ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันตัวชี้วัดมักกล่าวถึงความสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน แต่ตัวอย่างที่มีบางทีก็ไกลตัวนักเรียนจนเกินไป
วันนี้เราเลยอยากจะพาครูทุกคนลองเปิดให้นักเรียนได้เป็นคนสร้างสรรค์โจทย์ เรื่องราว สถานการณ์ ต่างๆ
เช่น วิชาคณิตศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ อัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ
ลองให้นักเรียนไปคิดค้นสูตรอาหาร อาจจะเป็นเมนูที่นักเรียนชอบ สนใจ หรืออยากทำ
แต่เพื่อให้ง่ายในการนำไปใช้ต่อเนื่องและเป็นกรอบที่แคบให้นักเรียนคิดได้เร็วขึ้นไม่กว้างไป เราจึงให้นักเรียนหา “เมนูที่มีผลไม้และนมเป็นส่วนประกอบ”
ถึงตรงนี้เราก็จะมีข้อมูลมาเป็นตัวอย่างมากมาย และทางครูก็ยกข้อมูลของตนเองเป็นตัวอย่าง ในการแปลงข้อมูลเป็นอัตราส่วน และอัตราส่วนหลายๆอัตราส่วน หลังจากนั้นเราก็ให้นักเรียน เขียนอัตราส่วนจากข้อมูลของตนเอง ส่งให้ครูตรวจสอบความถูกต้อง
ถึงตรงนี้นักเรียนก็ได้เรียนรู้ไป 1 เรื่องในหน่วยนั่นคืออัตราส่วน พอถึงเรื่องถัดไปเราก็เริ่มกิจกรรมจากการ เลือกผลไม้
เตรียมการสรุปว่าข้อมูลที่นักเรียนหามามีผลไม้ใดจำนวนกี่คนแล้วหารูปนั้นตามจำนวนมาให้นักเรียนเลือกเมื่อถึงเรื่อง สัดส่วน
การเลือกผลไม้จะนำไปสู่การเลือกข้อมูลที่เพื่อนหาไว้
เช่น ถ้าหยิบส้ม จะได้ข้อมูลเมนูที่ส้มเป็นส่วนประกอบ
ทำให้นักเรียนเกิดความตื่นเต้นว่าจะได้โจทย์จากเพื่อนคนใด เมนูใด โดยจากข้อมูลที่นักเรียนเคยสร้างไว้ครูกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม “เรามีผลไม้ทุกอย่างให้ทุกคนแต่คนละ 15 ผล หรือ 250 กรัม หรือน้ำผลไม้ 250 มิลลิลิตร ต้องใช้ให้หมดเท่านั้น เราจะต้องใช้นมเท่าไหร่” ขอเรียกตรงนี้ว่าคำถามตั้งต้น
ถึงตรงนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เพิ่มอีก 1 เรื่องในหน่อยคือเรื่องสัดส่วน แล้วให้นักเรียนตั้งคำถาม ที่ใช้ความรู้สัดส่วนในการแก้ปัญหาและจับคู่แลกกับเพื่อนเปลี่ยนคู่ไปเรื่อยๆ จนครบ 5 ข้อ ครูตรวจสอบความถูกต้อง เราก็จะได้โจทย์ที่หลากหลาย และมาจากนักเรียนเอง หากจะต่อยอดต่อไปร้อยละก็ทำได้ โดยสร้างโจทย์ตั้งต้นให้นักเรียนเห็นแนวทางก่อนลักษณะเดียวกันกับสัดส่วน
หน่วยการเรียนรู้ รูปเรขาคณิตสามมิติ
เคยเผยแพร่ไว้ใน https://inskru.com/idea/-MLJ3S6zQ67e6weWndUx
หน่วยการเรียนรู้ ความเท่ากันทุกประการ
เราสามารถสร้างเป็นกิจกรรมให้นักเรียนยกตัวอย่างเล็กๆ
ซึ่งเคยเผยแพร่ไว้ใน https://inskru.com/idea/-MQU_YsEKP-UNN33iebT
จากการทำกิจกรรมให้นักเรียนสร้างโจทย์ จะทำให้ครูเองมีแนวโจทย์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกมากขึ้น และทำให้นักเรียนเข้าใจว่าโจทย์เกิดมาจากอะไร และตอบโจทย์ที่ว่า เรียนไปช่วยอะไรได้บ้าง ไม่เบื่อ ไม่มองว่าอยู่แค่เพียงในตำรา
ข้อจำกัดคือ ต้องใช้เวลา ทั้งการคิด การหาข้อมูล ครูควรลองจับเวลาและลองทำเองก่อนว่าใช้เวลาเท่าไหร่ถ้านานเกินไปอาจต้องเพิ่มตัวช่วยให้กรอบความคิดเล็กลง ไปสู่ปลายทางได้เร็วขึ้น
แท็กที่เกี่ยวข้อง