inskru
gift-close

Happy Pride Classroom ความหลากหลายทางเพศสอนยังไง

6
0
ภาพประกอบไอเดีย Happy Pride Classroom ความหลากหลายทางเพศสอนยังไง

เดือนมิถุนายนถือเป็นเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) insKru เลยมีไอเดียการประยุกต์สอนเรื่องความหลากหลายทางเพศ จากทั้งคุณครูและแหล่งที่น่าสนใจ มาไว้ให้ลองนำไปปรับใช้ค่า

ในทุก ๆ สังคมย่อมมีความหลากหลายในหลายมิติ ไม่เพียงแต่เรื่องเพศ

แต่ยังรวมไปถึงเรื่อง เชื้อชาติ ความเชื่อ มุมมอง แนวคิด ฯลฯ อีกด้วย

การโอบรับความหลากหลายไม่ใช่แค่เรื่อง “การยอมรับ”

แต่เป็น “สิทธิมนุษยชน” ที่ทุกคนพึงมีและควรได้รับการเคารพ

.

การสร้างวัฒนธรรมการเรียนที่เน้นการพูดคุย ถกเถียงเหตุผล

จะนำไปสู่สังคมที่โอบรับความหลากหลาย ไม่ตัดสินได้มากขึ้น

.

เพราะโลกที่มีสีรุ้ง เพิ่มสีสันให้ท้องฟ้า

และห้องเรียนที่มีความหลากหลาย

เพิ่มสีสันให้ความเป็นมนุษย์ในตัวเรา

ประวัติศาสตร์: เปรียบเทียบในแง่บริบทและเวลา

ให้เด็กลองค้นหาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ์ของ LGBTQA+

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

เช่น เหตุการณ์ Stonewall Riot, Pride Parade ในที่ต่าง ๆ ฯลฯ

แล้วลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์จากบริบทของแต่ละที่

วิเคราะห์สาเหตุการเกิด สภาพสังคม ความเชื่อ แนวคิด

ว่าส่งผลอย่างไรกับเหตุการณ์นั้นบ้าง?

.

หรือลองเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวทางสิทธิในปัจจุบัน

เช่น การถกเถียงเปรียบเทียบ พรบ.คู่ชีวิต VS สมรสเท่าเทียม

ว่าต่างกันอย่างไรบ้าง แบบไหนครอบคลุม

และเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์มากกว่ากัน

แนวคิดเรื่องเพศหลากหลายได้เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

หน้าที่พลเมือง/กฎหมาย:

ชวนเด็ก ๆ คิดถึง “การแบ่งระบบเพศแบบทวิภาค” (Gender Binary)

ซึ่งคอยควบคุมหน้าที่ บทบาท (และมาพร้อมภาพจำทางสังคมด้วย!)

ข้อปฏิบัติทางสังคม รวมถึงในกฎหมาย ในชีวิตที่เขาพบเจอ

แนวคิดที่ว่าเริ่มเข้ามาในชีวิตเด็ก ๆ ตั้งแต่ตอนไหน 

ทำไมต้องมี ด.ช./ด.ญ./นาย/นางสาว การเกณฑ์ทหาร ฯลฯ

แล้วนักเรียนมีความเห็นอย่างไร มีแนวทางอะไรอยากเสนอบ้าง

เพื่อให้สังคมโอบรับความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง

.

หรือชวนตีความคำว่า “สถาบันครอบครัว”

แบบที่เด็ก ๆ รู้จักคืออะไร ทำไมต้องเป็นพ่อ-แม่-ลูก

แล้วจริงๆ คำว่าครอบครัวคืออะไร มีรูปแบบไหนได้บ้าง

ครอบครัวของแต่ละคนเป็นแบบไหนบ้าง

.

.

การเรียนผ่านสองสิ่งนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ 

ได้ลองคิดทบทวนถึงบริบทและความเข้าใจในอดีต

ได้สะท้อนเรื่องความหลากหลายทางเพศในแง่มุมต่างๆ 

และได้ลองทำความเข้าใจผ่านมุมมองและประสบการณ์ตรง

ในขณะเดียวกันก็ได้ลองสำรวจความเป็นไปได้

ในการสร้างสังคมที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นด้วย

เรียนผ่านสื่อ: โฆษณา เพลง หนัง วรรณกรรม ฯ

รู้ทันภาพจำทางเพศที่ถูกผลิตซ้ำ


ชวนเด็ก ๆ ลองหาสื่อรอบตัวที่เป็นปรเด็น 

ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา เพลง หนัง ละคร ฯลฯ

ที่นำเสนอประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ

ว่านำเสนอออกมาอย่างไร ในแง่มุมใดบ้าง

การนำเสนอนั้นมักจะมีลักษณะแบบใด 

เช่น ผู้แสดง โทนการเล่าเรื่อง ใจความแฝง ฯลฯ 

.

