icon
giftClose
profile

เลือกตั้งครั้งใหม่ เรียนรู้จากอะไรได้บ้าง

5790
ภาพประกอบไอเดีย เลือกตั้งครั้งใหม่ เรียนรู้จากอะไรได้บ้าง

🗳️การมีอากาศที่ดีสำหรับหายใจ มีน้ำสะอาด มีขนส่งสาธารณะที่เอื้อให้กับคนทุกกลุ่ม การได้รับการรักษาพยาบาลที่ทั่วถึงและฟรี การได้รับสวัสดิการที่เป็นธรรม การมีรายได้ที่สูงขึ้น การมีระบบการศึกษาที่ปลอดจากอำนาจนิยม การมีระบบกฎหมายที่ยุติธรรม สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวอย่างภาพฝันหรือความปรารถนาของใครหลายคนที่อยากให้เกิดขึ้น

การเลือกตั้งจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ที่ทุกคนจะได้ใช้หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของตนเองส่งเสียงถึงอนาคตของสังคมที่ตนอยากเห็นผ่านตัวแทนอุดมการณ์ของเรา ให้เขาเข้าไปมีอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้

ถึงแม้นักเรียนของเราบางคนอาจจะยังไม่ได้มีส่วนในการเลือกตั้งโดยตรง แต่การเมืองก็เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาทุกคนเช่นกัน ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้นักเรียนได้พูดคุยการเมืองจากชีวิตประจำวันของพวกเขา ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ จึงอาจเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่สำคัญที่ครูอาจพานักเรียนเรียนรู้จากประเด็นตรงนี้ได้

ก่อนที่เลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ ครูพล-อรรถพล ประภาสโนบล ได้รวมรวบแนวคิดและแนวทางที่เป็นไปได้ในการสอน มาให้คุณครูในหลากหลายวิชาได้ลองนำไปปรับใช้กันดู 


ใครลองนำไปใช้แล้วเป็นยังไง หรือเคยใช้วิธีไหนมาเล่าให้เราฟังบ้างน้า


🔢ชวนคุยจาก สัดส่วน ตัวเลข และสถิติ

เปรียบเทียบการแบ่งงบประมาณ สังเกตระบบคำนวณผู้แทนในสภา วิเคราะห์สถิติ

สัดส่วน ตัวเลข และสถิติต่าง อาจเป็นข้อมูลที่ง่ายที่สุด ที่สะท้อนถึงสภาพการเมืองสังคมของประเทศนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณครูอาจชวนนักเรียนสังเกตเพื่อเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ถึงความแตกต่าง ความเปลี่ยนแปลง จากตรงนี้ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องความเป็นธรรม ผ่านสถิติงบประมาณว่ามีการถูกจัดสรรไปในแต่ละปีว่าเป็นไปอย่างไร เพื่อประชาชนมากน้อยแค่ไหน หรือการชวนพูดคุยถึงระบบการคิดคำนวณผู้แทนในสภา มีหลักการอย่างไร ยุติธรรมหรือไม่ สะท้อนเสียงของผู้คนได้มากน้อยแค่ไหน ในประเทศอื่น ๆ มีระบบที่เหมือนหรือต่างไปจากเรา

นอกจากนี้ในมิติอื่นๆ ยังสามารถนำข้อมูลรายงานต่าง ๆ มาให้นักเรียนวิเคราะห์พูดคุยและสะท้อนถึงที่มาที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหามลพิษ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ความไม่เท่าเทียมเพศ การจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมือง เป็นต้น

อาจชวนสังเกตวิธีการเปรียบเทียบทางสถิติด้วยหลักการทางทางคณิตศาสตร์ว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น การนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบค่าแรงและค่าครองชีพระหว่างประเทศ A กับประเทศ B


💡ตัวอย่างไอเดียการสอนเรื่องนี้

📍ถ้าฉันเป็นรัฐบาล ฉันจะ ...

https://inskru.com/idea/-MnB0l-mSJq5g2sSlMEy

📍สอนการเมืองด้วยคณิตศาสตร์

https://www.facebook.com/eduzenthai/photos/a.798941106860833/2241146469306949/

📍การเมือง เรื่องของพวกเรา

http://thaiciviceducation.org/th/การเมือง-เรื่องของพวกเร/

_

🧭แหล่งข้อมูลแนะนำ

เว็บไซต์ https://rocketmedialab.co/ เว็บที่รวบรวมข้อมูลสถิติสำคัญทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ ค่าใช้จ่ายผ้าอานามัย ค่าแรงขั้นตำ สัดส่วนชายหญิงในทางการเมือง ฝุ่น p.m 2.5 จำนวนผู้ป่วย


🪧ชวนคุยจาก “ป้ายหาเสียง”

