icon
giftClose
profile

เมื่อคุณครูอยากสร้างบทเรียนแนวสืบสวน เริ่มต้นยังไงดีนะ?

52860
ภาพประกอบไอเดีย เมื่อคุณครูอยากสร้างบทเรียนแนวสืบสวน เริ่มต้นยังไงดีนะ?

เราจะตั้งคำถามแบบไหน เพื่อให้เข้าใกล้ความจริงมากที่สุด ?

จากการสังเกตเบื้องต้น หนูข้อตั้งสมมติฐานแบบนี้แล้วกันว่า ….. ?

ผมคิดว่า จากข้อมูลที่เราวิเคราะห์ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องโกหก

ถ้า……………. เราสามารถสรุปได้ว่า…………………… จริงไหม ?

เป็นไปได้ไหมว่า…………… หลักฐานข้อมูลที่มีอยู่นั้น…………..?

 

บทเรียนแนวสืบสวน เป็นวิธีการที่คุณครูหลายคนเลือกใช้ในการสอน ด้วยการจำลองสถานการณ์บางอย่างขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนได้เข้าไปมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการสืบค้นหาความจริงหรือไขความลับที่ถูกซ่อนไว้ ดังเช่นการ์ตูนชื่อดังอย่าง โคนัน ที่มีเหตุการณ์ต่างๆ ให้ตัวเอก ต้องทำการตั้งสมมติฐาน สังเกต หาเบาะแสจากข้อมูลต่างๆ ทำการวิเคราะห์ แยกแยะ เปรียบเทียบ หรือทดลอง นำเสนอข้อสรุปผ่านเหตุผลต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเสน่ห์ของเรื่องราวการสืบสวนก็ว่าได้ที่ชวนให้เราเป็นส่วนหนึ่งและติดอยู่กับความสงสัย หากมองลึกๆแล้ว สิ่งนี้ยังถือเป็นกระบวนการที่มนุษย์พยายามจะค้นหาคำตอบ เพื่อทำความความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆรอบตัวอีกด้วย  

.

เริ่มต้นสร้างบทเรียนแนวสืบสวน ลองใช้วิธีต่อไปนี้เลย

1.วางเป้าหมายและระยะการเรียนรู้

สิ่งสำคัญคือครูจำเป็นต้องเริ่มตั้งคำถามว่า อะไรคือจุดประสงค์ปลายทางของบทเรียนที่เรากำลังสอน เช่น ให้นักเรียนประเมินความน่าเชื่อของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างทางชีววิทยาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ตัวชี้วัดเดียว หรือจำกัดเพียงวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยครูอาจออกแบบร่วมกัน เช่น การให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ระยะเวลาการเรียนรู้อาจมากกว่า 1 คาบ หรือตลอดทั้งสัปดาห์ เพื่อให้เวลานักเรียนกับบทเรียนมากขึ้น โดยกระบวนการเป็นได้ทั้งการถกเถียง วิเคราะห์หลักฐาน สืบค้น และหาข้อสรุป การรวบยอดคอนเซ็ปต์ (เช่น คอนเซปต์เรื่องหมู่เลือด) การเปรียบเทียบ แยกแยะ จัดจำแนก การสำรวจและทำความเข้าใจแง่มุมที่หลากหลาย การให้นักเรียนได้ทดลองและพิสูจน์ด้วยตนเอง


2. เลือกใช้เนื้อหา ข้อมูลและคำถามประกอบบทเรียน

หากเราคาดหวังให้นักเรียนได้ประเมินความน่าเชื่อถือหลักฐาน ครูจำเป็นที่ต้องค้นคว้าหลักฐานหรือข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากหลากหลายแง่มุมในเบื้องต้นก่อน เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผูกเรื่องราว และให้บทตัวละคร ทั้งนี้เพราะว่า เสน่ห์สำคัญของการสืบสวน คือการเชิญชวนให้นักสืบ (ตัวนักเรียน) ได้เผชิญกับชุดข้อมูล ความเห็น หลักฐานที่มีแง่มุมแตกต่างออกไป เพื่อที่จะทำการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปขึ้นมา ครูจึงต้องทำการบ้านส่วนนี้ค่อนข้างหนักหน่อย รวมถึงการเลือกใช้คำถามสำคัญต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตามเป้าหมาย เช่น อยากให้นักเรียนประเมินความน่าเชื่อ ครูอาจต้องตระเตรียมคำถาม เช่น จากที่ตัวละคร A ยกหลักฐานมาอธิบาย นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าหลักฐานนั้นไม่มีอคติของผู้เขียน เป็นต้น


3.เลือกบรรยากาศของเรื่องราวสืบสวน

อาจเป็นการเลือกให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ และประสบการณ์ของนักเรียน (เพื่อเอื้อให้นักเรียนจินตนาการถึงบทบาทที่ตัวเองได้รับในเรื่องราวได้ง่าย) อาจเน้นให้เกิดบรรยากาศลึกลับ น่าค้นหา ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น โลกตำรวจอาชญากรรม (แบบซีรีส์เกาหลี ดีมั้ยนะ?) โลกแฟนตาซี (Harry Potter ก็น่าสนใจ) โลกล่มสลาย (ซอมบี้จะเป็นอย่างไรดี ?) โลกอนาคต โลกยุคโบราณ หรือโลกปัจจุบันที่สุดแสนธรรมดา 


