🙌24 มิถุนายนของทุกปี
คือวันเปลี่ยนเเปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย
เวลาที่เราพูดถึงคำว่า ”ประชาธิปไตย” คำนี้ดูยิ่งใหญ่มากๆเลย
เด็กๆ จึงยิ่งควรเริ่มได้เรียนรู้สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ
และการอยู่ร่วมกันในสังคมตั้งแต่ยังอยู่ในโรงเรียน
แต่จะเริ่มยังไงล่ะ ? ทำยังไงให้นักเรียนเข้าใจง่ายๆ ?
จะสอนเรื่องนี้ได้ ต้องเป็นครูสังคมอย่างเดียวหรือเปล่า?
วันนี้ insKru ขอพาชวนคิด มองดู 3 ลู่ทาง
ในการสอนเรื่องประชาธิปไตย ว่าเริ่มจากตรงไหนดี?
ถ้าพร้อมเเล้วละก็ เข้าที่...ระวัง…ไป ดูกันได้เลย
🏃“ลู่ที่ 1 เริ่มจากในห้องเรียน”
เพราะประชาธิปไตย คือการมีพื้นที่ในการเเลกเปลี่ยน
เปิดโอกาสในการตัดสินใจ กำหนดเเนวทางในชีวิตทุกคนร่วมกัน
คุณครูอาจเริ่มต้นการสอนจากอะไรง่ายๆ เล็กๆ ก่อน เพื่อให้นักเรียนได้รู้สึกว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมห้องเรียน
และกล้าที่จะออกความเห็น ผ่านการคุย การเเลกเปลี่ยน และรับฟังกัน
เพื่อกำหนดสังคมที่ต้องการร่วมกันได้
เช่น การทดลองเลือกตั้งหัวหน้าห้องเสมือนจริง ตั้งแต่การหาเสียงไปจนถึงการกากบาทในคูหา
หรือสื่อที่ทำให้เข้าใจว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีผลเเค่ในทางการเมืองเพียงอย่างเดียว เเต่ก็มีผลกับการกำหนดทิศทาง และการตอบเเทนของธุรกิจด้วย
โดยการตัดสินใจต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ควรมาจากฝั่งครูเพียงฝ่ายเดียว
หรือมาจากเพียงนักเรียนคนใดคนหนึ่ง
เผื่อเข้าใจ เเละเห็นมุมมองต่างๆของทุกคน
💡ตัวอย่างไอเดียการสอนประชาธิปไตยเริ่มจากในห้องเรียน
📍Democratic Kindergarten
inskru.com/idea/-N6vL9BzLhfK0Q6T1Uc7
📍Primary 3 Leader Election | กิจกรรมเลือกตั้งหัวหน้าห้องปอสาม
📍ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ได้เลือกตั้ง!
youtube.com/watch?v=a4qO5xT1pOs
📍สอบปลายภาค วิชาประชาธิปไตย
youtube.com/watch?v=GVg8ZmDVRSM
🏃“ลู่ที่ 2 เริ่มจากผู้คนรอบตัว”
เพราะประชาธิปไตย เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิ
และดูแลความเสมอภาคเท่าเทียม
ที่ทุกคนสมควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
คุณครูอาจเริ่มต้นการสอนจากการสังเกต คนรอบตัวในสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อนร่วมสังคม คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนน หรือคนอื่นๆที่เราอาจไม่ได้อยู่ร่วมสังคมเดียวกับเขา
ผู้คนรอบตัวทุกคนสามารถเรียนรู้ได้หมดเลย ว่ามีสิทธิ์เท่าเทียมกันหรือไม่? ได้รับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากันหรือยัง?
เช่น การจำลองสถานการณ์ สวมบทบาทในสังคม โดยเจ้าของบทบาทจะไม่รู้ เเต่เพื่อนๆคนอื่นจะรู้ เเละเลือกเข้ามามีปฏิสัมพันธ์อย่างไรก็ได้ตามใจ โดยตั้งคำถามในตอนสุดท้ายว่า นี่เรากำลังละเมิดสิทธิ์ของเพื่อนๆคนอื่นอยู่หรือเปล่า
หรือการคุยกันเเลกเปลี่ยนมุมมอง ถึงความเกี่ยวข้องของเพศกับการออกแบบในระบบขนส่งมวลชน เพื่อให้เกิดการฉุกคิดว่าเราทำอย่างไรได้บ้างให้ทุกคนเสมอภาค เเละเข้าถึงการใช้บริการได้
💡ตัวอย่างไอเดียการสอนประชาธิปไตยเริ่มจากผู้คนรอบตัว
📍"หมากเกมนี้...ฉันก็รู้"
inskru.com/idea/-NIjbFFCGQJxAp6lRYub
📍ปิตาธิปไตยกับระบบขนส่ง: หรือว่าเราต่างก็โดนกดทับ?
