icon
giftClose
profile
frame

ตั้งคำถามยังไงให้ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ ไม่ลอกกัน

69450
ภาพประกอบไอเดีย ตั้งคำถามยังไงให้ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ ไม่ลอกกัน

ช่วงสอนออนไลน์แบบนี้ สิ่งที่มักจะเจอคือนักเรียนชอบลอกคำตอบกันมา หรือไปก๊อบมาจากเว็บต่างๆ เรามาลองดูวิธีการท้าทายความสามารถของนักเรียนด้วยการตั้งคำถามกันค่ะ

สำหรับการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดนั้น จำเป็นจะต้องเป็นคำถามปลายเปิดที่ค่อนข้างเปิดกว้างค่ะ


โดยคุณครูอาจจะสร้างเป็นธีมก็ได้ค่ะ


อย่างเช่น ในรายวิชา IS ในหัวข้อของการตั้งคำถาม คุณครูอาจให้นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งรอบตัว โดยกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเลือกสิ่งของที่ไม่ซ้ำกัน

หรือถ้าอยากให้เกิดความท้าทาย คุณครูลองให้ Infographic แก่นักเรียนแล้วให้โจทย์กว้างๆ ดู


ตัวอย่างที่เคยสั่งไปนะคะ


ขอบคุณภาพจากเว็บการตลาดวันละตอน https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/youtube-insight-2020-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

จงออกแบบเนื้อหาหรือข้อมูลที่นักเรียนต้องการนำเสนอ เพื่อสร้างเนื้อหาลงในช่อง YouTube ของตนเอง โดยแต่ละคนห้ามมีเนื้อหาและรูปแบบที่ซ้ำกัน 
โดยข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. กลุ่มเป้าหมาย
3. เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
4. รูปแบบการนำเสนอ 
5. อื่นๆ (ถ้ามี)

พิมพ์เนื้อหาลงไปในช่อง หรือแนบไฟล์มา หรือมีภาพประกอบอย่างไรก็ได้ค่ะ 
ไม่จำเป็นต้องสร้างคลิปค่ะ ออกแบบเนื้อหาเฉยๆ 

นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเนื้อหาที่จะนำเสนอจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ 


ประมาณนี้ค่ะ


ซึ่งจากตรงนี้เราจะกำหนดให้นักเรียนเลือกหัวข้อไม่ซ้ำกัน


หรือจะเป็นหัวข้อล่าสุด ที่เพิ่งสั่งงานไปเลย


จะสอนหรือมอบหมายให้นักเรียนดูคลิปการสอนเรื่องการวางแผนการวิจัยด้วยหลัก 5W1H โดยคุณครูสามารถดูไอเดียการสอนได้จากลิงค์นี้ค่ะ IS107 จาก 5W1H สู่ 10 คำถามเพื่อการวิจัยในวิชา IS https://inskru.com/idea/-MVo7O28ka1umQ9zlKS8


ให้นักเรียนเลือกสิ่งของอะไรก็ได้ภายในบ้าน ที่นักเรียนคิดว่ามีข้อบกพร่องต้องพัฒนา หรือ สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น มาพิจารณาแก้ไขตามหลัก 5W1H

1. สิ่งของที่ต้องการแก้ปัญหา
2. What ใช้หลักการ/ความรู้เรื่องใดในการแก้ปัญหา
3. Who ใครใช้แล้วเกิดปัญหา/แก้ปัญหาให้ใคร
4. Why สาเหตุที่อยากพัฒนา/แรงบันดาลใจใจการพัฒนา
5. When ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการพัฒนา
6. Where แก้ปัญหาที่ส่วนไหนของสิ่งของ 
7. How ขั้นตอนการพัฒนา

โดยสิ่งของที่นำมาพัฒนาจะต้องไม่ซ้ำกัน

โดยมีหลักการในการให้คะแนนคือ
1. ความคิดสร้างสรรค์ Creativity คิดเอง ไม่ซ้ำใคร เกิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน
2. ความเป็นไปไปได้ Possibility สามารถนำไปทำได้จริง มีความเป็นวิทยาศาสตร์
3. หลักการที่นำมาใช้ Theory ใช้แนวคิดหรือความรู้เรื่องต่างๆ มาประยุกต์ใช้
4. การสื่อสาร Communication อธิบายได้เข้าใจ เห็นภาพชัดเจน

หากพบว่าสิ่งของ/เหตุการณ์ไม่ซ้ำกัน แต่คำตอบอื่นซ้ำกันแบบไม่สมเหตุสมผล หักคะแนนครึ่งหนึ่ง และปัดเศษลง เช่น ตอบแล้วได้ 5 คะแนน จะได้ 2 คะแนน



เป็นต้นค่ะ


เมื่อเราใช้วิธีการนี้ จะทำให้นักเรียนเกิดการแข่งขัน และตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวได้ โดยอ้างอิงจากพื้นฐานความรู้เดิมของตนเองได้ด้วยค่ะ



รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(21)
เก็บไว้อ่าน
(0)