icon
giftClose
profile

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

นักเรียนบางคนไม่ว่าครูจะสอนหรือให้ดูคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการเดินทางของอาหารในระบบย่อยอาหารเท่าไหร่ก็จะรับฟังแบบผ่านๆไป แป้บๆเดี๋ยวก็ลืม เพราะเค้าไม่ได้เผชิญและต้องเรียบเรียงหรือสร้างแบบจำลองของการเดินทางของอาหารด้วยตัวเอง


ครูนิวยอลเลยสร้างเป็นเกมการ์ดที่เป็นลูกครึ่งระหว่างการ์ดเกม UNO และ Domino หลอมรวมเข้าด้วยกัน แถมสอดแทรกความรู้เรื่องระบบย่อยอาหารเข้าไป


ซึ่งวิธีเล่นก็ง่ายมั๊กๆ ในรายงานมีวิธีเล่นให้ด้วยนะคะ สามารถดาวน์โหลดไปเล่นกันได้เลย

จะมีอะไรฟินไปกว่า เล่นแล้วได้ความรู้อีกล่ะคะ ใช่ม้ะๆ


ไม่ว่าครู/นักเรียน/ผู้ปกครอง ที่อยากสนุก มันส์ ฮา ก็ดาวน์โหลดไปมันส์กันได้แล้ว


ถ้ามีอะไรที่ควรเพิ่มเติม หรือแก้ไข บอกกันได้เลยนะคะ พร้อมจะพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดค่า


ลิ้งค์ดาวน์โหลด 

https://drive.google.com/drive/folders/1yfMzM_PE0m4EAgYrEyOpaMBybeAH1XA-?usp=sharing

ขั้นตอน

ขั้นตอนการเล่นก็คล้ายกับเกม UNO และ Domino เลยจ้า

1.     แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 2 - 10 คน

2.     ครูผู้สอนแจกการ์ดให้นักเรียน จำนวน 1 สำรับ ต่อ 1 กลุ่ม

3.     ให้นักเรียนสับการ์ดให้คละกัน แล้วแจกการ์ดให้แต่ละคนในกลุ่ม คนละ 4 ใบ (คนที่แจกจะเป็นนักเรียนในกลุ่มคนใดคนหนึ่ง หรือจะเป็นครูก็ได้)

4.     เมื่อคนแจกการ์ด แจกการ์ดครบทุกคนในกลุ่ม จะเหลือการ์ดกองกลาง ให้หยิบการ์ดกองกลางใบบนสุด 1 ใบ หงาย แล้ววางตรงกลางกลุ่ม และทุกคนสามารถดูการ์ดที่ตัวเองได้เลย (ห้ามให้เพื่อนคนอื่นๆในกลุ่มเห็นการ์ดของเรานะคะ)

5.     การ์ดใบแรกนั้นเป็นอวัยวะใด ให้คนในกลุ่มที่มีการ์ดอวัยวะถัดจากนั้น หรือมีการ์ดเกี่ยวข้องกับอวัยวะนั้น รีบวางต่อการ์ดกลางทันที ใครวางก่อนจะได้เป็นคนแรกในการวางการ์ด แล้วให้วนขวาของคนวางการ์ดคนแรกเล่นต่อไปเรื่อยๆ

ตัวอย่าง    กรณีที่ 1 ถ้าการ์ดกลางคือ ปาก ให้คนที่มีการ์ดหลอดอาหาร หรือการ์ดสารอาหารจำพวกแป้ง วางทันที จะได้เป็นคนแรกของการวางการ์ด (กระเพาะอาหารไม่สามารถวางต่อจากปากได้ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับปากโดยตรง)

              กรณีที่ 2 ถ้าการ์ดกลางคือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นอวัยวะสุดท้ายในระบบทางเดินอาหาร ให้วนกลับมาที่ ปาก ดังนั้น เมื่อการ์ดกลางคือ ทวารหนัก คนที่มีการ์ดที่สามารถต่อจากการ์ดทวารหนักได้คือการ์ดตัวมันเอง หรือการ์ดปากเท่านั้น

              กรณีที่ 3 ถ้าการ์ดกลาง ไม่ใช่อวัยวะที่เป็นทางเดินของอาหาร แต่เป็นอวัยวะอื่นๆที่ช่วยในระบบย่อยอาหาร เช่น ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน สามารถวางการ์ดได้ดังนี้

              ถุงน้ำดี สามารถวางการ์ด ตับ(เพราะถุงน้ำดีอยู่ติดกับตับ)

- สารอาหารจำพวกไขมัน(เพราะน้ำดีในถุงน้ำดีช่วยทำให้ไขมันแตกตัว) – ลำไส้เล็ก (เพราะถุงน้ำดีจะหลั่งน้ำดีไปที่ลำไส้เล็ก) ได้

                        - ถุงน้ำดี (เพราะเป็นการ์ดตัวมันเอง)