inskru.com/idea/-MWKTBnX8GARbtqBjZm9
📍Consent,ความหลากหลายและการบุลลี่ สำหรับเด็กปฐมวัย
inskru.com/idea/-Mv2MfMsCvsjwKjxjJ2B
📍สิทธิมนุษยชน
📍ระบบการศึกษาที่ตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ
youtube.com/watch?v=9M1ZkgtbY7o&t=58s
📍Poor Culture ep.1 l ยายเหลื่อม: ที่พักพระประแดง 280 บาท/เดือน
youtube.com/watch?v=vNnVLLCK25k
🏃“ลู่ที่ 3 เริ่มจากประวัติศาสตร์การเรียกร้อง”
เพราะประชาธิปไตย คือการแสดงออก
ให้คนในสังคมเห็นถึงปัญหา เพื่อสร้างความรับรู้
เจรจา หาแนวทางการแก้ไขเพื่อสร้างการเปลี่ยนเเปลงในเรื่องนั้นๆ
คุณครูอาจเริ่มต้นจากการถอดรหัสประวัติศาสตร์จริง
ที่เคยมีการเรียกร้องสิทธิผู้หญิง สิทธิลาคลอด หรือการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง
ก็มาจากการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประวัติศาสตร์ในการเรียกร้อง จึงเป็นบทเรียนสำคัญว่า สิทธิความเสมอภาคหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นมาได้
ไม่ใช่เพราะใครให้มา หรือเกิดเเบบลอยๆ แต่เป็นเพราะการเรียกร้องของประชาชนนั้นเอง
เป็นการทำให้นักเรียนรู้ว่า หากเราต้องการเปลี่ยนเเปลงให้สังคมเท่าเทียมกันมากขึ้น เราก็คือส่วนร่วมหนึ่งที่ต้องร่วมแสดงออก และเสนอเเนวทางแก้ไขกับสังคม
เช่น การนำอธิบายบริบทของการเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งของผู้หญิงในอังกฤษต้นศตวรรษที่ 20 ผ่านเรื่องราวต่างๆ ให้นักเรียนได้บอกถึงความรู้สึก เเละการตีความ เพื่อให้เข้าใจสิทธิ ความเท่าเทียม ความเสมอภาคต่างๆ
หรือ การทำกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ในสังคม ส่งผลให้เกิดประชาธิปไตยมากขึ้น หรือน้อยลง
💡ตัวอย่างไอเดียการสอนประชาธิปไตยที่เริ่มจากประวัติศาสตร์การเรียกร้อง
📍สตรีและคนผิวสี: ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในศตวรรษที่ 20
facebook.com/capttew/posts/pfbid0dBr5HnTAHub8Cobd8Xhmvfguv9iZwZC6Lxu6a3339Hiiw92gPHvRKk3MS3zcvxThl
📍กิจกรรมประชาธิปไตยเดินหน้าหรือถอยหลัง
📍ทำไมเราทำงาน 5 วันหยุด 2 วัน?
youtube.com/watch?v=gH1ih4-efhs
📍เส้นทางประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ : พื้นที่ชีวิต
youtube.com/watch?v=wH9thJ4Up40
🌟เส้นทางประชาธิปไตยนี่ยังอีกยาวไกล ไม่ใช่การวิ่งสปริ๊นต์สั้นๆ เเต่เป็นการวิ่งมาราธอน
เราเลยอยากชวนคุณครูคิดด้วยกันว่า นอกจาก 3 ลู่ทางนี้ จะเริ่มจากตรงไหนอีกได้บ้าง?
สำหรับคุณครูที่นำไปปรับใช้เป็นเเรงบันดาลใจในการจัดการเรียนการสอน
สามารถช่วยเราเเชร์ไอเดียกันได้ที่ช่องคอมเมนต์ หรือในเว็บไซต์ inskru.com ได้เลยน้า
เพราะทุกการสอน เป็นไปได้!
บทความโดย ครูพล-อรรถพล ประภาสโนบล
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!