แล้วประเด็น LGBTQA+ ที่สื่อนำเสนอ

มีค่านิยมใดแฝงอยู่บ้าง อย่างไร

มีการผลิตซ้ำภาพจำต่อเพศต่าง ๆ หรือไม่ อย่างไร

มีการกดทับ กีดกัน อัตลักษณ์และความเท่าเทียมทางเพศ

เพื่อค้ำจุนอำนาจของแนวคิดชายเป็นใหญ่อยู่หรือไม่ อย่างไร

.

โดยอาจลองแบ่งกลุ่มถกเถียงกััน และหาหลักฐานสนับสนุน

.

.

เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะชวนเด็ก ๆ วิเคราะห์ให้รู้ทัน

.

ไอเดียที่ครูนำไปประยุกต์สอนได้

โดยคุณ M@iE@K: 

ก้าวข้ามขอบแนวคิดความหลากหลายทางเพศผ่านวรรณกรรม

https://inskru.com/idea/-MUmNQQQXbTRjVCbfJLy

.

ทำอย่างไรเราจะเสพโฆษณาอย่างรู้เท่าทัน

https://inskru.com/idea/-MYiPLaPv8ayu0ZlVy7Y

เรียนผ่านเพศศึกษา/ความแตกต่างของนิยามเรื่องเพศ


> การทำความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา สิทธิพื้นฐานในร่างกาย รวมถึงความต้องการทางเพศที่หลากหลายในตัวเองและผู้อื่น

จะช่วยนำไปสู่การทำความเข้าใจเพศสภาพที่ง่ายขึ้นได้

.

ไอเดียและเครื่องมือที่ครูนำไปช่วยสอนได้

เรื่องเพศต้องพูด

ซีรี่ย์และวิธีการสอนเรื่องเพศศึกษา สิทธิในร่างกาย

โดย ธเนศ

https://inskru.com/idea/-M8JIF081VOc7Q8SdPKe

.

> ชวนเด็ก ๆ ทำความเข้าใจคำนิยามและความแตกต่าง

ของ รสนิยมทางเพศ, รสนิยมทางใจ, อัตลักษณ์ทางเพศ, 

การแสดงออกทางเพศและลักษณะทางเพศ 

ซึ่งเป็นห้าสิ่งที่ไม่ยึดโยงกัน

.

โดยหลังจากทำความเข้าใจคำนิยามของแต่ละอันแล้ว 

ให้เด็ก ๆ ลองสำรวจตัวเองและอภิปรายถึงข้อแตกต่างของแต่ละอัน

เมื่อเด็กๆ ทำความเข้าใจว่าคำนิยามเรื่องเพศแต่ละอันไม่ยึดโยงกัน

อาจช่วยให้ทำความเข้าใจเรื่องเพศหลากหลายได้ง่ายขึ้น

.

.

‘GENDER NOTES’ 5 – ชวนทำความรู้จักกับ S(R)OGIESC เครื่องมือในการเรียนรู้เรื่องสเปกตรัมทางเพศที่กว้างกว่าที่คิด ผ่าน 8 ตัวอักษร

https://spectrumth.com/2021/03/10/spectrum-gender-notes-5-ชวนทำความรู้จักกั/

เรียนผ่านภาษา

การใช้ภาษาไทยไม่ได้กดขี่หรือตีกรอบเพียงอย่างเดียว หากนักเรียนได้เรียนรู้และยอมรับความหลากหลายทางเพศ

ก็จะสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์

และแสดงออกในเพศวิถีของตนเองได้อีกด้วย

.

ไอเดียการสอนเรื่องความหลากหลายทางเพศ

ผ่านคำ “สรรพนาม” ที่เราใช้ระบุตัวตน

ที่จะชวนเด็ก ๆ ลองสวมหมวกเป็นผู้อื่น

เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าคำสรรพนามที่ใช้เรียก

มีผลต่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไรบ้าง

.

และเราในฐานะผู้ใช้ภาษาสังเกตเห็นอะไรจากสิ่งนี้

แล้วใช้หรือทำให้ “ภาษา” 

โอบรับความหลากหลายทางเพศอย่างไรได้บ้าง

.

ไอเดียการสอนเรื่อง: 

ภาษาสีรุ้ง เรียนรู้ความหลากหลายทางเพศจาก 

(คำสรรพนาม) ภาษาไทย

โดย จิราเจต วิเศษดอนหวาย

https://inskru.com/idea/-MOaOxZQgc2iPgGV2gcl


กราฟฟิกโดย NANPED

ความหลากหลายทางเพศสังคมศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทยภาษาอังกฤษสื่อบันเทิงเทคนิคการสอนinsKruidea

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

6
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