สำรวจภาพฝันของสังคมไทยผ่านนโยบายพรรคการเมือง

ป้ายหาเสียงของแต่ละพรรค ได้ทำหน้าที่เสนอภาพฝันของสังคมที่อยากเห็นในระดับต่างๆของสังคม ที่อาจมีทั้งจุดร่วมและต่างกันออกไป อีกด้านก็สะท้อนถึงสิ่งที่ผู้คนกลุ่มต่างๆกำลังเผชิญกับปัญหาบางอย่างในชีวิตของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรายได้ ค่าครองชีพ สวัสดิการ สิทธิเสรีภาพ การเดินทาง การเจ็บป่วย ความไม่เท่าเทียมทางเพศ เป็นต้น

ในบทเรียนครูและนักเรียนอาจร่วมกันสำรวจป้ายหาเสียงในชุมชนของตนเอง (รวมถึงโลกออนไลน์) ว่าแต่ละพรรคมีนโยบายอย่างไร ทำไมเขาถึงเสนอนโยบายดังกล่าวขึ้นมา นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร (ใช้หลักเหตุผลอย่างไรในการเปรียบเทียบ) เปิดเป็นสภาจำลองให้มีการแลกเปลี่ยนกัน หรือในทางกลับกัน ครูอาจให้นักเรียนสำรวจปัญหาในชุมชนที่ตนอยู่ แล้วนำมาวิเคราะห์ เสนอนโยบาย ทำป้ายหาเสียง ผ่านกิจกรรมจำลองบทบาท

ครูอาจนำประเด็น controversial เข้ามาสู่การพูดคุย เช่น สิทธิการทำแท้ง ศาสนาประจำชาติ เกณฑ์ทหาร ยกเลิกหนี้ กยศ. ด้วยการสร้างพื้นที่พูดคุยที่เปิดกว้าง


💡ตัวอย่างการสอนเรื่องนี้

📍คน พื้นที่ และโอกาสที่ถูกสร้างให้เราไม่เท่ากัน

https://inskru.com/idea/-NEsXFVkqye1Ra-tJhll

📍Civic Classroom ตอนที่ 2 : ใช้GPS ปักหมุดสอนเรื่องความไม่เป็นธรรม

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.2948001311942867

📍Civic Classroom ตอนที่ 10 : สอนการเมืองจากสิ่งใกล้ตัว

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.3906627186080270

📍Civic Classroom ตอนที่ 14 : เรียนการเมืองท้องถิ่นจากป้ายหาเสียง

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.4283889811687337

📍สร้างสำนึกความเป็นพลเมืองผ่านการเรียนรู้ในชุมชน

https://www.youtube.com/watch?v=zo2LZ6MB0d0


🎤ชวนคุยจาก เสียงของผู้คนกลุ่มต่างๆ

ในสังคมประกอบด้วยผู้คนที่หลากหลาย ที่ต่างมีเรื่องราวหรือปัญหาที่ตนกำลังดิ้นรน เรียกร้อง หรือกำลังต่อสู้กับมันอยู่ ในช่วงเลือกตั้งจึงเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ครูสามารถพานักเรียนเรียนรู้จากเรื่องราวจากผู้คนได้ เพื่อมองเห็น รับรู้ และทำความเข้าใจว่าระบบโครงสร้างสังคม กฎหมาย วัฒนธรรม ที่เป็นอยู่กำลังส่งผลต่อเพื่อนร่วมสังเดียวกับเราในมิติต่างๆ อย่างไร ผ่านการอ่านเรื่องเล่า บทสัมภาษณ์ หรือข้อคิดเห็น มากไปกว่านั้น อาจมีการวิเคราะห์ถึงรากของปัญหา และร่วมกันเสนอความเป็นไปได้ที่จะสร้างสังคมที่ยุติธรรมขึ้นมา

ครูอาจให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองถึงปัญหาที่กำลังพบเจอ เช่น คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพการทำงาน การได้รับสวัสดิการ และภาพฝันและความหวังต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง


💡ตัวอย่างไอเดียการสอนเรื่องนี้

📍"หมากเกมนี้...ฉันก็รู้"

https://inskru.com/idea/-NIjbFFCGQJxAp6lRYub

📍"นิทรรศการ 9 ชีวิต"

https://www.facebook.com/Autthapon12/posts/pfbid0vWYSEsMyFRG9Sdr6PUEeDwbZev6AQkKfAth4VR7huHNRZ2D3CMrrFhcCuqvpkvz7l

_

🧭แหล่งข้อมูลแนะนำ

เพจ “มนุษย์กรุงเทพ” ซึ่งได้นำเสนอเรื่อราวจากการสัมภาษณ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดกรุงเทพ คนในอาชีพต่างๆ คนในวัยต่างๆ ที่เราอาจเคยเจอเขาอยู่ในชีวิตแต่ไม่มีโอกาสได้คุย หรือไม่เคยเจอมาก่อน เช่น คนทำงานฟรีแลนซ์ พนักงานเก็บขยะ ไรเดอร์ส่งอาหาร คนพิการ แม่บ้านทำความสะอาด

https://www.facebook.com/bkkhumans

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(4)