ปัจฉิมบทแห่งเจได
ศิษย์นั้นต้องไปได้ไกลกว่าเรา
นี่คือหน้าที่แท้จริงของเหล่าอาจารย์
ที่ครูแก้วเชิญชวนให้เหล่านักศึกษาครู
ตระหนักรู้ถึงบทบาท เฉกเช่นเหล่าอัศวินเจได
Passion คือสิ่งที่ต้องสร้างให้กับศิษย์
ให้พวกเขาได้ตระหนักรู้ (Awareness)
โดยครูโค้ช ต้องสร้างสถานการณ์ที่สอดคล้องกับบริบทผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระหาย อยากรู้ (Engagement)
แล้วเมื่อศิษย์พร้อม ครูก็ปรากฏ
เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรร่วมทางกับศิษย์ของเรา
บทบาทของครูโค้ชจึงเข้ามา
ถามคือสอน (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดช่วงเวลา AHA ! Moment
แล้วเราก็ฝึกทักษะการเรียนรู้ Learning Skill
โดยใช้ Model for Learning and Development*
ที่ครูโค้ช ได้ประยุกต์แบ่งสัดส่วนเวลาในการสร้างการเรียนรู้ คือ
· ร้อยละ 70 ใช้ในการฝึกฝน ทำชิ้นงาน ลงมือปฏิบัติจริง (Practice)
· ร้อยละ 20 ใช้ในการให้คำปรึกษา ในบทบาทโค้ชหรือพี่เลี้ยงสอนงาน (Coaching and Mentoring)
· ร้อยละ 10 ใช้ในการเรียนรู้ บรรยาย ในสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ (Teaching)
เมื่อเรานำโมเดลเรื่องการเรียนรู้และพัฒนา มาประยุกต์ใช้
เห็นได้ว่า การสอน (Teaching)
มีสัดส่วนที่ต้องบรรยาย 10%
โดยเน้นในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญจริง ๆ
ตามตัวชี้วัด ที่เป็นแก่นในหัวข้อนั้น ๆ
เมื่อผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญแล้ว
เราก็สร้างสถานการณ์ที่เป็น Life Situations
เพื่อนำสู่กิจกรรมฐานสมรรถนะ (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
ให้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing)
ได้ลองถูก ลองเล่น ทดลองจริง
ที่มีสัดส่วนเวลากว่า 70%
เมื่อเกิดการสงสัยใคร่รู้ จากกระบวนการลงมือทำ
ครูโค้ชจึงต้องเป็นผู้ฟังที่ดี (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
เพื่อจับประเด็น นำสู่การคลายข้อสงสัยต่าง ๆ
และมีทักษะการสะท้อนกลับเชิงบวก
หรือ Positive Feedback (สนใจอ่าน คลิกที่นี่)
โดยมีสัดส่วน Coaching 20%
ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญ ทำให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้
เกิด Passion จากกิจกรรมที่เราจัดแบบ 10:20:70
จนศิษย์นั้นผูกพันในการเรียนรู้ เติบโต
พร้อมเข้าสู่โลกของความเป็นจริงได้อย่างมีความสุข
และศิษย์นั้น ต้องไปได้ไกลกว่าเรา !
------------------------------------------------------------------------
* Morgan McCall, Michael M. Lombardo และ Robert W. Eichinger, The Career Architect Development Planner, 1996
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย