inskru
gift-close

ผูกโยงตัวชี้วัดปลายทาง : ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกัน

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ผูกโยงตัวชี้วัดปลายทาง : ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกัน

แก้ไขผลการเรียน ด้วยตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง ผูกโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน ในชิ้นงานเดียว !!

(ในการเรียนในเวลาปกติ ก็ควรจะต้องเป็นแบบนี้นะ ไม่ใช่แค่ตอนแก้ผลการเรียน5555+)


คำถาม คือ เราจะทำยังไงให้ตัวชี้วัดตามหลักสูตร ที่มีจำนวนมาก โดยเฉพาะในสาระสังคมฯ ที่มีเยอะมากกก

ย่อยให้น้อย แต่ยังคงเนื้อหา ความรู้ได้อยู่...


เรื่องมีอยู่ว่า ต้องสอนซ่อมเสริมกรณีพิเศษ นักเรียนที่มีผลการเรียน 0 ร มส. รายวิชาสังคมศึกษา โดยกำหนดให้นำตัวชี้วัดระหว่างทาง ปลายทางมาเป็นตัวกำหนดเนื้อหา ในกรณีของเรา วิชาสังคมฯ ม.6 ที่นักเรียนมีผลการเรียน 0 ในภาคเรียนที่ 1 เนื้อหาสาระ ศาสนา และ หน้าที่พลเมือง


ตามที่เราทราบแล้วว่า สพฐ.ได้ออกประกาศกำหนดตัวชี้วัดระหว่างทาง และปลายทาง สำหรับเป็นแนวทางให้การจัดการเรียนการสอนของครูเกิดความยืดหยุ่น คล่องตัว และผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกนั้น....


ก็เลย ไปนั่งดูตัวชี้วัดปลายทาง ของ ม.ปลาย ในสาระศาสนา และ หน้าที่พลเมือง แล้วก็เกิดปิ๊งงงง ว่า...


"ถ้าเราออกแบบงานที่ผูกโยง “ตัวชี้วัดปลายทาง” ให้เป็นเรื่องราวร้อยเรียงกันละ (ไม่ได้นำมาทุกตัว เอามาเท่าที่แถ(โยง)ได้) 55555+"

บางท่านอาจจะโยงได้ดีกว่านี้นะ


จุดเชื่อมโยงของงานนี้ คือ คำว่า “ปัญหา”

>> ให้ นร. วิเคราะห์ปัญหา 1 ปัญหาใน รร. ตามกรอบหลักธรรม(ง่ายสุดก็ หยิบเอา อริยสัจ) ผนวกด้วยขันธ์ 5 ที่ทำให้มองเห็นภาพทุกข์ ได้ชัดเจนขึ้น

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 1.1 ม.4-6/13 วิเคราะห์หลักธรรม....]

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 1.1 ม.4-6/16 เชื่อมั่นต่อผลการทำดี....วิเคราะห์สถานการณ์ที่เผชิญ...]

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 1.2 ม.4-6/15 สัมนาและเสนอแนะแนวทาง....]

>> วิเคราะห์ต่อว่า ปัญหาใน รร. นั้นเป็นรากฐานต่อยอดมาสู่การเป็นปัญหาของประเทศ ปัญหาใด

>> เข้าสู่ สาระหน้าที่ฯ ด้วยการกำหนด "ค่านิยม" ที่เป็นตัวกำหนดความเป็นไปของสังคมฯ สิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่า ดี หรือไม่ดี ด้วยคำว่า “คลองลานวิทยา” (ชื่อ รร. เราเอง555+ จริง ๆ เล่นกับคำอะไรก็ได้นะ) และเป็นการบ่งบอกถึงบทบาท หน้าที่ ที่สอดคล้องกับปัญหานั้นด้วย

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 2.1 ม.4-6/3 ปฏิบัติตนและมีส่วนสนับสนุนให้....เป็นพลเมืองดี...]

>> ตามด้วยการหยิบยืม แว่นวัฒนธรรม ICU ที่เคยให้ นร. วิเคราะห์วัฒนธรรม (เคยลง InSkru ไว้ inskru.com/idea/-NgnI-tQWD1SWB9nKn4U) มาวินิจัยปัญหาสังคมฯ ที่ได้วิเคราะห์มา

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 2.1 ม.4-6/5 วิเคราะห์ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง...วัฒนธรรมไทย...]

>> ถ้าเป็นนายกฯ ให้วิเคราะห์ว่า ปัญหาสังคมนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นโยบายไหน ผลของนโยบายจะเป็นอย่างไร

[ตัวชี้วัดปลายทาง ส 2.2 ม.4-6/4 เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ]

ตัวอย่าง ผลงาน (นี่ขนาดแก้ 0 ทำได้ดีขนาดนี้ ถ้าตั้งใจเรียนตั้งแต่แรก คงจะดีกว่านี้มากแน่นอน)

โดยส่วนตัวมมองว่า จริง ๆ แล้ว การกำหนดตัวชี้วัดระหว่าง/ปลายทางมันดีมากแหละ แต่....คือ มันต้องมีเวลาให้ครูอยู่กับการสอน กับห้องเรียนมากกว่านี้…ให้เราได้มีเวลาคิด ออกแบบการเรียนการสอน บลาๆๆ


ปล. เทอมนี้ ม.6 ออกแบบชิ้นงานไว้ชิ้นนึง ผูกโยงตัวชี้วัด เนื้อหาสาระเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกันลงในกระดาษบรูฟ (ตอนนี้ลงเนื้อหาถึงเศรษฐศาสตร์ ช่วงปลาย ๆ แล้ว ต่อไปจะเป็นประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ มาต่อ...หวังว่าจะทันสิ้นเทอม) เสร็จแล้วจะนำมาแบ่งปัน


ขอบคุณที่แวะมาอ่านกันครับบบ



ไฟล์ที่แบ่งปัน

    สังคมศึกษาตัวชี้วัดปลายทางแก้0

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    inskruBusSo
    ครูสังคม มองหาไอเดีย ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