การเรียนรู้เรื่อง "น้ำ" เกี่ยวกับสารที่ละลายในน้ำ เนื้อหาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์พบว่า นักเรียนในแผนการเรียนที่เน้นภาษาจะไม่ถนัดต่อทักษะการคำนวณ ซึ่งในการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิกต้องใช้ทักษะการคำนวณพื้นฐานด้านบวกลบ ซึ่งนักเรียนสามารถทำได้หากได้รับการทบทวน หรือการฟื้นฟูที่ชวนเรียนรู้ ทำให้ครูต้องปรับจากการสอนตามหลักเกณฑ์การเขียนสูตรอย่างง่ายของสารประกอบไอออนิก เป็นกิจกรรม 4 ขั้นตอนคือ 1)ฝึกคิดหลากหลาย 2)ฝึกคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และสังเกตค่าเฉพาะ 3)ฝึกคำนวณจากค่าที่กำหนดตามสิ่งของและประกอบสิ่งของเพื่อให้ผลลัพธ์เป็น 0 4) ฝึกคำนวณและเขียนสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิกโดยครูกำหนดไอออนบวกและไอออนลบ
นเตรียม ครูเตรียมดังนี้
ขั้นสอน มีขั้นตอนดังนี้
2.1 ในหน้าแรก ครูให้นักเรียนเขียนตัวเลขที่ครูระบุ โดยเขียนขนาดให้เหมาะกับหน้ากระดาษด้วยปากกา หรือดินสอก็ได้ (ตัวเลขที่ระบุ ครูใช้เลขห้องของนักเรียนเช่น 4/9 ใช้เลข 9) จากนั้นให้นักเรียนตกแต่ง"เลขดังกล่าว" ให้เป็นภาพอะไรก็ได้ที่นักเรียนสามารถทำได้หรือชอบ
2.2 ครูนำเข้าสู่เกมนักคำนวณจากภาพ โดยมี 3 คำถาม ทั้งนี้ได้ฝึกการให้เหตุผล การสังเกต และทักษะการคำนวณเบื้องต้นคือการบวก ลบ คูณ) โดยให้นักเรียนบันทึกในหน้าที่ 2
2.3 ครูให้นักเรียนสร้างภาพดอกไม้ในแจกันโดย มีเงื่อนไข ค่าของดอกไม้และใบไม้รวมกันจะมีค่าเท่ากับ O ทั้งนี้เน้นดอกไม้ให้มีประจุบวก และใบไม้ให้มีประจุลบ โดยบันทึกกิจกรรมในหน้าที่ 3
2.4 ครูให้นักเรียนสร้างตารางขนาด 5x5 โดยครูกำหนดไอออนบวก 5 ชนิดและไอออนลบ 5 ชนิด เพื่อให้นักเรียนสร้างสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิกตามหลักการคือ ผลรวมของประจุบวก กับ ประจุลบ รวมกันเท่ากับ 0 และเน้นให้นักเรียนทำอัตราส่วนของสูตรเคมีให้เป็นอย่างต่ำ
3. ขั้นสรุป ครูสรุปหลักการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิกที่สำคัญ พร้อมให้นักเรียนทำโจทย์เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
จากการออกแบบการสอนของตนเองและเมื่อได้มาอ่านงานเขียนที่inskru "แบบฝึกหัดกระดาษเปล่า" พบว่า "ใช่เลย" อยากให้ลองนะคะ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!