inskru
gift-close

เกมไขปริศนา รัตติกาลมรณะ TIME KILLER

0
0
ภาพประกอบไอเดีย เกมไขปริศนา รัตติกาลมรณะ TIME KILLER

ที่มาของไอเดีย


เกมไขปริศนา รัตติกาลมรณะ TIME KILLER ที่ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ผสมกับความรู้เรื่องการเคลื่อนที่แนวราบ



  • ด้านของตัวสื่อมีการใช้ Microsoft Powerpoint ร่วมกับ Class Point เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ เกมมิฟิเคชั่น โดยมีการตั้งเป้าหมาย (Goals) แก้ปริศนา มีกฎ (Rules) หรือเงื่อนไข มีการแข่งขัน หรือความร่วมมือ (Conflict, Competition, or Cooperation) มีการกำหนดเวลา (Times) ทำให้เกิดแรงผลักดันในการทำกิจกรรมหรือการดำเนินการ เป็นตัวจับเวลาที่อาจจะทำให้ผู้เล่นเกิดความเครียดและความกดดัน ทำให้เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนทำงานสัมพันธ์กับเวลา มีรางวัล (Reward) เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้เล่นแข่งขันกันทำคะแนนสูง และผลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อแนะนำไปในทางที่เหมาะสมต่อการดำเนินกิจกรรม


อุปกรณ์ที่จำเป็น

     - มือถือเชื่อมอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียน

       - โปรแกรม Class Point ที่ติดตั้งบน Microsoft Powerpoint สำหรับคุณครู


วิธีการเล่นโดยสรุป


ขั้นสอน

  • ครูทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้จากคาบที่แล้ว เรื่อง ความเร็วและอัตราเร็ว เพื่อให้เด็กเข้าใจและทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น!
  • นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรม
  • ครูเป็น สื่อ Powerpoint และมีใบกิจกรรมให้เขียนวิเคราะห์คำตอบ จากนั้นก็เริ่มเล่าสถานการณ์ "คดีฆาตในคอนโด" และมอบหมายให้นักเรียนรับบทเป็นหน่วยสืบคดีเฉพาะกิจ


  • จากนั้นเป็นการสุ่มแจกการ์ดเบาะเเส ในขั้นตอนนี้จะใช้วงล้อสุ่มซึ่งกลุ่มไหนจะได้เบาะแสที่เป็นประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับดวง

นักเรียนจะต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และอาจจะคำนวณเพื่อตรวจสอบเวลาจากคำให้การของผู้ต้องสงสัยว่า ณ เวลาที่เกิดเหตุฆาตกรรม 23.00 น. แต่ละคนอยู่บ้าน ซึ่งมี 1 คนที่โกหก (อาจมีคนร้ายมากกว่า 1 คน) เวลาออกจากสถานที่นั้น ทำให้คำนวณอัตรเร็ว และเวลาออกมาไม่ตรง และมีหลักฐานเพิ่มเติม เบาะแสลับ เบาะเเสลวง

  • นักเรียนสรุปตอบคำถามว่าใครคือฆาตกรรม อธิบายวิธีการ


ขั้นสรุป

  • ครูเฉลยผู้ร้ายจากจากไขคดีฆาตกรรม โดยแสดงวิธีทำว่าคำให้การของผู้ร้ายไม่ตรงกับเวลาที่เกิดเหตุฆาตกรรมจึงสามารถระบุตัวผู้ร้ายได้จากพยานหลักฐานเวลา อัตราเร็ว ระยะทาง

6. การได้คะแนนในเกม/การชนะจากเกม

      - ผู้ที่หาคนร้ายเจอ

7. การวัดและประเมินผล/วิธีการวัด

       - แบบทดสอบหลังเรียน (K)

       - กิจกรรม (P)

       - สังเกต/สัมภาษณ์/การมีส่วนร่วม (A)


***** ไอเดียนี้ผมได้แรงบันดาลใจจากครูสองท่านในเว็บ Inskru นี้

เลยขอให้เครดิตทั้งสองท่า่นมานะที่นี้เลย

คือคุณครู Nattawut Salangsingha และคุณครู Kookkik Thitichaya ขอขอบคุณครับ

ป.ล. หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ จะพยายามพัฒนาตัวเองต่อไปเพื่อเด็ก ๆ ครับ



ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์คณิตศาสตร์ตัวช่วยครูเกมและกิจกรรมทบทวนบทเรียนProblem Based LearningมัธยมปลายอาชีวะPowerpointBoardgameเทคโนโลยีการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารทักษะการร่วมมือ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Cool Kru Physics

    ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก

    avatar-frame
    insNattawut Salangsingha
    ครูคนนึงที่อยากเห็นห้องเรียนมีความหมาย

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