โค้ช เป็นคำสากล ถูกใช้ในหลายวงการ
ในระบบการศึกษา คำว่าโค้ชก็ได้ถูกนำมาใช้
และได้กลายเป็นวาทะกรรม สร้างความบันเทิงให้เพื่อนครูอยู่ไม่น้อย
หากเรานำสมรรถนะการโค้ช จากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (ICF)
ด้วยทักษะการโค้ช (Coaching) ที่มีจุดเน้นต่างจากการสอน (Teaching)
มาบูรณาการกันเป็น ครูโค้ช (Teacher as Coach)
ก็ช่วยให้นโยบายเรื่องครูโค้ชมีความชัดเจนและลงมือปฏิบัติได้มากขึ้น
การสอน และการโค้ช ต่างมีข้อดีที่ครูสามารถเลือกใช้
ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
หากเราเลือกใช้ การสอน (Teaching)
สำหรับ การโค้ช (Coaching)
ครูแก้วได้เขียนเรื่องครูโค้ช EP9 ห้องเรียนแห่งความสุข (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
เพื่อชวนเพื่อนครูให้เห็นถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ไม่ว่าจะเป็นครูสอน หรือครูโค้ช หัวใจสำคัญคือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ห้องเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ก่อน
ครู จึงเป็นบุคคลที่ต้องได้รับการไว้วางใจจากผู้เรียน
หลักการสอน หรือ หลักการโค้ช หากครูโค้ชนำมาบูรณาการ
คือให้ผู้เรียนได้ค้นพบทางออก (Solution) ด้วยตัวของเขาเอง
ก็สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning
ที่นำ Model for Learning and Development (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
โดยครูโค้ชต้องเป็นผู้ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมสานต์
หรือเป็นผู้แนะนำในฐานะเพื่อนร่วมเดินทาง (Partner)
ไม่ว่าจะเป็นการสอนหรือการโค้ช
เป้าหมาย คือการบ่มเพาะผู้เรียนให้เจริญงอกงาม
ด้วยเมล็ดพันธ์ุที่แตกต่าง ให้เจริญงอกงามตามบริบท
เพราะการศึกษาไม่ใช่การผลิตสินค้าที่เหมาโหล ผลิตออกมาให้เหมือนกันหมด
ความงดงามคือความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์ทางปัญญา
ที่ครูโค้ชเป็นผู้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตัวของเขาเอง
ด้วยทักษะการฟัง การถาม การสะท้อนกลับ และชื่นชม
ตามหลักจิตวิทยาเชิงบวก นำสู่กิจกรรมฐานสมรรถนะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!