน้อย ครูหลายท่านอาจรู้สึกว่าเนื้อหาดูไม่ค่อยมีกิจกรรมให้นักเรียนเกิดความตื่นตัว วันนี้เราจะมานำเสนอสื่อการสอนเรื่อง "ทุกข์ของชาวนาในบทกวี" ให้ครูทุกท่านได้ลองนำไปปรับใช้กันดู


จุดประสงค์ของการพัฒนาสื่อการสอนครั้งนี้คือ เพื่อให้นักเรียนได้จำลองวิธีคิดและเห็นความยากลำบากของชาวนา เพื่อให้นักเรียนเห็นและเข้าใจเนื้อหาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น



คำเตือน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่พัฒนามาจากบอร์ดเกมจึงอาจมีระบบและวิธีการเล่นค่อนข้างซับซ้อน ครูควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงนำไปใช้


แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มนายทุน


กลุ่มเกษตรกรจะได้รับการ์ด ดังนี้


โดย



วิธีเล่นคือ

เกษตรกร


  1. ผู้เล่น 1 กลุ่มมี 4 คน ผู้เล่นทุกคนจะได้รับการ์ดเมล็ดพันธุ์ในมือคนละ 1 ใบ ส่วนใบอื่น ๆ จะมาเรียงบนโต๊ะเพื่อง่ายต่อการหยิบ
  2. การปลูกพืชให้ดูจำนวนทรัพยากรที่ต้องใช้ ใน 1 ตาผู้เล่นจะต้องหยิบการ์ด 1 ได้การกระทำ คือ หยิบทรัพยากร (อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือเจริญเติบโต (จากเมล็ดพันธุ์สู่ต้นกล้า)
  3. เมื่อมีทรัพยากรครบตามที่การ์ดแต่ละใบกำหนด ให้คืนการ์ดพืชและการ์ดทรัพยากรกลับเข้ากอง แล้วหยิบการ์ดต้นกล้าแทนที่
  4. ทำซ้ำข้อ 1-3 จนกว่าต้นไม้จะผลิดอกและออกผล
  5. เกมจะจบเมื่อมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสามารถขายผลผลิตให้นายทุนได้ 4 คน โดยผู้ชนะคือผู้ที่มีจำนวนเงินสูงสุด เช่น นาย A ขายผลผลิตให้นายทุนได้ 2 คน รวมราคา 2000 บาท มากกว่านาย B ที่ขายให้นายทุนได้ 4 คนแต่มีราคารวมเพียง 1500 บาท


นายทุน


นายทุนจะได้รับการ์ด


โดย


วิธีเล่นคือ


  1. ผู้เล่นที่ได้เป็นนายทุนจะได้การ์ดนายทุน 4 ใบ โดยจะต้องเดินเสนอการขายให้เกษตรกรแต่ละกลุ่ม หากเกษตรกรมีผลผลิตตรงกับที่ต้องการจึงจะสามารถขายได้
  2. วิธีการขายคือนายทุนจะยื่นการ์ดที่ตรงกับผลผลิตของเกษตรกรที่ต้องการขาย หากเกษตรกรตกลง นายทุนจะยื่นการ์ดดังกล่าวให้เกษตรกรเก็บไว้ (เพื่อให้เกษตรกรเก็บไว้คำนวณยอดเงินที่ขายได้) ส่วนผลผลิตให้เก็บเข้ากองการ์ดเดิม ไม่ต้องยกให้นายทุน
  3. นายทุนที่สามารถเสนอขายได้ครบ 4 ใบ (ไม่มีการ์ดในมือ) ถือว่าจบเกมฝั่งนายทุน (เกษตรกรปลูกและขายต่อไปจนกว่าจะมีผู้ชนะในกลุ่มเกษตรกร)


เกมดังกล่าวค่อนข้างใช้เวลาและต้องใช้ความคิดเพราะเรากำหนดให้จำนวนทรัพยกรมีจำกัด หากในแต่ละตาผู้เล่นแต่ละคนเลือกการ์ดทรัพยากรไม่รอบคอบอาจทำให้ทรัพยากรหมด และต้องข้ามตาของตนเองไปจนกว่าจะมีคนคืนทรัพยากรลงกองเดิมอีกครั้ง


ตอนนี้นายทุนกำลังตกลงซื้อขายกับเกษตรกรสาวอยู่ แตกแตนพอตัว


นายทุน 2 คนกำลังตกลงซื้อขายกันอยู่ว่าสรุปแล้วจะเลือกของนายทุนคนไหน


กลุ่มนี้นายทุนกำลังรุมกันเสนอขายเพราะเกษตรกรกลุ่มนี้ดูมีผลผลิตดี


เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว เราก็กลับมาสะท้อนคิดร่วมกันว่าปัญหาี่เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมมีอะไรบ้าง แล้วลองเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ชาวนาบางคนถูกกดราคาจากนายทุน บางชุมชนแย่งทรัพยากรที่ใช้ปลูกพืช และปัญหานานาที่คาดไม่ถึง ฝั่งนายทุนเองบางคนโดนเกษตรกรด่ากลับเพราะโดนกดราคา บางคนก็หาลูกค้าแล้วผูกขาดธุรกิจว่าถ้าต้นนี้โตแล้วขายเรานะ


อย่างไรก็ตามครูต้องคอยเดินสำรวจนักเรียนอยู่เสมอเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความสับสนและคอยตอบข้อสงสัยของนักเรียนด้วย


หากอ่านแล้วยังไม่เข้าใจลองอ่านจากคุณครูท่านนี้ได้เลยค่ะ

Chao-suan Board Game

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาไทยวรรณคดีDOEพลเมืองที่เข้มแข็งวรรณคดีและวรรณกรรมเกมและกิจกรรมมัธยมปลายLearningArena

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    3
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Thanadol Songcharoensub
    ครูหนึ่งผู้สดใส ผู้อยากเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
    เครดิตไอเดีย
    Arnut Lukkanasiri
    Design and Education

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