inskru

สารพัดเด็กป่วน ชวนครูแก้ปัญหาแบบ SEL ตอน ไม่เคารพกัน

0
0
ภาพประกอบไอเดีย สารพัดเด็กป่วน ชวนครูแก้ปัญหาแบบ SEL ตอน ไม่เคารพกัน

insKru แบ่งปันวิธีการจัดชั้นเรียนตามแบบฉบับ Social-Emotional Learning ที่จะช่วยคุณครูพิชิตสารพัดเด็กป่วนในห้องเรียน


ชวนคุณครูลองสำรวจห้องเรียนดูว่า เด็ก ๆ เคยมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่?

  • มักจะหยิบจับข้าวของโดยไม่ขออนุญาต
  • มีนิสัยก้าวร้าว
  • มักพูดจาหยาบคายกับผู้อื่น

พฤติกรรมเหล่านี้ หลายครั้งได้สร้างความลำบากใจอย่างมาก คุณครูอาจชวนทำกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) เพื่อทำให้เด็ก ๆ รู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง และคนรอบข้างมากขึ้น


ระหว่างเรียน

  • ชวนเด็ก ๆ เข้าไปพักใน Calm Down Corner ในการกำหนดพื้นที่ในห้องเรียนสำหรับการ Cool Down ในห้อง เป็นพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้นั่งพักเพื่อสงบใจ สงบสติอารมณ์สักพัก โดยมีข้อตกลงให้ชัดเจนว่า เด็ก ๆ สามารถอยู่ได้นานแค่ไหน และสามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงการกลับเข้าบทเรียนต่อ และเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ให้คุณครูเข้าไปพูดคุย เพื่อทำความเข้าใจปัญหาของเด็ก
  • ชวนเด็ก ๆ ลองทำ Mindfulness สั้น ๆ ประมาณ 5-10 นาที เช่น การหายใจแบบ Roller coaster โดยกำหนดลมหายใจเข้า-ออกตามนิ้วมือของคุณครู เมื่อคุณครูไล่ขึ้นหลายนิ้วคล้ายรถไฟเหาะไต่ขึ้นเนิน เด็ก ๆ จะหายใจเข้า เมื่อรถไฟเหาะลงเนิน เด็ก ๆ ก็จะหายใจออก และช่วงท้าย คุณครูสามารถเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในห้องเรียนได้
  • ชวนทำกิจกรรมประเภท Positive Psychology เช่น เกมพับกระดาษเสี่ยงทาย (Self-Esteem Fortune Teller) เพื่อสุ่มดูว่า วันนี้เด็ก ๆ จะได้ทำอะไร เช่น
  • “เลือกเพื่อนที่ปฏิบัติต่อเธอ แบบที่เธอชอบเป๊ะ ๆ”
  • “บอกมาสิว่า เธอกำลังต้องการอะไร? วาดฝันอะไรไว้?”
  • “สร้างผลงานอะไรสักอย่างขึ้นมาให้ดูหน่อย”
  • “ตั้งเป้าหมายประจำวัน/ประจำคาบที่จะทำให้สำเร็จอย่างแน่นอน”
  • “บอกอะไรสักอย่างกับตัวเอง เหมือนกำลังพูดกับคนที่เธอแคร์”
  • “พูดชื่นชมอะไรเจ๋งๆ สักอย่างสิ!”
  • “โชว์ความกล้าให้ดูหน่อย!”
  • “ทำตามคำขอของครูสักข้อ โดยปราศจากเงื่อนไข” (ครูอาจถือโอกาสนี้บอกพฤติกรรมที่คุณครูอยากเห็น)

ตัวอย่าง เกมพับกระดาษเสี่ยงทาย


ช่วงพักเบรก

  • ชวนเด็กๆ ทำแบบประเมินความเครียด และแนะนำวิธีการจัดการความเครียดรูปแบบต่าง ๆ
  • ชวนทำกิจกรรม Positive Psychology เช่น การพูดชื่นชมตนเอง การบอกเล่าความต้องการของตนเอง หรือการเล่าสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมา ฯลฯ
  • เพิ่มคลังคำศัพท์เชิงบวก และคำเรียกอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กสามารถเลือกคำพูดที่ดีขึ้น 



นอกจากนี้ คุณครูยังสามารถใช้ทักษะกู้ใจ*เพื่อช่วยเหลือเด็กป่วนกลุ่มนี้ได้ ซึ่งคุณครูจะต้องทำให้เด็ก ๆ

  • จัดการอารมณ์ตนเองได้ (Self-management)
  • รับรู้ความรู้สึกอีกฝ่ายได้ (Social Awareness)
  • ฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักการบริหารความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง (Relationship skill)

และหากคุณครูมีวิธีการอื่น ๆ ที่เคยใช้ในห้องเรียน ก็สามารถมาแบ่งปันกันได้ที่คอมเมนต์นี้เลย


*ทักษะกู้ใจ (ภายใต้ Social-Emotional Learning) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://inskru.com/idea/-NAbuj_w2l7OfGDCNU9O

SocialEmotionalLearningSELSocial Emotional Skills

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