ในการเรียนการสอน IS ซึ่งชื่อวิชาจะมีหลากหลายในภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาอิสระ การศึกษาค้นคว้า หรือ อะไรก็ตามแต่ เมื่อนักเรียนกำหนดปัญหาได้แล้ว ส่วนใหญ่ เราจะให้นักเรียนเริ่มสืบค้นข้อมูลและเริ่มทำอะไรหลายๆอย่างเลย แต่นักเรียนจะเริ่มสงสัยว่า เราควรศึกษาอะไรก่อน ศึกษาอะไรบ้าง แล้วก็จะเริ่มการคัดลอกในกรณีงานนี้เคยมีคนทำมาก่อน ส่วนงานใหม่ ก็จะงงๆ แล้วก็ค้นไปเรื่อยๆ จนหลายคนท้อ ในไอเดียนี้จะเป็นส่วนแทรกหลังจากที่นักเรียนได้ปัญหาแล้ว นักเรียนควรได้สโคปแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนำเสนอให้คุณครูได้ช่วยตรวจทาน เพราะในช่วงหลายปีการศึกษาที่ผ่านมา ครูปอนด์ได้รับผิดชอบวิชานี้ และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากการอบรมหลักสูตรสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้แนวทาง OECD ซึ่งกระบวนการทำ FILA map หรือ FILA mapping เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนแสดงความเข้าใจในภาพรวมและแนวทางการดำเนินที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบแบบคร่าวๆ ใน 1 แผ่นภาพ และมั่นใจในการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้และเกิดประโยชน์จริงๆ
1. นักเรียนควรทำ Force connection จนได้ข้อมูลปัญหา และคำถามขั้นสูงสำหรับปัญหาแล้ว (คลิกเพื่ออ่านกระบวนการ Force connection ที่นี่ครับ)
2. ครูอธิบาย/นักเรียนทำความเข้าใจ FILA map ว่าเป็นแผนภาพสำหรับอธิบายว่าเราจะศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
3. นักเรียนสามารถออกแบบ FILA map สำหรับงานของกลุ่มตนเองได้ตามจินตนาการ ภาพใต้เงื่อนไขที่ต้องแสดงทั้ง 4 ส่วนข้างต้น
การทำ FILA map จะช่วยให้ทั้งครูและนักเรียนสามารถเห็นภาพรวมการศึกษาค้นคว้าที่จะครอบคลุม IS 1 - 3 ได้ และช่วยให้เห็นข้อจำกัด ส่วนที่ต้องเพิ่ม ส่วนที่ต้องปรับจูน ก่อนลงมือทำ ครูปอนด์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าไอเดียนี้จะช่วยให้การสอน IS ของคุณครูประสบความสำเร็จครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!