🧑💻 ข้อจำกัดต่างๆ ในการเรียนออนไลน์ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนว่า
วิธีการสอบวัดผลแบบเดิมยังเป็นวิธีที่ดีอยู่ไหม ?
หรือที่ผ่านมาการสอบวัดผล(อะไร?)ได้จริงๆ หรือเปล่า ?
ที่จริงแล้ว ครูสามารถวัดผลด้วยวิธีอื่นๆ ได้อีกมากมายเลย เพื่อเน้นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ
.
🙋🏻 เราวัดผลให้ไกลไปกว่าคะแนนและการตอบ “ถูก” ได้ยังไงบ้างนะ
คุณครูคนไหน โรงเรียนไหน มีไอเดียอะไรมาคอมเม้นแชร์วิธีกันได้นะ
.
🔎การสอบวัด(ผล)ได้จริง...ไหม?
การส่งคำตอบที่ “ถูกต้อง” ตามหนังสือไม่ได้หมายความว่าเด็กๆ “เข้าใจ” สิ่งที่เรียนเสมอไป
ไม่ว่าจะวัดผลที่โรงเรียนหรือออนไลน์การที่เด็กจับเนื้อหาได้ย่อมสำคัญกว่าคะแนน
ช่วงออนไลน์อาจเป็นโอกาสหนึ่งในการสร้างสรรค์วิธีวัดผลแบบใหม่ก็ได้นะ
.
😢เด็กๆ เครียด (ครูก็เครียด)
ทำไมการเรียนรู้ถึงต้องถูกตัดสินด้วยคะแนนและลำดับอยู่เสมอนะ?
ครูทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกที่เด็กได้เลือกเองได้
บวกกับการเรียนออนไลน์นานๆ ในสภาวการณ์ที่เคร่งเครียด
หากมีการสอบเยอะ ๆ อีก อาจกดดันเด็กๆ มากเกินไป
.
แล้วยิ่งช่วงออนไลน์
🎓ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อม:
หลายคนเข้าไม่ถึงอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต
การสอบออนไลน์แล้วจับเวลาแบบเดิมๆ คงไม่ยุติธรรมเท่าไหร่
ถ้าหากเขาจะถูกประเมินผลด้วยอุปกรณ์ และความเร็วของสัญญาณ
.
💡เราหันมาใช้ “การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment)”
แทนการประเมินเพื่อสรุปผลคะแนนแทนกันไหม?
.
🤩การประเมินที่เน้น “เช็คจากความเข้าใจของเด็ก”
ต่อเรื่องที่เรียน นอกจากทำให้เด็กได้ “เรียนรู้” จริง ๆ แทนการได้แค่ “ความรู้”
ห้องเรียนยังท้าทายขึ้น สนุกขึ้นเพราะได้เรียนตามจังหวะความเข้าใจของตัวเอง
เพราะเป้าหมายของการเป็นครูยิ่งใหญ่กว่าการส่งความรู้ แต่คือการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
.
มีวิธีปรับหรือเปลี่ยนแบบไหนบ้าง ไปดูกันเลย!
.
ใช้การชวนคุย ถามตอบท้ายคาบเพื่อเช็คว่าเด็กๆ เข้าใจแค่ไหนอิงตัวชี้วัดที่ครูตีความ
วิธีนี้เองครูก็ได้เช็คการสอนตัวเองไปในตัวด้วยนะ
แอพต่าง ๆ ที่ใช้ทำได้มีตั้งแต่ google form, booklet, kahoot, quizzlet ฯลฯ
ค้นหาไอเดียโดยใส่ชื่อแอพบน inskru.com ได้เลย
👉วิธีทำ Exit Ticket เช็คความเข้าใจหลังเรียนบนเว็บ insKru.com
>> Exit Ticket ประเมินการเรียนรู้ สอนออนไลน์ - insKru
👉แอพต่างๆ มีอะไรบ้างนะ
>> 3 เครื่องมือสดใหม่ ✨ ตื่นเต้นไม่แพ้ kahoot - insKru
👉หรือดูวิธีการใช้ Padlet ได้ที่:
>> Padlet กระดานออนไลน์ กับการสอนยุคออนไลน์ - insKru
>> ฝึกตั้งโจทย์คณิตให้สนุกขึ้นด้วย Padlet - insKru
👉Booklet:
>> ทดสอบท้ายบทเรียนด้วยเกมจาก Blooket - insKru
>> จาก Onsite สู่ Online - insKru
>> สอบออนไลน์พร้อมกัน 5 ห้องต้องลอง Quizzizz - insKru
👉สรุปผลด้วย Google Form:
>> เช็กชื่อออนไลน์แบบเปิดระบบ CF เก็บทุกคำตอบในlive - insKru
>> แบบวิเคราะห์ผู้เรียนออนไลน์และรายงานสรุป v. ทางการ - insKru
เช็คความเข้าใจ ให้เด็กสรุปตามสไตล์ตัวเองแทน
💡เพราะวิธีเรียนรู้เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันลองเช็คความเข้าใจโดยให้เด็กๆสรุปในในรูปแบบของเขาดู
จะวาด ขีด ตัด แปะ ทวิต อัดเสียงก็ได้โดยคุณครูคอยช่วยดูว่าที่เด็กๆ สรุปมา
มีประเด็นสำคัญไหนที่เด็กๆ เพิ่มเติมได้บ้าง
.
