icon
giftClose
profile

ครูโค้ช EP7 เขียนเพื่อขอรับการประเมิน THAILAND PSF

100805
ภาพประกอบไอเดีย ครูโค้ช EP7 เขียนเพื่อขอรับการประเมิน THAILAND PSF

สมรรถนะของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

นอกจากเรื่องการวิจัย และบริการวิชาการ

ด้านการจัดการเรียนการสอนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ตามที่ได้เขียนไว้ใน EP6 (สนใจอ่านคลิกที่นี่

และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้ออกประกาศ

เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริม

การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๖

แสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนในเรื่องการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

 

การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพ

การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (THAILAND-PSF)

เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ

ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนได้รับการประเมินตามกรอบสมรรถนะ

โดยอ้างอิงกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งทุกท่านมีความรู้ในศาสตร์ของตนดีมากอยู่แล้ว

เพียงท่านประเมินตนเองเพื่อรับการรับรองความรู้และทักษะด้านการสอน

(สนใจแบบประเมินตนเองตามระดับของกรอบสมรรถนะ คลิกที่นี่)

พร้อมเอกสารเพื่อขอรับการประเมินสมรรถนะ ดังนี้

1.ประวัติของตนเองด้านการเป็นอาจารย์

2.ผลงานด้านการเรียนการสอน

3.จดหมายรับรอง (letters of reference)

4. แบบประเมินตนเอง

 

โดยข้อที่ 2 คือผลงานด้านการเรียนการสอน 

อาจารย์ต้องเขียนเป็นความเรียง

โดยหากอาจารย์ยื่นขอรับการประเมิน ระดับที่ 1 ถึง 2

เขียนไม่เกิน 3,000 คํา  หรือประมาณ 8 - 10 หน้า 

หากเป็นระดับที่ 3 ถึง 4 เขียนไม่เกิน 5,000 คํา หรือประมาณ 10 - 15 หน้า


การเขียนแบบ Reflective Account of Practice (RAP)

เพื่อการสะท้อนคิด (Reflection) หลายท่านเขียนว่าไปทำอะไรมา มีกระบวนการอย่างไร

คือ What  (Describing event or process) 

โดยไม่ได้ลงรายละเอียดแบบ So what คือแสดง Thinking and analysis

และ Drawing conclusions ซึ่งเป็นข้อมูลสนับสนุนถึงหลักการคิดของท่าน

เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดและการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องการจัดการเรียนรู้

ว่าเรามีหลักการและแนวคิดอย่างไร เช่น ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้

ในระดับที่ 1 เรื่องการ อธิบายจิตวิทยาการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้

หากเราอธิบายเพิ่มเติมตรงนี้ชัดแบบ So What ก็จะสอดคล้องกับสมรรถนะในข้อนี้

และสามารถเชื่อมไปยัง Now what คือ Future goals and actions

ก็จะครบองค์ประกอบในการเขียนสะท้อนคิด (Reflection) 

โดยเราเขียนความเรียงให้เห็นตั้งแต่ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ

จากกรณีศึกษาที่ท่านยกตัวอย่างในงานเขียนของท่าน

What - So what ถึง Now what



การที่ประเทศไทย ได้นำกรอบมาตรฐานสมรรถนะของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

หรือ Professional Standard Framework (PSF)

มาใช้ก็เพื่อให้อาจารย์ได้จัดกระบวนการเรียนรู้

นำสู่การเติบโต ของลูกศิษย์ เพราะเราเชื่อว่า

อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ท่านคือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน

หากเสริมในเรื่องความรู้ ทักษะ และค่านิยม ในเรื่องการจัดการเรียนการสอน

ก็จะเกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

ที่ครบเครื่องทั้งด้านงานวิจัย บริการวิชาการ และการจัดการเรียนการสอน

ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนอาจารย์ทุกท่านครับ


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)