4.สร้างเรื่องราวและตัวละครขึ้นมา 

ในข้อนี้ครูอาจวางเส้นเรื่องที่ประกอบด้วย

1) ฉากเริ่มแรก: สร้างบรรยากาศ พานักเรียนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว  

2) ฉากสำคัญ: ทำให้เกิดความสงสัย ขัดแย้ง สับสน มีคำถามจากปมบางอย่างในเรื่อง   

3) ฉากรายละเอียด: การให้ข้อมูลหลักฐาน ผ่านตัวละครหรือวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น ข้อมูลชุด A อาจแปลงเป็นบทพูดของตัวละคร

4) ครูให้คำถามสำคัญของสืบสวนที่อิงกับเป้าหมายการเรียนรู้ เช่น เราจะมีวิธีการเข้าใกล้ความจริงได้อย่างไร ในฐานะนักสืบตอนนี้นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ครูยังสามารถให้คำถามไกด์ในระหว่างที่นักเรียนกำลังพูดคุยสืบค้นได้อีกด้วย หรือเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ห้องสมุด เป็นต้น

5) ฉากปั่นปั่น: การเพิ่มข้อมูลบางอย่างเข้ามาในระหว่างที่นักเรียนกำลังดำเนินการสืบสวนไปได้สักพัก เพื่อให้บทเรียนมีความท้าทาย หรือช่วยให้นักเรียนทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น 

6) ฉากจบ: นำเสนอข้อสรุปของแต่ละกลุ่ม ครูอาจชวนตั้งข้อสังเกตหรือให้มุมมองที่ขยายความเข้าใจนักเรียนออกไป


5.ลงมือเตรียมสื่อ อุปกรณ์ให้ครบถ้วน แล้วออกไปลุยในห้องเรียนกันเลย

แต่ถ้าใครยังนึกไม่ค่อยออก ลองดูตัวอย่างได้จากไอเดียข้างล่างน้ีจ้า

ไขคดีฆาตกรรมผ่านหมู่เลือด

https://www.facebook.com/reel/573259831508083?s=single_unit

คดีฆาตกรรมในแมนเนอร์

https://www.facebook.com/parichart.chaiwong/posts/pfbid0ZCvSLvCx41EjD6VrXQBkKjgT6iMTGvBSEb91GjvBYnRD5tiGUgrpn9vv8zj7pjVrl

การสอนประวัติศาสตร์คือการทำให้นักเรียนไม่ไว้วางใจต่อหลักฐาน

https://www.facebook.com/photo/?fbid=416374720653511&set=a.398183899139260

ภารกิจข้ามเวลาไขปริศนา

https://inskru.com/idea/-NN5qQs9yOB38tSHcREQ

Warm up นักสืบกับปริศนาคดีสีเลือด

https://inskru.com/idea/-MitdY8TwcGG2O8gOZdK

ไขคดีลับไปกับยอดนักสืบจิ๋ว (วิชาภาษาอังกฤษ)

https://inskru.com/idea/-MNSVyotbcoAO_nlm9mH

แฟ้มคดีปริศนา

https://inskru.com/idea/-MgZcwX5imOgJq5bmswW?fbclid=IwAR3pOo39S4vYQJxjfkmd_ipSJgbYjHmzfRpPZbMVdU1X8uE2hFhnTtXGfjE

ประยุกต์ไอเดียการสอน จากบอร์ดเกมนักสืบวิญญาณ

https://inskru.com/idea/-MUdcg1Tv-v60RkUk1dv

ใครฆ่าสมศรี? อาวุธ กับ รอยเลือด

https://inskru.com/idea/-NOJZqLZFYijRFZYoikT

นักสืบใบไม้...ให้คำถามนำทางเราไปสู่วิถีของนักวิทย์

https://inskru.com/idea/-MahjtZG183eqKyIHTx-

เปลี่ยนห้องสอนเป็นห้องสืบสวน (หมู่เลือดเจ้าปัญหา)

https://inskru.com/idea/-MOatLgQnh0DrECbcKJa

เลตันกับคดีปริศนา

https://www.facebook.com/InskruThailand/posts/pfbid0m7nXQEJLkiEi7NYgzUrYk4KpKZM7ojkC7RFK6fcgywEafRDwxRD5rnKJL9NeGKYhl

เลตันกับศพที่ไม่รู้จัก

https://www.facebook.com/InskruThailand/posts/pfbid02mztqecybxps6kqAxri33NgwoYeyvk66bQZHnSavAVmA9uBGy3yRE3AAPzXpV1wm8l

กิจกรรมสืบจากศพ ประวัติศาสตร์ ม.4

https://www.facebook.com/tle.suriyan/posts/pfbid0EBnr51GYRvFGMw2Na8U5vu1n3KrbR2JNyV1jhFskUT7k9p45pRRw5HVgHzFYbvm8l

การ์ดเกม คดีป่วนชวนสนุก

https://inskru.com/idea/-LryJngRjPss1VFyTTN0


คุณครูคนไหนลองนำกระบวนการสืบสวนไปใช้สอนในห้องเรียนแล้ว อย่าลืมมาเล่าให้เราฟังบ้างน้า

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: เทมแพลตสอนสืบสวน.JPG

ดาวน์โหลดแล้ว 95 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(16)