             กรณีที่ 4 ถ้าการ์ดกลาง ไม่ใช่อวัยวะใดๆ แต่เป็นสารอาหาร คนที่มีการ์ดสารอาหารจำพวกเดียวกัน หรือ อวัยวะที่ย่อยสารอาหารนั้นได้ สามารถเอามาวางต่อได้เลย

              ตัวอย่าง การ์ดกลางคือ สารอาหารจำพวกโปรตีน จะมีการ์ดที่สามารถวางต่อได้ดังนี้

                        - สารอาหารจำพวกเดียวกัน (โปรตีน)

                        - กระเพาะอาหาร (ย่อยโปรตีนได้)

                        - ลำไส้เล็ก (ย่อยและดูดซึมโปรตีนได้)

                        - ตับอ่อน (ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีนได้) เป็นต้น

 6. เมื่อเกมดำเนินไปแล้ว มีคนในกลุ่มเหลือการ์ดแค่ใบเดียว คนนั้นจะต้องพูดว่า digestive system หรือไดเกสทีฟ ก็ได้ ถ้าลืมพูด จนคนถัดไปวางการ์ด คนๆนั้นจะต้องหยิบการ์ดกลางวงไป 5 ใบ 7. เมื่อครูเพิ่มการ์ดโรคเข้าไปในสำรับ การ์ดโรคจะมีหน้าที่ในการวนกลับการวางการ์ดของกลุ่ม โดยการ์ดโรคจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามอวัยวะในระบบย่อยอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นที่อวัยวะใด การ์ดนั้นจะแทนการ์ดอวัยวะนั้นโดยปริยาย แค่ต้องเปลี่ยนทิศการวางการ์ด เหมือนการ์ด Reverse ในเกมการ์ด UNO นั่นเอง

เช่น

8. เกมจะจบเมื่อมีคนใดคนหนึ่งในกลุ่ม หมดการ์ดในมือ แล้วพูดว่า poop เกมนั้นได้ผู้ชนะ และจบเกมทันที

ผลลัพธ์ที่เกิด หรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น

จะแบ่งเด็กออกเป็น 3 กรณีนะคะ

กรณีที่ 1 เด็กเข้าใจเรื่องระบบย่อยอาหารแล้ว

เด็กกลุ่มนี้จะอินและสนุกมากกับเกม เมื่อเพื่อนลงผิดจะเป็นฝ่ายสอนเพื่อนและอธิบายที่ตัวเองเข้าใจให้เพื่อนฟัง

(ตรงนี้แหละที่เป็นครูคนที่สองให้กับเพื่อนๆ)

กรณีที่ 2 เด็กที่เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเรื่องระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ในกลุ่มเด็กทั้งหมด เมื่อตอนเริ่มเกมเค้าจะมึนๆงงๆนิดหน่อยกับการเรียงลำดับอวัยวะในระบบย่อยอาหาร แต่พอเริ่มเล่นไปเรื่อยๆ แป๊บเดียวเค้าจะเข้าใจและอยากเล่นให้ชนะเด็กกรณีที่ 1 ซึ่งเด็กกลุ่มนี้แหละ ที่จะคอยเถียงกับเด็กกรณีที่ 1 ทำให้ตัวเองเข้าใจมากขึ้น และคนในกลุ่มเข้าใจมากขึ้นด้วย

กรณีที่ 3 เด็กไม่เข้าใจเรื่องระบบย่อยอาหารเลย ว่าเรียงยังไง อาหารเข้าไปแล้วไปไหนต่อ อะไรเชื่อมโยงกับอะไร ซึ่งมีจำนวนไม่มากเท่าเด็กกรณีที่ 2 เด็กกลุ่มนี้ แรกๆเมื่อเริ่มเกม เค้าจะไม่สนุกและอินกับเกมเลย ไม่เข้าใจและไม่กล้าลงการ์ดเพราะกลัวแพ้ แต่พอเล่นไปเรื่อยๆเค้าจะเริ่มจดจำและเข้าใจเมื่อเห็นเพื่อนกรณีที่ 1 และ 2 เค้าคุยกัน เถียงกัน หรือสอนเค้าเอง เมื่อเค้าเข้าใจมากขึ้น และถ้าเกมไหนเค้าดวงดีผสมกับความเข้าใจที่พึ่งได้เรียนรู้ แล้วเค้าการ์ดหมดคนแรกในกลุ่ม เค้าจะดีใจกับชัยชนะของตัวเองที่สุดเล๊ยยย

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

ต้องคอยบอกนักเรียนว่าอย่าเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องอาหารเดินทางจากทวารหนักแล้วไปต่อที่ปากนะคะ ถึงแม้ในเกมจะวนแบบนั้นก็ตาม บางคนเค้าเข้าใจผิดยาวเลยนะคะ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: ไฟล์การ์ดระบบย่อยอาหารครูนิวยอล.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 122 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(3)