👉ละลายพฤติกรรมการจดแบบเดิมๆ ให้จดในแบบตัวเองด้วยวิธีฝึกจดแบบใช้ภาพเข้าช่วย ไม่ต้องจดทุกอย่างด้วย Visual Note
>> ฝึกนักเรียนให้จดแบบ Visual Note Taking - insKru
👉วิธีเช็คว่าสิ่งที่เด็กๆ สรุปมานั้น เขาเข้าใจมากน้อยแค่ไหนนะ
>> เช็คความเข้าใจนักเรียนด้วย 5 ขั้น SOLO Taxonomy - insKru
.
🤔ทำไมการสอบต้องเขียนตอบอย่างเดียว?
💡ลองให้ทางเลือกเด็กๆ เป็นการทำชิ้นงานที่สรุปความรู้ที่เขาได้เรียนออกมา
จะเป็น แต่งเพลง แต่งกลอน วาดรูป ต่อโมเดล ถ่ายภาพ อัดวิดีโอ เขียนบทละคร
หรือ อะไรก็ได้ที่เด็กทำแล้วภาคภูมิใจ เพราะเป็นงานที่ได้สรุปผ่านการแสดงความเป็นตัวเอง
.
➕เมื่อทำเสร็จแล้ว อาจให้เด็กๆ feedback งานตัวเองว่าเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรียนยังไง
แล้วครูอาจเสริม feedback ให้เด็กได้พัฒนาแล้วลองปรับด้วยก็ได้นะ
.
❣️ไม่เน้นสวย เน้นสื่อสารสิ่งที่เขาได้เรียนรู้
วิธีนี้จะได้เห็นว่าเด็กๆ เข้าใจ เชื่อมโยงความรู้ได้แค่ไหน ไม่เพียงแต่ทำให้เด็กๆ รู้จักวิธีการเรียนรู้ของตัวเอง
ยังอาจทำให้เขาค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ก็ได้นะ!
.
👉การสอบแบบไหนทำให้เด็กเกิดศักยภาพสูงสุด
>> การสอบแบบไหนที่ทำให้เด็ก ๆ ไปถึงศักยภาพสูงสุด - insKru.
.
(ต่อยอดจากไอเดียจากครูกุ๊กกั๊ก)
🌟ให้สอบได้ 3 ครั้ง เอาครั้งที่ดีที่สุดโดยให้เด็กๆ ค้นหาข้อมูลได้ เปิดหนังสือกี่เล่มก็ได้
การให้เด็กๆ มีโอกาสวัดผลได้หลายครั้งได้จะทำให้เด็กรู้สึกถึงการ “ได้พัฒนาตนเอง”
มีโอกาสให้ลองมากกว่าการสอบหนึ่งครั้งที่จะตัดสินความตั้งใจเขาในครั้งเดียว
.
🤔ถามว่าได้อะไร?
💡การสอบแบบนี้ทำให้เราเห็นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เราควรเปิดให้เด็กๆ หาได้อย่างอิสระ
แต่สิ่งที่เราอาจต้องเปลี่ยนคือ “โจทย์ในการประเมินผล”
ให้เป็น “สิ่งที่เด็กต้องหาคำตอบนอกเหนือหนังสือ” ให้หาคำตอบจากการเชื่อมโยงเอง ไม่ตายตัว
.
👉เช่น แทนโจทย์ที่ว่า การปฏิวัติ 2475 เกิดวันที่เท่าไหร่ มีชื่อใครเกี่ยวข้องบ้าง
ลองปรับเป็น: ปัจจัยและมิติอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกันในการทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นบ้าง?
.
ค้นหาได้เยอะ ๆ เลย ยิ่งเด็กเปิดหนังสือหลายๆ เล่มยิ่งดี
มาเน้นสิ่งสำคัญคือเด็กวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยง ได้กันดีกว่า
.
.
Reference:
👉https://www.edutopia.org/.../7-ways-do-formative...
👉https://www.indiatoday.in/.../how-covid-19-has-changed...
👉https://www.studyinternational.com/.../online-exams.../
ไอเดียจาก Live ครูกุ๊กกั๊ก x Life Education Thailand ฟังเพลินสุด ๆ ได้ไอเดียด้วย:
👉https://www.facebook.com/themindsetmaker/videos/188153326587683
.
.
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!